Page 66 - kpi22228
P. 66

58



               พล.อ. เปรม จะมีภาพเปนรัฐบาลพลเรือนแตก็ปฏิเสธไมไดวาไดรับเสียงสนับสนุนสวนใหญมาจากกองทัพและ

               วุฒิสมาชิกเปนสําคัญ จึงอาจกลาวไดวาการเสนทางการเปนนายกรัฐมนตรีไมเปนไปตามครรลองประชาธิปไตย
                       กรณีการตออายุราชการ พล.อ. เปรม ก็มีนัยสําคัญอยางมาก เนื่องจากพล.อ. เปรม จะเกษียณอายุใน

               ตําแหนงผูบัญชาการทหารบกในเดือนกันยายน 2523 แตสภากลาโหมไดเสนอใหตออายุราชการออกไปอีก 1

               ป ซึ่งขัดกับกฎหมายพระราชบัญญัติบําเหน็จบํานาญ จึงมีความจําเปนในการแกกฎหมายในสภาผูแทนราษฎร
               ทําใหเกิดกระแสตอตานอยางกวางขวางจากทั้งสังคมและแมแตในพรรครวมรัฐบาลเอง แตก็มีเหตุการณที่

               เปลี่ยนทาทีของแกนนําเหลานี้เปลี่ยนทาทีตอกรณีตออายุราชการ พล.อ. เปรม โดยถนัด คอมันตร หัวหนา

               พรรคประชาธิปตย แถลงวาพรรคจะเปลี่ยนมติเปนไมคัดคานเพราะไดรับ “ขอมูลใหม” ซึ่งสอดคลองกับพรรค
               รวมรัฐบาลอื่น ๆ ทําใหในที่สุดกฎหมายตออายุราชการให พล.อ. เปรมผานการพิจารณาของสภาอยางงายดาย



                       อุกฤษฏ ปทมานันท เรียกการเมืองในยุค พล.อ. เปรม ติณสูลานนท วา “เปรมาธิปไตย” ซึ่งมีลักษณะ
               สําคัญคือ “...เปนประชาธิปไตยครึ่งใบ มีรัฐธรรมนูญ มีสภา มีการเลือกตั้ง แตมีนายกรัฐมนตรีที่สัมพันธกับ

               กลุมทหาร มีการทํางานรวมกันระหวางคณะทหารกับคณะรัฐมนตรี มีกฎหมายที่ใหอํานาจทหารแทรกแซง

               การเมืองได ซึ่งถาเราจับหลักนี้มาวิเคราะหสถานการณการเมืองปจจุบัน อาจมองในแงบวกไดวา คณะทหาร
               เพียงพยายามประคองรัฐบาลชั่วคราว

                       ประการตอมา เทคโนแครตมีบทบาทสูงในกระบวนการกําหนดนโยบาย  มีการใชผูเชี่ยวชาญเฉพาะ

               ใชเทคโนแครต ซึ่งเปนนักเรียนนอก มีความรูดี ทําหนาที่กําหนดและดําเนินนโยบายอยางเต็มที่ มีอิสระ เชน
               พลอากาศเอกสิทธิ เศวตศิลา ทําหนาที่ดานการตางประเทศ คุณโฆษิต ปนเปยมรัษฎ ทําหนาที่ดานพัฒนา

               ชนบท เปนตน นอกจากนั้น มีความพยายามปรับแผนพัฒนาประเทศใหสอดคลองกับโลกแหงความเปนจริง

                                                                                               22
               เชน เพิ่มบทบาทใหกับภาคธุรกิจเอกชน เชน ตั้งคณะกรรมการรวมภาครัฐและเอกชน (กรอ.) ...”21
                       ในขณะที่ มีผูเสนอวาอาจจะมีปจจัยอื่นที่ทําใหเกิด “ระบอบเปรมาธิปไตย” นอกเหนือจากนิยามที่

               อุกฤษฏเสนอไวอีก 2 ประการ นั่นคือ การสนับสนุนของราชสํานัก และความออนแอของระบบพรรคการเมือง

                                                                                                  23
               ภายใตรัฐธรรมนูญฉบับป 2521 ที่เปนผลสืบเนื่องจากระบอบเผด็จการทหารในหวงทศวรรษกอนหนา22
                       ทามกลางระบอบการเมืองเชนนี้ทําใหเกิดกลุม “คณะทํางานรณรงคเพื่อแกไขรัฐธรรมนูญใหเปน

               ประชาธิปไตย (ครป.)” ขึ้นในวันที่ 13 กันยายน 2523 เพื่อผลักดันการแกไขรัฐธรรมนูญใหเปนประชาธิปไตยมาก

               ขึ้น หนึ่งในประเด็นที่เรียกรองหลักคือการเสนอใหประชาชนเลือกตั้งนายกรัฐมนตรีโดยตรง เพื่อสกัดการแทรกแซง
               การเมืองโดยกองทัพในการเขายึดอํานาจรัฐบาลโดยอางอิงอํานาจจากปวงชนในการเลือกตั้งนายกรัฐมนตรี

               นอกจากนี้ยังมีการเสนอใหมีองคกรกลางเขามากํากับดูแลการเลือกตั้งโดยการกําหนดไวในรัฐธรรมนูญอีกดวย




               22  ดูเพิ่มเติมบทสัมภาษณอุกฤษฏโดยปกปอง จันวิทย ใน อุกฤษฏ ปทมานันท: “นี่คือรัฐบาลเปรม 6”. เขาถึงขอมูลวันที่ 27
               กรกฎาคม 2564, จาก http://pokpong.org/interview/talk-with-ukrit/

               23  ดูเพิ่มเติม 30 ป การสิ้นสุดของระบอบเปรมาธิปไตย (1): ความเปนมา อภิมหาเรื่องเลา และนักการเมืองชื่อเปรม. เขาถึง
               ขอมูลวันที่ 27 กรกฎาคม 2564, จาก https://www.the101.world/premocracy-1/#_ftn3
   61   62   63   64   65   66   67   68   69   70   71