Page 74 - kpi22228
P. 74

66



                       รัฐบาล พล.อ. ชาติชาย ชุณหะวัณ นับเปนรัฐบาลพลเรือนชุดแรกนับตั้งแตป 2519 และมีพรรค

               การเมืองลงแขงขันมากขึ้น โดย พล.อ. ชาติชายแตงตั้งคณะรัฐมนตรีจากพรรคการเมืองทั้งหมดตามโควตา ส.ส.
               ในพรรค 5 คน ตอตําแหนงรัฐมนตรี 1 ตําแหนง ยกเวนนายมีชัย ฤชุพันธ รัฐมนตรีประจําสํานักนายกรัฐมนตรี

               คนเดียวที่ไมไดมาจากพรรครวมรัฐบาล

                       คณะรัฐมนตรีตางเปนหัวหนาและแกนนําจากพรรคตาง ๆ เนื่องจากพรรคชาติไทยมีจํานวน ส.ส.
               ไมถึงครึ่งหนึ่งของสภา จึงตองมีการรวบรวมเสียงจากพรรคการเมืองอื่นรวมจัดตั้งรัฐบาลผสม ทําให

               พล.อ. ชาติชายเผชิญปญหาความขัดแยงทางความคิดในการดําเนินนโยบายภายในพรรครวมรัฐบาลบอยครั้ง

               โดยเฉพาะอยางยิ่งการดําเนินนโยบาย “เปลี่ยนสนามรบเปนสนามการคา” ของ พล.อ. ชาติชายที่มีจุดประสงค
               เพื่อแปรเปลี่ยนสนามรบในประเทศอินโดจีนใหกลายเปนตลาดการคาของประเทศไทยดวยการปรับปรุงและ

               ฟนความสัมพันธทั้งทางเศรษฐกิจและการเมืองกับประเทศเพื่อนบานในแถบอินโดจีน ซึ่งแนวนโยบายดังกลาว

                                                                 26
               เกิดขึ้นจากการทําหนาที่ของ “คณะที่ปรึกษาบานพิษณุโลก”25
                       ทั้งนี้ พล.อ. ชาติชายตั้งคณะที่ปรึกษาของตนเองขึ้นมากําหนดแนวนโยบายโดยไมพึ่งขาราชการ

               สะทอนใหเห็นวาบทบาทของระบบราชการที่เปนกลไกสําคัญในการบริหารราชการแผนดินลดลง

               นายกรัฐมนตรีที่มาจากการเลือกตั้งสามารถกําหนดนโยบายและทิศทางการบริหารประเทศไดมากขึ้น
                       การแตงตั้งคณะที่ปรึกษาดังกลาวทําใหเกิดความขัดแยงภายในคณะรัฐมนตรี เนื่องจาก พล.อ. ชาติชาย

               ใหความสําคัญกับคําแนะนําจากคณะที่ปรึกษาฯ มากกวาความเห็นจากรัฐมนตรีจากพรรครวมรัฐบาล

               โดยเฉพาะนโยบายเปลี่ยนสนามรบเปนสนามการคา ซึ่งถูกทวงติงทั้งจากหนวยงานดานความมั่นคง และ
               พล.อ.อ. สิทธิ เศวตศิลา หัวหนาพรรคกิจสังคมและรัฐมนตรีกระทรวงตางประเทศ ที่ยังมีแนวคิดอนุรักษนิยม

               และยังคงไวซึ่งแนวนโยบายการตางประเทศแบบเดิมตามที่เปนมาในสมัยรัฐบาล พล.อ. เปรม ติณสูลานนท

               (สุธาชัย ยิ้มประเสริฐ 2551, 212) ความขัดแยงคลี่คลายลงเมื่อ ม.ร.ว. คึกฤทธิ์ ปราโมช อดีตหัวหนาพรรค
               กิจสังคม ออกมาแสดงจุดยืนสนับสนุน พล.อ. ชาติชายและนโยบายดังกลาว ทําให พล.อ.อ. สิทธิปรับเปลี่ยน

               ทาทีเพื่อรักษาสัมพันธภาพอันดีในฐานะพรรครวมรัฐบาล (ศศิธร โอเจริญ, และเมธีพัชญ จงวโรทัย 2563, 151

               – 168) ในขณะที่พรรคฝายคาน ไดแก พรรครวมไทย พรรคประชาชน พรรคกิจประชาคม และพรรคกาวหนา
               ประกาศยุบรวมเปนพรรคเอกภาพ โดยมีณรงค วงศวรรณ หัวหนาพรรครวมไทยนั่งตําแหนงหัวหนาพรรค  เมื่อ

               วันที่ 19 มกราคม 2532 ทําใหพรรคเอกภาพมีจํานวน ส.ส. มากที่สุดเปนอันดับสองในสภาผูแทนราษฎร




               26  พล.อ. ชาติชายแตงตั้งตามคําสั่งนายกรัฐมนตรีที่ 84/2531 เพื่อใหการบริหารราชการแผนดินเปนไปอยางมีประสิทธิภาพ
               มากขึ้น คณะที่ปรึกษาชุดดังกลาวประกอบไปดวยนักวิชาการรุนใหมที่ไดรับการแตงตั้งอยางเปนทางการ นําโดย พันศักดิ์

               วิญญรัตน ประธานคณะที่ปรึกษา ม.ร.ว. สุขุมพันธ บริพัตร สุรเกียรติ เสถียรไทย ณรงคชัย อัครเศรณี ชวนชัย อัชนันท และ
               บวรศักดิ์ อุวรรณโณ อีกทั้งยังเชิญนักวิชาการเขารวมเปนคณะทํางาน เชน ชัยอนันต สมุทรวณิช วิษณุ เครืองาม สังศิต
               พิริยะรังสรรค เปนตน ที่ปรึกษากลุมดังกลาวมีสถานที่ทําการอยูที่บานพิษณุโลกซึ่งปกติถูกใชเปนบานพักประจําตําแหนง

               นายกรัฐมนตรี จึงเปนที่มาของชื่อ คณะที่ปรึกษาบานพิษณุโลก ทําหนาที่เสนอแนะนโยบายตาง ๆ ตอนายกรัฐมนตรีโดยตรง
               และสามารถขอขอมูลจากหนวยงานราชการมาใชประกอบการใหคําปรึกษาได
   69   70   71   72   73   74   75   76   77   78   79