Page 72 - kpi22228
P. 72

64



                       แมวาพรรคประชาธิปตยจะมีจํานวน ส.ส. มากที่สุด แตพิชัย รัตตกุล หัวหนาพรรคประชาธิปตย

               กลับไมสามารถแสดงทาทีในการเปนแกนนําจัดตั้งรัฐบาลหรือนายกรัฐมนตรีได เมื่อ พล.อ. อ.สิทธิ เศวตศิลา
               หัวหนาพรรคกิจสังคม พล.ต.ชาติชาย ชุณหะวัณ หัวหนาพรรคชาติไทย และ พล.อ. เทียนชัย ศิริสัมพันธ

               หัวหนาพรรคราษฎร แถลงวาเมื่อไมมีพรรคใดไดเสียงเกินกึ่งหนึ่งของสภาจึงเห็นควรเชิญคนกลางมาเปน

               นายกรัฐมนตรี นั่นคือ พล.อ. เปรม ติณสูลานนท ซึ่ง พล.อ. เปรมไดยอมตอบรับคําเชิญโดยกลาววา
               “ไมอยากเปนนายกฯ เพราะงานหนักและเหนื่อย แตเมื่อประชาชนตองการใหรับก็ตองรับ” (สุธาชัย

               ยิ้มประเสริฐ 2551, 205)

                       ในที่สุด พล.อ. เปรม ติณสูลานนท ไดรับการโปรดเกลาฯ แตงตั้งเปนนายกรัฐมนตรีในวันที่ 5 สิงหาคม
               2529 ทามกลางกระแสไมพอใจของสังคมซึ่งเกิดการประทวงอยางหนักทันทีจากขบวนการนักศึกษา เอ็นจีโอ

               และประชาชน เมื่อรับรูขาวการรับคําเชิญกลับมาเปนนายกรัฐมนตรีคนกลาง ซึ่งขัดฝนกับทาทีของบรรดา

               นักการเมืองและพรรคการเมืองในหวงการรณรงคหาเสียงที่ชูประเด็นนายกรัฐมนตรีตองมาจากการเลือกตั้งมา
               เปนกลยุทธในการหาเสียงกอนหนานั้น

                       รัฐบาล พล.อ. เปรม ติณสูลานนทตั้งขึ้นโดยมีพรรครวม 4 พรรค ประกอบดวยพรรคประชาธิปตย

               พรรคกิจสังคม พรรคชาติไทย และพรรคราษฎร โดยพรรคประชาธิปตยเปนพรรคที่ใหญที่สุดและเปนพรรคที่มี
               ความขัดแยงภายในจนสั่นคลอนเสถียรภาพรัฐบาลไดในเวลาตอมา ความแตกแยกภายในพรรคประชาธิปตย

               เกิดขึ้นในการประชุมเพื่อเลือกตั้งหัวหนาพรรค เมื่อวันที่ 10 มกราคม 2530 โดยมีพิชัย รัตตกุล ลงสมัครแขง

               กับเฉลิมพันธ ศรีวิกรณ ผลปรากฏวาเฉลิมพันธเปนฝายพายแพ สงผลให ส.ส. กลุมเฉลิมพันธและวีระ มุสิก
               พงศ จํานวน 45 คน ตั้งกลุม 10 มกราฯ ประกาศจุดยืนไมสนับสนุนนายพิชัยและจะดําเนินการทางการเมือง

               โ                                            ด                                           ย

               ไมขึ้นตรงกับพรรคประชาธิปตยอีก (ธนาพล อิ๋วสกุล 2561)
                       พรรคฝายคานในการรวบรวมรายชื่อ ส.ส. เพื่อเปดอภิปรายไมไววางใจคณะรัฐมนตรียกชุด

               เมื่อเดือนมิถุนายน 2530 นําโดยบุญเทง ทองสวัสดิ์ หัวหนาพรรคสหประชาธิปไตย แตไมเปนผลสําเร็จ

               เนื่องจากฝายรัฐบาลดําเนินการทุกวิถีทางในการขัดขวางการยื่นญัตติครั้งดังกลาว ตอมาในเดือนเมษายน 2531
               พรรคฝายคานยื่นญัตติอภิปรายไมไววางใจรัฐบาล พล.อ. เปรมอีกครั้ง (ธนาพล 2561) ญัตติไมไววางใจถูก

               บรรจุเขาวาระวันที่ 9 พฤษภาคม 2531 โดยกอนหนานั้นมีการพิจารณารางพระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ของรัฐสภา

               แมวารางกฎหมายฉบับนี้ฝายรัฐบาลจะชนะโหวตในสภา แตปรากฏวากลุม 10 มกราฯ จํานวน 31 คน
               กลับลงมติใหฝายคาน ทําให พล.อ. เปรมไมพอใจอยางมาก จึงประกาศพระราชกฤษฎีกายุบสภาผูแทนราษฎร

               โดยใหเหตุผลวา “สมาชิกสภาผูแทนราษฎรในสังกัดพรรคการเมือง ยังไมรับรูความคิดเห็นหรือมติของสมาชิก

               ฝายขางมากในพรรคของตน อันเปนการขัดตอวิถีทางการปกครองในระบอบประชาธิปไตย และกอใหเกิด
               ปญหาและอุปสรรคในการบริหารราชการแผนดิน และการพัฒนาประเทศเปนอยางมาก” การประกาศยุบสภา

               เมื่อวันที่ 29 เมษายน ของ พล.อ. เปรมสงผลใหญัตติอภิปรายไมไววางใจตองตกไปโดยอัตโนมัติ (สุธาชัย

               ยิ้มประเสริฐ 2551, 206)
   67   68   69   70   71   72   73   74   75   76   77