Page 76 - kpi22228
P. 76

68



               บานพิษณุโลก ออกมาตอบโต พล.อ. ชวลิตวา “ใครที่กลาววารัฐบาลพลเรือนมีการคอรรัปชันสูงขึ้น 90%

               ใหกลับไปปดกวาดบานเรือนของตัวเองเสียกอน กองทัพไมควรเขามายุงเกี่ยวทางการเมือง ตองแปรสภาพ
               กองทัพโดยรื้อหลักสูตรทั้งหมดแลวสรางความเปนวิชาชีพ” คําแถลงดังกลาวสรางความไปพอใจในหมูทหาร

               เปนอยางมาก ถึงขั้นมีการชุมนุมที่โรงแรมเซ็นทรัล พลาซา ลาดพราว กวา 600 นาย เรียกรองใหนายกรัฐมนตรี

               ปลด ม.ร.ว. สุขุมพันธออกจากตําแหนง โดยในเวลาตอมา ม.ร.ว. สุขุมพันธยื่นใบลาออกจากคณะที่ปรึกษาฯ
               เพื่อคลี่คลายความขัดแยง (ศิลปวัฒนธรรม 2564)

                       การวิจารณรัฐบาลของ พล.อ. ชวลิตในครั้งหลัง ถูกตอบโตโดย ร.ต.อ.เฉลิม อยูบํารุง วา

               “ถาตรวจสอบจริง ผูพูดจะโดนเปนคนแรก จึงควรใหฝายทหารกวาดบานตนเองกอน” การตอกย้ําเรื่องทุจริต
               คอรรัปชันในกองทัพของ ร.ต.อ.เฉลิมทําใหฝายทหารไมพอใจอยางมาก สงผลใหผูนําทหารตบเทาเขาใหกําลัง

               พล.อ. ชวลิตที่บานพัก ในวันเดียวกันนั้น พล.อ. ชวลิตไดประกาศลาออกจากตําแหนงในรัฐบาลเพื่อตอสู

               ทางการเมืองอยางเปดเผยตามระบอบประชาธิปไตย (สุธาชัย ยิ้มประเสริฐ 2551, 215) ตอมา พล.อ. ชวลิต
               กอตั้ง “พรรคความหวังใหม” โดยมุงหวังจะลงเลือกตั้งเพื่อเปนนายกรัฐมนตรีตามครรลองของระบอบ

               ประชาธิปไตย

                       ความขัดแยงระหวางรัฐบาลกับกองทัพไมมีทีทาวาจะจบลงโดยงาย ทวาสถานการณยิ่งเลวรายลง
               เมื่อกองทัพเขายึดรถโมบายยูนิตหรือรถแพรภาพสัญญาณโทรทัศนเคลื่อนที่ขององคการสื่อสารมวลชน

               แหงประเทศไทย (อ.ส.ม.ท.) โดยใหเหตุผลวา ร.ต.อ.เฉลิม อยูบํารุง หัวหนาพรรคมวลชนและรัฐมนตรี

               ประจําสํานักนายกรัฐมนตรีในฐานะผูดูแลรับผิดชอบ อ.ส.ม.ท. สงรถคันนี้มาสอดแนมความเคลื่อนไหวของ
               กองทัพ แตราชันย ฮูเซ็น สมาชิกพรรคมวลชนในฐานะผูอํานวยการ อ.ส.ม.ท.ปฏิเสธขอกลาวหาดังกลาว

               และอธิบายวาที่นํารถโมบายยูนิตไปจอดบริเวณนั้นเพื่อทดสอบสัญญาณการกระจายเสียงวิทยุเทานั้น

               (ศิลปวัฒนธรรม 2564)
                       เมื่อ พล.อ. สุจินดา คราประยูร ผูบัญชาการทหารบก ออกมาแถลงวา “ทหารเสื่อมศรัทธาในรัฐบาล”

               และเรียกรองให พล.อ. ชาติชายปลด ร.ต.อ. เฉลิมออกจากคณะรัฐมนตรี ซึ่งตอมา พล.อ. ชาติชายตัดสินใจ

               ปรับคณะรัฐมนตรีโดยการโยก ร.ต.อ.เฉลิม อยูบํารุง ไปดํารงตําแหนงรัฐมนตรีชวยวาการกระทรวงศึกษาธิการ
               แทนการปลดออกจากคณะรัฐมนตรีตามที่ผูนํากองทัพเรียกรอง ทําใหฝายทหารไมพอใจอยางมาก นับวาความ

               ขัดแยงระหวางรัฐบาลกับกองทัพถึงจุดสูงสุด

                       ตอมา พล.อ. ชาติชายตัดสินใจลาออกเพื่อเปดโอกาสใหมีการปรับคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 8 ธันวาคม
               2533 ทามกลางสถานการณตึงเครียดและขาวลือรัฐประหาร แตไดรับการสนับสนุนใหกลับมาดํารงตําแหนง

               นายกรัฐมนตรีตออีกครั้ง

                       เพื่อการตัดปญหา พล.อ. ชาติชายตัดสินในปรับคณะรัฐมนตรีใหมโดยการตัดพรรคกิจสังคมออก
               จากนั้นดึงพรรคเอกภาพและพรรคประชากรไทยเขารวมรัฐบาลแทน ขณะที่พรรคประชาธิปตยประกาศ

               ไมขอรวมรัฐบาลในครั้งนี้ (สุธาชัย ยิ้มประเสริฐ 2551, 216-217)
   71   72   73   74   75   76   77   78   79   80   81