Page 59 - kpi22228
P. 59

51



                       ในระหวางนี้รัฐธรรมนูญฉบับใหมถูกรางเสร็จสมบูรณและประกาศใชเมื่อวันที่ 7 ตุลาคม 2517

               สาระสําคัญของรัฐธรรมนูญฉบับนี้กําหนดใหนายกรัฐมนตรีตองเปนสมาชิกสภาผูแทนราษฎร
               สมาชิกสภาผูแทนราษฎรตองสังกัดพรรคการเมือง ลดอํานาจสมาชิกวุฒิสภา และหามขาราชการประจํา

               รับตําแหนงทางการเมือง นอกจากนี้ยังกําหนดใหมีการเลือกตั้งแบบแบงเขตเปนครั้งแรกของไทย การกําหนด

               วา ส.ส. ตองสังกัดพรรคการเมืองจึงทําใหเกิดการกอตั้งพรรคการเมืองขึ้น 42 พรรค เชน พรรคประชาธิปตย
               ที่ฟนฟูขึ้นอีกครั้ง ม.ร.ว. เสนีย ปราโมช เปนหัวหนาพรรค พรรคแนวรวมสังคมนิยมมีแคลว นรปติ เปนหัวหนา

               พรรค กลุมราชครู คือ พล.ต. ประมาณ อดิเรกสาร พล.ต. ชาติชาย ชุณหวัณ และ พล.ต. ศิริ ศิริโยธินรวมกอตั้ง

               พรรคชาติไทย ม.ร.ว .คึกฤทธิ์ ปราโมชกับนายบุญเทง ทองสวัสดิ์ รวมกอตั้งพรรคกิจสังคม” สวนอดีต ส.ส.
               พรรคสหประชาไทยกระจายกันไปตั้งพรรคการเมือง เชน พรรคธรรมสังคมนําโดยทวิช กลิ่นประทุม พรรคชาติ

               สังคมนําโดยประสิทธิ กาญจนวัฒน และพรรคเกษตรสังคมนําโดยเสวตร เปยมพงศสานต

                       นอกจากนี้ ยังมีพรรคการเมืองที่มีแนวโนมไปทางฝายซายที่ตั้งขึ้นใหมคือพรรคสังคมนิยมแหงประเทศ
               ไทยนําโดย พ.อ. สมคิด ศรีสังคม และพรรคพลังใหมนําโดย นพ.กระแส ชนะวงศ เปนตน (สุธาชัย ยิ้มประเสริฐ

               2551, 134-135)

                       ผลการเลือกตั้งทั่วไป 26 มกราคม 2518 ผลปรากฏวา พรรคประชาธิปตยได 72 ที่นั่ง พรรคธรรม
               สังคม 45 ที่นั่ง พรรคชาติไทย 28 ที่นั่ง พรรคเกษตรสังคม 19 ที่นั่ง พรรคกิจสังคม 18 ที่นั่ง พรรคสังคม

               ชาตินิยม 16 ที่นั่ง พรรคสังคมนิยมแหงประเทศไทย 15 ที่นั่ง พรรคพลังใหม 12 ที่นั่ง พรรคแนวรวมสังคม

               นิยม 10 ที่นั่ง และพรรคเล็กพรรคนอยหรือที่เรียกกันวา “พรรคต่ําสิบ” อีก 13 พรรคอีก 32 ที่นั่ง รวมจํานวน
               ส.ส. 269 ที่นั่ง มีพรรคประชาธิปตยมีเสียงมากที่สุด ม.ร.ว. เสนีย ปราโมช หัวหนาพรรคประชาธิปตยจึงไดรับ

               ตําแหนงนายกรัฐมนตรีคนใหมจากการรวมกับพรรคเกษตรสังคมในการจัดตั้งรัฐบาลเสียงขางนอย 91 เสียง

               ทวาเสียงของทั้งสองพรรครวมกันไมถึงครึ่งของสภาทําใหในวันแถลงนโยบาย สภาลงมติไมรับรองนโยบาย
               รัฐบาล ม.ร.ว. เสนียจึงตองลาออก แต ม.ร.ว. คึกฤทธิ์ ปราโมช หัวหนาพรรคกิจสังคมสามารถรวบรวมเสียงใน

               สภาจาก 16 พรรคการเมือง ได 147 เสียง จึงเขารับตําแหนงนายกรัฐมนตรีคนใหม (สุธาชัย ยิ้มประเสริฐ

               2551, 135 และบัณฑิต จันทรโรจนกิจ 2563, 127)
                       อนึ่ง สําหรับเงื่อนไขสําคัญที่สงผลใหพรรคประชาธิปตยที่แมจะไดรับชัยชนะในการเลือกตั้งแต

               ไมสามารถรวบรวมเสียงสนับสนุนจาก ส.ส. ในสภาไดเกิดจากคํามั่นสัญญาที่ใหไวกับประชาชนในชวงหาเสียง

               ของพรรคประชาธิปตยเองที่วา พรรคจะไมจัดตั้งรัฐบาลที่มีอดีตสมาชิกพรรคสหประชาไทยซึ่งเปนพรรคของ
               จอมพล ถนอม กิตติขจรเด็ดขาด ดวยขอโจมตีวาเปนพรรคเชื้อสายทรราช ดวยเงื่อนไขนี้เองทําใหพรรค

               ประชาธิปตยไมอาจจับมือกับพรรคธรรมสังคมและพรรคสังคมชาตินิยมเพื่อตั้งรัฐบาลได กลาวไดวาพรรค

                                                                                                   17
               ประชาธิปตยเปนพรรคที่ประสบความสําเร็จในการเลือกตั้งแตลมเหลวในการรวบรวมเสียงจัดตั้งรัฐบาล16




               17  ดูเพิ่มเติม ม.ร.ว.คึกฤทธิ์ ตนตํารับเสียงนอยไดเปนนายกฯ รวมเสียง 16 พรรค กอนยอมรับแยงตําแหนงกันตลอดเวลา.
               เขาถึงขอมูลวันที่ 13 กรกฎาคม 2564, จาก https://thestandard.co/kukrit-pramoj/
   54   55   56   57   58   59   60   61   62   63   64