Page 60 - kpi22228
P. 60

52



                       ความนาสนใจของรัฐบาล “สหพรรค” ของ ม.ร.ว. คึกฤทธิ์ ปราโมชคือ ในจํานวนรัฐมนตรี 26 คน

               เปน ส.ส. ถึง 25 คน มีเพียงตําแหนงรัฐมนตรีชวยวาการกระทรวงกลาโหมเทานั้นที่เชิญ พล.ร.อ. กมล สีตกลิน
               นายทหารเรือนอกราชการ แนวนโยบายของรัฐบาล ม.ร.ว. คึกฤทธิ์ ยังเปนรัฐบาลในการเมืองระบบพรรคชุด

               แรกที่มีขอเสนอนโยบายในการบริหารประเทศที่มีทิศทางชัดเจนและแปลกใหม นโยบายหลักที่รัฐบาลเสนอตอ

               รัฐสภาคือ นโยบายเงินผัน ที่เปนการอัดฉีดเงินไปสูชนบท สงเคราะหผูมีรายไดนอยในกรุงเทพฯ นโยบาย
               รถเมลฟรี รักษาพยาบาลฟรี ซึ่งเรียกกันวานโยบายพระศรีอาริย (สุธาชัย ยิ้มประเสริฐ 2551, 136)

                       ม.ร.ว. คึกฤทธิ์ ปราโมช ประกาศยุบสภาภายหลังจากบริหารประเทศเพียง 10 เดือนเศษ เนื่องจาก

               ความขัดแยงภายในรัฐบาล โดยแถลงเหตุผลวา การมีพรรครวมรัฐบาล 16-17 พรรค ทําใหรัฐบาล
               ขาดเสถียรภาพ มีการแสวงหาผลประโยชนและแยงตําแหนงกันตลอดเวลา จึงจําเปนตองลาออก เพราะ

               ไมตองการใหเกิดการแตกแยก ขาดความสามัคคีในหมูคนไทย จนเปนผลกระเทือนความมั่นคงของชาติ

               (สุธาชัย ยิ้มประเสริฐ 2551, 137)
                       กําหนดการเลือกตั้งใหมในวันที่ 4 เมษายน 2519 มีผลการเลือกตั้งปรากฏวาพรรคประชาธิปตยไดรับ

               ชัยชนะดวยเสียงมากที่สุด 114 ที่นั่ง จาก ส.ส. ทั้งหมด 279 ที่นั่ง แมแต ม.ร.ว. คึกฤทธิ์เองก็พายแพใหกับนาย

               สมัคร สุนทรเวช ผูสมัครจากพรรคประชาธิปตยเขตดุสิต ทําให ม.ร.ว. เสนีย ปราโมช หัวหนาพรรค
               ประชาธิปตยกลับมาดํารงตําแหนงนายกรัฐมนตรีอีกครั้งและบริหารประเทศจนถึงวันที่ 6 ตุลาคม 2519

               (สุธาชัย ยิ้มประเสริฐ 2551, 137-138)

                       รัฐบาล ม.ร.ว. เสนียประสบกับความยุงยากทางการเมืองหลายประการ ประการสําคัญ คือ การเปน
               รัฐบาลภายใตกระแสความกดดันจากฝายอนุรักษนิยมที่วิพากษวิจารณทาทีของรัฐบาลวาโอนออนกับนักศึกษา

               และประชาชนมากเกินไป อีกทั้ง การเมืองไทยในยุคหลัง 14 ตุลาฯ เปนยุคสมัยที่สังคมไทยมีเสรีภาพทาง

               ความคิดอยางมาก จึงสามารถพบเห็นการเผยแพรแนวคิดสังคมนิยมไดอยางเปดเผย ประกอบกับบทบาท
               ของขบวนการนักศึกษาที่เพิ่มขึ้นและมีการเคลื่อนไหวเรียกรองความเปนธรรมในหลายประเด็น รัฐบาล

               จึงประสบกับความยุงยาก

                       เมื่อจอมพลถนอม กิตติขจร บวชเปนสามเณรเดินทางเขาประเทศในวันที่ 19 กันยายน 2519 ทําให
               ในสภาจึงลงมติคัดคานการกลับมาของจอมพล ถนอม และเรียกรองใหรัฐบาลดําเนินการทันทีในวันที่

               23 กันยายน แต ม.ร.ว. เสนียไมอาจทําอะไรไดจึงประกาศลาออกกลางสภาผูแทนราษฎร ขณะที่การชุมนุม

               คัดคานการกลับไทยของจอมพลถนอมของนิสิต นักศึกษาและประชาชนไดเริ่มตนขึ้น ตอมามีการกวาดลาง
               ขบวนการนักศึกษาในวันที่ 6 ตุลาคม 2519 ทําใหสถานการณตึงเครียดทั้งวัน กระทั่งคณะรัฐประหาร

               ของพล.ร.อ. สงัด ชลออยู เขายึดอํานาจ นับวาเปนจุดสิ้นสุดของประชาธิปไตยหลัง 14 ตุลาฯ และกลับคืนสู

               ระบอบเผด็จการทหาร (สุธาชัย ยิ้มประเสริฐ 2551, 159-166)
   55   56   57   58   59   60   61   62   63   64   65