Page 79 - kpi22228
P. 79

71



               เลขาธิการพรรค จึงเปนที่ทราบโดยทั่วกันวา พรรคสามัคคีธรรม พรรคชาติไทย และพรรคกิจสังคม เปนฝาย

               สนับสนุน รสช.
                       ผลการเลือกตั้งทั่วไปเมื่อวันที่ 22 มีนาคม 2535 ปรากฏวา พรรคสามัคคีธรรมชนะเลือกตั้งไดจํานวน

               ส.ส. 79 ที่นั่ง พรรคชาติไทย 74 ที่นั่ง พรรคความหวังใหม 72 ที่นั่ง พรรคประชาธิปตย 44 ที่นั่ง พรรคพลัง

               ธรรม 41 ที่นั่ง พรรคกิจสังคม 31 ที่นั่ง ประชากรไทย 7 ที่นั่ง พรรคเอกภาพ 6 ที่นั่ง พรรคราษฎร 4 ที่นั่ง
               พรรคมวลชนและพรรคปวงชนชาวไทยไดพรรคละ 1 ที่นั่ง โดยพรรคพลังธรรมของ พล.ต. จําลอง ศรีเมือง

               ไดรับชัยชนะในเขตเลือกตั้งกรุงเทพมหานครถึง 35 ที่นั่ง ขณะที่พรรคประชาธิปตยไดเพียงที่นั่งเดียวนั่นคือ

               อภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ ทั้งนี้ ในวันเดียวกันนั้นยังมีการแตงตั้ง ส.ว. ตามรัฐธรรมนูญ 270 คน ประกอบไปดวย
               ทหารและตํารวจเปนสวนใหญถึง 170 คน โดยเฉพาะทหารบกที่มีสัดสวนถึง 60 คน (สุธาชัย ยิ้มประเสริฐ

               2551, 227)

                       ภายหลังการเลือกตั้ง พรรคการเมือง 5 พรรค ไดแก พรรคสามัคคีธรรม พรรคชาติไทย พรรคกิจสังคม
               พรรคประชากรไทย และพรรคราษฎร รวบรวมเสียง ส.ส. ได 195 เสียง ประกาศสนับสนุนณรงค วงศวรรณ

               หัวหนาพรรคสามัคคีธรรมใหเปนนายกรัฐมนตรี แตประสบกับปญหาและถูกตั้งคําถามถึงคุณสมบัติ

               พล.อ. สุนทร คงสมพงษ ประธานสภารักษาความสงบแหงชาติ (สภา รสช. แปรสภาพจากคณะ รสช.
               ตามบทบัญญัติธรรมนูญการปกครองชั่วคราว) ในฐานะที่เปนผูลงนามโปรดเกลาฯ แตงตั้งนายกรัฐมนตรี

               พล.อ. สุนทรจีงตอบคําถามนักขาววา “ถาสุไมเอาก็ใหเต” ซึ่ง “สุ” หมายถึง พล.อ. สุจินดา คราประยูร สวน

               “เต” หมายถึง พล.อ. อ.เกษตร โรจนนิล (ชน บทจร 2563; บัณฑิต จันทรโรจนกิจ 2563, 155)
                       เมื่อสถานการณเปลี่ยนไป 5 พรรคการเมืองจึงไดเชิญ พล.อ. สุจินดา คราประยูร ผูบัญชาการทหาร

               สูงสุดและผูบัญชาการทหารบก มารับตําแหนงเปนนายกรัฐมนตรี โดยอางวาไดพยายามใหมีนายกรัฐมนตรี

               ที่มาจากการเลือกตั้งแลวแตไมสําเร็จ พล.อ. สุจินดาตอบรับคําเชิญ โดยอางวามีความจําเปนที่จะตอง
               “เสียสัตยเพื่อชาติ” ลาออกจากทุกตําแหนงในกองทัพเพื่อมารับหนาที่นายกรัฐมนตรี พล.อ. สุจินดาไดรับการ

               โปรดเกลาฯ แตงตั้งเปนนายกรัฐมนตรีในวันที่ 7 เมษายน 2535 ทามกลางกระแสคัดคานจากหลายฝาย

               ทั้งพรรคการเมืองฝายคาน ประชาชน และสื่อมวลชน (บัณฑิต จันทรโรจนกิจ 2563, 155; สุธาชัย ยิ้มประเสริฐ
               2551, 227)

                       ทันที่ พล.อ. สุจินดา เขารับตําแหนงนายกรัฐมนตรีก็มีเสียงเรียกรองใหลาออกทันที การประทวง

               เริ่มขึ้นเมื่อวันที่ 8 เมษายน 2535 โดย ร.ต. ฉลาด วรฉัตร อดอาหารหนารัฐสภา ตอมาเมื่อวันที่ 20 เมษายน
               พรรคฝายคาน ประกอบดวย พรรคความหวังใหม พรรคประชาธิปตย พรรคพลังธรรม และพรรคเอกภาพ

               นัดชุมนุมประทวงใหญที่ลานพระบรมรูปทรงมา
   74   75   76   77   78   79   80   81   82   83   84