Page 46 - 22353_Fulltext
P. 46
หลายชิ้นได้ชี้ให้เห็นตรงกันว่า เรื่องของปัญหาเรื่องเศรษฐกิจ ความรู้ความเข้าใจ และการไม่มีพื้นที่ทาง
การเมืองนับเป็นปัญหาใหญ่ที่ทำให้การซื้อสิทธิขายเสียงเกิดขึ้น ซึ่งทุกฝ่ายมองว่าสถานการณ์นี้อาจทำให้ดีขึ้น
ได้ โดยอย่างน้อยก็ต้องทำให้การเลือกตั้งนั้นโปร่งใสเป็นธรรม ผู้สมัครรับเลือกตั้งจะต้องได้รับโอกาสในการ
แข่งขันกันอย่างเสรีไม่มีใครที่มีอิทธิพลเหนือใคร ขณะที่ภาคประชาชนก็จำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องตระหนักว่า
เสียงของพวกเขามีค่าและสามารถสร้างการเปลี่ยนแปลงได้ และได้รับโอกาสในการมีส่วนร่วมติดตามตรวจสอบ
นโยบายและกระบวนการหาเสียงให้เป็นธรรมไปพร้อมกัน
แนวทางการส่งเสริมการเลือกตั้งสมานฉันท์และไม่ซื้อสิทธิขายเสียง
จากแนวคิดเรื่องประชาธิปไตยแบบปรึกษาหารือและการสานเสวนาหาทางออกข้างต้น ผู้วิจัยได้
พัฒนาแนวทางการส่งเสริมการเลือกตั้งสมานฉันท์และไม่ซื้อสิทธิขายเสียงขึ้น เพื่ออุดช่องว่างที่เกิดขึ้นจาก
การเมืองแบบผู้แทนที่มาจากการเลือกตั้ง ซึ่งบางครั้งอาจได้มาซึ่งผู้แทนที่ไร้ความสามารถ กระทั่ง ส่งผลให้
ปัญหาของประชาชนไม่ได้รับการแก้ไขอย่างแท้จริง และนำไปสู่ความรู้สึกเบื่อหน่ายทางการเมืองของประชาชน
ด้วยการนำแนวคิดประชาธิปไตยแบบปรึกษาหารือและการจัดเวทีสานเสวนาหาทางออกมาปรับใช้เพื่อเพิ่ม
คุณภาพให้กับกระบวนการได้มาซึ่งผู้แทน โดยเปิดโอกาสให้ผู้มีสิทธิเลือกตั้งได้มีส่วนร่วมกำหนดคุณสมบัติของ
ผู้นำที่พึงปรารถนา กำหนดนโยบายที่สนใจตลอดจนทิศทางการเลือกตั้งที่บริสุทธิ์ยุติธรรมร่วมกัน ไม่ใช่เพียงทำ
หน้าที่ในการออกเสียงเลือกตั้งเฉพาะวันเลือกตั้งโดยพิจารณาจากนโยบายสาธารณะที่ผู้แทนเป็นฝ่ายกำหนด
ขึ้นมาให้เท่านั้น หรือรับฟังเฉพาะสิ่งที่ผู้สมัครรับเลือกตั้งต้องการนำเสนอเท่านั้น
โดยแนวทางการส่งเสริมการเลือกตั้งสมานฉันท์และไม่ซื้อสิทธิขายเสียงนี้กำหนดขึ้นโดยพิจารณาจาก
หลักประชาธิปไตยแบบปรึกษาหารือและการสานเสวนาหาทางออกเป็นหลัก ซึ่งจากการสำรวจวรรณกรรม
ข้างต้นจะพบได้ว่ามีหลักการสำคัญที่งานหลายชิ้นพูดถึงซ้ำกันเกี่ยวกับประชาธิปไตยแบบปรึกษาหรือและการ
สานเสวนาหาทางออก อยู่ 4 ประการ คือ
1. หลักการมีส่วนร่วมของผู้เกี่ยวข้องทุกฝ่าย ในที่นี้หมายถึงการที่ทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้องกับประเด็นที่
ต้องการปรึกษาหรือสานเสวนากันนั้นควรมีโอกาสได้เข้าร่วมปรึกษาหารือ/สานเสวนาอย่างพร้อม
หน้าไม่ควรทิ้งใครอยู่เบื้องหลัง
2. หลักของความรู้และข้อมูลที่เพียงพอ ในที่นี้หมายถึงการที่ผู้เข้าร่วมสานเสวนาพึงมีข้อมูลที่
เกี่ยวข้องกับประเด็นเสวนาที่มากเพียงพอเพื่อประกอบการตัดสินใจ นอกจากนั้น ยังต้องมี
ทัศนคติที่ถูกต้องเกี่ยวกับประชาธิปไตยแบบปรึกษาหารือ เข้าใจเงื่อนไขและหัวใจของการสาน
เสวนาหาทางออก เคารพหลักประชาธิปไตย ยอมรับความหลากหลายและยึดหลักฉันทามติ
3. หลักการสนทนาแบบสาธารณะ ในที่นี้หมายถึง การแสวงหาข้อตกลงร่วมกันต้องกระทำอย่าง
เปิดเผยเป็นสาธารณะ ไม่ใช่ทางลับ ดังนั้นจึงควรมีเวทีสาธารณะหรือพื้นที่สาธารณะที่ทุกฝ่ายจะ
สามารถเข้ามาร่วมแลกเปลี่ยนเรียนรู้และแสวงหาข้อตกลงร่วมกัน
45