Page 56 - kpi22228
P. 56
48
การใชอํานาจหนาที่ในการเรียกคะแนนจากประชาชน การขับเคี่ยวกันของกลุมฝายตาง ๆ ที่ใชวิธีการใสราย
ปายสีทางการเมืองเพื่อแยงชิงคะแนนเสียงในการเลือกตั้ง ไปจนถึงการใชทั้งอํานาจและอิทธิพลทางการเมืองใน
ยุคของจอมพล สฤษดิ์ ธนะรัชต เหลานี้ลวนเปนภาพสะทอนของประวัติศาสตรการเลือกตั้งของไทยใน
ยุคแรกเริ่มที่ทําใหเห็นวานักการเมืองยังไมรูจักวิธีการแขงขันดวยกลยุทธการตลาดการเมืองอยางเปนระบบเชน
ในปจจุบัน
อยางไรก็ดี หากไมนับรวมการเลือกตั้งซอม 5 จังหวัดที่ถูกจัดขึ้นในเดือนมีนาคม 2501 การเลือกตั้งที่
เกิดขึ้นเมื่อวันที่ 15 ธันวาคม 2500 นับวาเปนการเลือกตั้งทั่วไปครั้งสุดทายกอนที่การเมืองไทยจะตกอยูใน
ระบอบการปกครองแบบเผด็จการอํานาจนิยมอันยาวนานของ จอมพล สฤษดิ์ ธนะรัชตที่รัฐประหารครั้งที่สอง
เมื่อวันที่ 20 ตุลาคม 2501 ซึ่งกินระยะเวลาเกือบ 12 ป ประชาชนจึงไดเลือกตั้งอีกครั้งในวันที่ 10 กุมภาพันธ
2512
3.1.3 การเลือกตั้งในยุคเผด็จการทหาร
การเมืองหลัง พ.ศ. 2500 และกติกาตามธรรมนูญการปกครองราชอาณาจักร พ.ศ. 2502 ทําให
การเมืองไทยอยูภายใตระบอบที่จอมพล สฤษดิ์ เรียกวาเปน “ระบอบปฏิวัติ” มีลักษณะเปนการเมืองแบบ
เผด็จการเบ็ดเสร็จ กลาวคือเปนระบอบการปกครองที่ฝายนิติบัญญัติมาจากการแตงตั้งทั้งหมด เรียกวา
“สภารางรัฐธรรมนูญ” ที่ทําหนาที่รางรัฐธรรมนูญและทําหนาที่สภานิติบัญญัติไปดวย แมวาสภานี้จะมีหนาที่
รางรัฐธรรมนูญฉบับใหมแตจอมพลสฤษดิ์ไดสําทับไววา “ไมตองรางใหเสร็จเร็วนัก” (สุธาชัย ยิ้มประเสริฐ
2551, 94) ดังจะเห็นไดจากการเรียกประชุมเพื่อรางรัฐธรรมนูญฉบับใหมครั้งแรกเมื่อ 30 มีนาคม 2504
เปนเวลา 2 ป ตอมา
นอกจากนี้ในระบอบปฏิวัติของจอมพล สฤษดิ์ ยังไดยกเลิกการเลือกตั้งในทุกระดับ โดยในระดับ
ทองถิ่นใหอํานาจผูวาราชการจังหวัดแตงตั้งผูบริหารเทศบาลและสุขาภิบาลทั้งหมด รัฐบาลยังออกกฎหมาย
ลมเลิกระบบเดิมคณะสงฆ แลวใชระบบมหาเถรสมาคมที่มีสังฆราชเปนประธาน สะทอนใหเห็นการรวมศูนย
อํานาจเขาสูศูนยกลาง
เมื่อจอมพล สฤษดิ์ ธนะรัชตเสียชีวิตในวันที่ 8 ธันวาคม 2506 จอมพล ถนอม กิตติขจร เขารับ
ตําแหนงนายกรัฐมนตรีคนใหมพรอมสัญญาวาจะเรงรางรัฐธรรมนูญใหแลวเสร็จและผอนคลายบรรยากาศทาง
การเมืองดวยการปลอยนักโทษการเมืองสมัยจอมพลสฤษดิ์ออกจากคุกทั้งหมด แตรัฐบาลยังคงถูกวิจารณวา
เปนรางรัฐธรรมนูญชาที่สุดในโลก
ในที่สุดสภารางรัฐธรรมนูญไดรางแลวเสร็จและผานวาระสามในวันที่ 10 กุมภาพันธ 2511 แตรัฐบาล
ชะลอการประกาศใช จนพระบาทสมเด็จพระเจาอยูหัวภูมิพลอดุลยเดชทรงมีพระราชดํารัสในโอกาสทรงดนตรี
ที่มหาวิทยาลัย ธรรมศาสตรในเดือนมีนาคม 2511 วา “ถาสงขึ้นมาเมื่อใดก็จะลงนามทันที” (สุธาชัย
ยิ้มประเสริฐ 2551, 106) ทายที่สุดรัฐบาลจอมพลถนอมจึงตัดสินใจถวายใหกษัตริยลงพระปรมาภิไธยและ
ประกาศใชเมื่อวันที่ 10 มิถุนายน 2511 รวมใชเวลารางและกระบวนการตาง ๆ 9 ป 4 เดือน