Page 68 - kpi22228
P. 68

60



               ในการเลือกตั้งหลังป 2540 กระนั้นรูปแบบของวิธีการหาเสียงเลือกตั้งเพื่อจูงใจใหประชาชนลงคะแนนใหใน

               ปจจุบันมีทั้ง 3 ลักษณะผสมกันไป (สํานักขาวอิสรา 2561)
                       เมื่อ พล.อ. เกรียงศักดิ์ไดรับชัยชนะในการเลือกตั้งซอมเขามาเปนสมาชิกสภาผูแทนราษฎร และไดทํา

               หนาที่เปนผูนําฝายคานคนสําคัญรวมกับนายสมัคร สุนทรเวช เปดอภิปรายไมไววางใจรัฐบาล พล.อ. เปรม

               ครั้งใหญ 8 กระทรวง เมื่อวันที่ 2 มิถุนายน 2525 โดยมุงโจมตีการทํางานของรัฐบาลในดานนโยบายทาง
               เศรษฐกิจเปนสําคัญ อยางไรก็ตามรัฐมนตรีที่ถูกอภิปรายไมไววางใจยังคงไดรับคะแนนมติไววางใจจากรัฐสภา

               ดังเดิม สะทอนใหเห็นถึงเสถียรภาพที่ยังมั่นคงของรัฐบาล พล.อ. เปรม แมวาจะมีเสียงสนับสนุนในสภา

               ผูแทนราษฎรเกินครึ่งสภาเพียงเล็กนอยเทานั้น (สุธาชัย ยิ้มประเสริฐ 2551, 194)
                       สิ่งที่กระทบกับเสถียรภาพรัฐบาลกลับเปนการขยายฐานอํานาจของคูแขงทางการเมืองคนสําคัญของ

               พล.อ. เปรมนั่นคือ พล.อ. อาทิตย กําลังเอก ผูบัญชาการทหารบกและวุฒิสมาชิก ในเดือนมกราคม 2526

               พล.อ. อาทิตยและเหลาผูนํากองทัพพยายามกดดันใหเปดประชุมสภาสมัยวิสามัญเพื่อแกไขรัฐธรรมนูญ 2521
               ใหคงบทเฉพาะกาลที่กําลังจะหมดสภาพบังคับลงในเดือนเมษายน 2526 บางประการเอาไว คือ เปดชองให

               ผูบัญชาการทหารบกสามารถดํารงตําแหนงนายกรัฐมนตรีไดโดยไมตองออกจากตําแหนงทางทหารและปูทาง

               ใหพรรคพวกผูนําเหลาทัพโดยเฉพาะกองทัพบกเขามามีบทบาทในการเมือง โดย พล.อ. อาทิตยอางเหตุผลเรื่อง
               ความมั่นคงของราชอาณาจักร การกดดันรัฐบาลโดยนายทหารระดับสูงตึงเครียด ถึงขั้นขูวา “ถาไมรับฟง

               ทหารอาจจะตองออกมาเอกเซอรไซดกันบาง” ซึ่งเปนการกลาวโดยนัยวาอาจจะมีการกอการรัฐประหาร

               (สุธาชัย ยิ้มประเสริฐ 2551, 194-195)
                       ทามกลางกระแสขาวการรัฐประหาร พรรคกิจสังคม พรรคชาติไทย พรรคประชาธิปตย และสมาพันธ

               ประชาธิปไตยที่เกิดจากการรวมตัวของกลุมนักวิชาการและองคกรพัฒนาเอกชน คัดคานการแกไขรัฐธรรมนูญ

               เพื่อยืดอายุบทเฉพาะกาลตามขอเรียกรองของผูนําเหลาทัพ ขณะที่พรรคประชากรไทย พรรคชาติ
               ประชาธิปไตย และพรรคสยามประชาธิปไตย ตางเห็นดวยกับขอเสนอของฝายทหาร ขณะที่กลุมการเมือง

               ที่ไมมีจุดยืนแนนอนที่มีพรรคชาติไทยเปนแกนกลางเปลี่ยนทาทีเปนคัดคานการแกไขรัฐธรรมนูญกะทันหัน

               เนื่องจากกระแสกดดันจากทั้งประชาชนนอกสภาและนักการเมืองในสภา จึงมีการลงมติไมเห็นชอบกับมติแกไข
               รัฐธรรมนูญในวาระสามตองตกไปเมื่อวันที่ 16 มีนาคม 2526 หลังจากนั้น 2 วันตอมา พล.อ. เปรม ไดประกาศ

               ยุบสภาและกําหนดใหมีการเลือกตั้งทั่วไปวันที่ 18 เมษายน 2526 กอนสิ้นสุดการบังคับใชบทเฉพาะกาล

               ตามรัฐธรรมนูญ 2521 เพียงไมกี่วัน จึงทําใหระบบการเลือกตั้งแบบแบงเขตเรียงเบอรยังคงมีผลบังคับใชอยูใน
               การเลือกตั้งที่กําลังจะเกิดขึ้น ซึ่งเปนหนึ่งในสามประเด็นหลักที่ฝายทหารเรียกรองในการแกไขรัฐธรรมนูญเพื่อ

               ตออายุบทเฉพาะกาล จึงอาจกลาวไดวาฝายทหารมิไดพายแพเด็ดขาด

                       ผลการเลือกตั้งวันที่ 18 เมษายน 2526 จากจํานวนสมาชิกสภาผูแทนราษฎรทั้งหมด 324 คน
               พรรคกิจสังคม ซึ่งเปนพรรคการเมืองที่แสดงจุดยืนคัดคานการแกไขรัฐธรรมนูญมากที่สุด ชนะการเลือกตั้งดวย

               จํานวนที่นั่งในสภา 92 เสียง พรรคชาติไทย 73 เสียง พรรคประชาธิปตย 56 เสียง พรรคประชากรไทย 36

               เสียง พรรคสยามประชาธิปไตย 18 เสียง พรรคชาติประชาธิปไตย 15 เสียง พรรคประชาไทย 4 เสียง
   63   64   65   66   67   68   69   70   71   72   73