Page 75 - kpi22228
P. 75

67



                       นอกจากความขัดแยงภายในคณะรัฐบาลที่ พล.อ. ชาติชายตองเผชิญในชวงแรก รัฐบาลยัง

               ประสบปญหาตาง ๆ ที่เกิดขึ้นหลายดาน เชน ระยะ 6 เดือนแรก มีการชุมนุมเรียกรองของประชาชน
               หนาทําเนียบรัฐบาลราว 80 ครั้ง ตอมาในป 2533 เกิดการประทวงอยางหนักจากกรณีการสรางเขื่อนปากมูล

               ที่สงผลกระทบดานสภาพแวดลอมอยางมาก ซึ่งการชุมนุมประทวงเหลานี้นับเปนปรากฏการณใหมที่ไมเคยมี

               ในยุครัฐบาล พล.อ. เปรม ติณสูลานนท (สุธาชัย ยิ้มประเสริฐ 2551, 213) นอกจากนี้ ในชวงเดือนพฤศจิกายน
               ไดเกิดอุทกภัยครั้งใหญในหลายจังหวัดภาคใต ความรุนแรงของน้ําทําใหเกิดดินโคลนถลมและพัดพาทอนซุง

               กวาดทําลายบานเรือนของประชาชนในอําเภอพิปูน จังหวัดนครศรีธรรมราช ถึงแมรัฐบาลชาติชายจะเผชิญ

               วิกฤต แตกองทัพไมไดขยายบทบาททางการเมืองแตอยางใด เนื่องจาก พล.อ. ชวลิต ยงใจยุทธ ผูบัญชาการ
               ทหารบก ไดแสดงทาทีกอนหนานี้วาจะสนับสนุนระบอบประชาธิปไตย ประกอบกับ พล.อ. ชาติชายใชนโยบาย

               ประสานผลประโยชนกับกองทัพ จึงเปนเหตุใหในการทํางานในระยะแรกของรัฐบาลทหารมิไดเขามาแทรกแซง

               ทางการเมืองแตอยางใด (สุธาชัย ยิ้มประเสริฐ 2551, 204, 214)
                       แมวารัฐบาลภายใตการนําของ พล.อ. ชาติชาย ชุณหะวัณจะถูกประเมินจากสายตาของสังคมวา

               ขาดเสถียรภาพและอยูบริหารประเทศไดไมนาน แต พล.อ. ชาติชายกลับสรางความนิยมใหทั้งตัวนายกรัฐมนตรี

               และพรรคชาติไทยไดอยางรวดเร็ว จนเกิดกระแส “ชาติไทยฟเวอร” ขึ้น ประกอบกับภาพลักษณของ พล.อ.
               ชาติชายที่เปนคนสบาย ๆ เปนกันเอง และชอบขี่มอเตอรไซด ซึ่งแตกตางจากภาพลักษณ

               ของบรรดานายกรัฐมนตรีในยุคกอนหนา จนไดรับฉายา “นาชาติมาดนักซิ่ง” และ “มิสเตอร โน พอบเบล็ม”

               ที่มาจากคําพูดติดปากของ พล.อ. ชาติชาย วา “No Problem” ซึ่งสะทอนภาพรวมการทํางานของรัฐบาลได
               เปนอยางดี พล.อ. ชาติชายยังเปนผูริเริ่มการบริหารราชการแผนดินในรูปแบบใหม โดยเฉพาะการประชุม

               คณะรัฐมนตรีสัญจร ที่จัดประชุมคณะรัฐมนตรีตามจังหวัดตาง ๆ ที่นอกจากจะไดสัมผัสถึงสภาพความเปนอยู

               และรับฟงปญหาของประชาชนแลว ทําใหรัฐบาลมีภาพลักษณที่ดีอีกดวย โดยการประชุมคณะรัฐมนตรีสัญจร
               ครั้งแรกถูกจัดขึ้นที่จังหวัดสงขลา เมื่อวันที่ 4 มีนาคม 2532 (สุธาชัย ยิ้มประเสริฐ 2551, 212)

                       กระแสความนิยมที่ประชาชนมีตอนักการเมืองแบบใหมนี้ สะทอนใหเห็นถึงความเปลี่ยนแปลงของ

               ภูมิทัศนการเมืองไทยการกุมอํานาจและนโยบายจากมือขาราชการประจําและกองทัพ มาสูมือของนักการเมือง
               ที่จากการเลือกตั้งอยางชัดเจน

                       รัฐบาล พล.อ. ชาติชายเริ่มประสบกับความตึงเครียดกับกองทัพเมื่อ พล.อ. สุนทร คงสมพงษ

               ดํารงตําแหนงผูบัญชาการทหารสูงสุด ภายหลังการประกาศลาออกของ พล.อ. ชวลิต ยงใจยุทธ ที่ถูกกลาวหา
               วาอยูเบื้องหลังการชุมนุมประทวงใหญของกรรมกรทาเรือในเดือนกุมภาพันธ 2533 สงผลให พล.อ. สุจินดา

               คราประยูร ขึ้นดํารงตําแหนงผูบัญชาการทหารบก ตอจาก พล.อ. สุนทร คงสมพงษ

                       แมวา พล.อ. ชาติชายจะแตงตั้ง พล.อ. ชวลิตดํารงตําแหนงรองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีวาการ
               กระทรวงกลาโหมเพื่อประคองสถานการณ แตตอมา พล.อ. ชวลิตวิพากษวิจารณรัฐบาลในประเด็นการทุจริต

               ในคณะรัฐบาลอีกครั้ง กอนหนานี้ พล.อ. ชวลิตเคยออกมาพูดเมื่อตนเดือนสิงหาคม 2533 ทําใหเกิดกระแส

               สังคมจับจองไปที่ประเด็นการทุจริตของรัฐบาล จน ม.ร.ว. สุขุมพันธ บริพัตร หนึ่งในคณะที่ปรึกษา
   70   71   72   73   74   75   76   77   78   79   80