Page 65 - kpi22228
P. 65

57



                       รัฐบาลผสมของ พล.อ. เกรียงศักดิ์ ชมะนันทนภายใตระบอบประชาธิปไตยครึ่งใบดําเนินไปอยาง

               ไมราบรื่นนัก เนื่องจากเปนรัฐบาลเสียงขางนอยและมีพรรคที่หลากหลายจึงสงผลตอเสถียรภาพของรัฐบาล
               อยางยิ่ง ในคราววิกฤตการณน้ํามันที่เกิดจากการขึ้นราคาน้ํามันของกลุมประเทศโอเปก (OPEC) สงผลให

               รัฐบาลตองประกาศขึ้นราคาน้ํามันถึงสองครั้ง การขึ้นราคาน้ํามันเชื้อเพลิงของรัฐบาล พล.อ. เกรียงศักดิ์สราง

               ความไมพอใจใหกับประชาชนและเกิดการประทวงโดยเฉพาะสมาคมประมงและสหภาพแรงงานตาง ๆ โจมตี
               เหตุของการปรับขึ้นราคาน้ํามันเชื้อเพลิงวาเพราะน้ํามันเปนกิจการผูกขาดมากเกินไป (สุธาชัย ยิ้มประเสริฐ

               2551, 185) ฝานคานที่นําโดยพรรคกิจสังคมจึงขยายผลทางการเมืองโดยการยื่นญัตติอภิปรายไมไววางใจ

               รัฐมนตรีที่มีสวนเกี่ยวของเปนรายบุคคลทั้งสิ้น 4 กระทรวง และมีการลงมติไมไววางใจครั้งแรกนับตั้งแตป
               2490 เปนตนมา

                       วิกฤตการณน้ํามันครั้งนั้นสงผลใหความไมลงรอยของพรรครวมรัฐบาลคอย ๆ เผยใหเห็นรอยแยกมาก

               ยิ่งขึ้นเมื่อพรรคสยามประชาธิปไตยที่เกิดจากการรวมตัวกันของ ส.ส. อิสระและพรรคเล็ก 47 คน ไดใชวิกฤต
               น้ํามันเปนโอกาสตอรองให พล.อ. เกรียงศักดิ์ปรับคณะรัฐมนตรี 2 ตําแหนง ไดแก ประสิทธิ ณรงคเดช

               ส.ส. อุบลราชธานีจากพรรคเสรีธรรม รัฐมนตรีวาการกระทรวงอุตสาหกรรม และเกษม จาติกวณิช รัฐมนตรีที่

               รับผิดชอบดูแลเรื่องพลังงาน โดยพรรคสยามประชาธิปไตยมองวาตนมีเสียง ส.ส. มากกวาพรรคเสรีธรรมแต
               กลับไดโควตารัฐมนตรีนอยกวา (สุธาชัย ยิ้มประเสริฐ 2551, 186) ภายหลัง พล.อ. เกรียงศักดิ์ไดปรับ

               คณะรัฐมนตรีใหมแตพรรคสยามประชาธิปไตยไมไดเกาอี้รัฐมนตรีเพิ่มจึงสรางความไมพอใจใหแกนนําพรรค

               อยางมาก
                       เมื่อรัฐบาล พล.อ.  เกรียงศักดิ์ประกาศขึ้นราคาน้ํามันเชื้อเพลิงในวันที่ 9 กุมภาพันธ 2523 นํามาซึ่ง

               การประทวงขึ้นอยางกวางขวางในสังคม การชุมนุมประทวงครั้งใหญถูกจัดขึ้นเมื่อวันที่ 21 กุมภาพันธที่

               ทองสนามหลวงนําโดยนักศึกษา 18 สถาบันรวมกับสหภาพแรงงาน ขณะที่รัฐบาลตองเผชิญกับการรวมกันของ
               พรรคฝายคานในการเปดประชุมมติไมไววางใจนายกรัฐมนตรี ซึ่งในครั้งนี้พรรครวมรัฐบาลอยางพรรคสยาม

               ประชาธิปไตยมีทาทีรวมมือกับพรรคฝายคาน ดวยแรงกดดันเหลานี้ทําให พล.อ. เกรียงศักดิ์ ชมะนันทน

               ประกาศลาออกกลางที่ประชุมสภาเมื่อวันที่ 29 กุมภาพันธ 2523 จากนั้นสภาฯ มีมติเลือก พล.อ. เปรม
               ติณสูลานนท เปนนายกรัฐมนตรีดวยคะแนน 395 เสียง ในจํานวนนี้เปนเสียงจากวุฒิสภา 200 เสียง

                       ในยุคประชาธิปไตยครึ่งใบของรัฐบาล พล.อ. เปรม ติณสูลานนท เริ่มตนขึ้นเมื่อไดรับพระบรมราช-

               โองการโปรดเกลาฯ ในวันที่ 3 มีนาคม 2523 และจัดตั้งรัฐบาลผสม 5 พรรค ไดแก พรรคกิจสังคม
               พรรคชาติไทย พรรคประชาธิปตย พรรคสยามประชาธิปไตย และพรรคชาติประชาชน โดยคณะรัฐมนตรีมี 37

               คน ประกอบไปดวยพลเรือนเปนสวนใหญ นักการเมืองคนสําคัญ ๆ เชน ถนัด คอมันตร พล.ต. ประมาณ

               อดิเรกสาร และบุญชู โรจนเสถียร รับตําแหนงรองนายกรัฐมนตรี บรรหาร ศิลปอาชา รับตําแหนง
               รัฐมนตรีวาการกระทรวงเกษตร พล.ต.ชาติชาย ชุณหะวัณ รับตําแหนงรัฐมนตรีอุตสาหกรรม ชวน หลีกภัย

               รับตําแหนงรัฐมนตรียุติธรรม พ.ต. จําลอง ศรีเมือง รับตําแหนงเลขาธิการนายกรัฐมนตรี เปนตน แมวารัฐบาล
   60   61   62   63   64   65   66   67   68   69   70