Page 54 - 22688_Fulltext
P. 54

28







                       ตรงตามเจตนารมณ์ ความต้องการ และความคาดหวังที่หลากหลายของประชาชนภายในท้องถิ่น

                       นั้น ๆ จนเกิดความเป็นที่จะต้องมีการจัดตั้งองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นรูปแบบพิเศษเข้ามาด าเนินการ

                       ขับเคลื่อนภารกิจการพัฒนาและส่งมอบบริการสาธารณะดังกล่าวแทน ทั้งนี้ จากการส ารวจ

                       องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นรูปแบบพิเศษในประเทศต่าง ๆ ทางคณะผู้วิจัยพบว่า องค์กรปกครองส่วน

                       ท้องถิ่นรูปแบบพิเศษจะมีการจัดตั้งขึ้นในพื้นที่พิเศษต่าง ๆ ดังนี้



                                      (1) เขตท้องถิ่นที่เป็นเมืองหลวงของประเทศ : ด้วยลักษณะทั่วไปของการ

                       ปกครองในเขตท้องถิ่นที่เป็นเมืองหลวงของประเทศต่าง ๆ นั้นจะมีลักษณะที่พิเศษแตกต่างออกไป

                       จากการปกครองในพื้นที่อื่น ๆ ทั่วประเทศ อันเนื่องมาจากบริบทท้องถิ่นที่เป็นเมืองหลวงของประเทศ

                       ดังกล่าวจะมีความเจริญเติบโตในมิติต่าง ๆ ในระดับสูงทั้งในมิติทางเศรษฐกิจ มิติทางสังคม มิติด้าน

                       ประชากร มิติด้านวัฒนธรรม ฯลฯ จนน ามาซึ่งสภาพปัญหา ความต้องการ และความคาดหวังของ

                       ประชาชนภายในท้องถิ่นนั้น ๆ ที่แตกต่างหลากหลายกันออกไปจนส่งผลให้โครงสร้างการปกครอง

                       ท้องถิ่นรูปแบบทั่วไปไม่สามารถตอบสนองต่อสภาพปัญหา ความต้องการ และความคาดหวังดังกล่าว

                       ได้ ด้วยเหตุนี้ เขตท้องถิ่นที่เป็นเมืองหลวงของประเทศจึงต้องมีการจัดตั้งองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น

                       รูปแบบพิเศษที่มีลักษณะเฉพาะในมิติต่าง ๆ ขึ้นมาเพื่อท าหน้าที่ในการขับเคลื่อนภารกิจด้านการ


                       พัฒนาและส่งมอบบริการสาธารณะต่าง ๆ ที่มีลักษณะเฉพาะ อาทิ กรุงเทพมหานคร ซึ่งเป็นเมือง
                       หลวงของประเทศไทยที่มีการจัดตั้งองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นรูปแบบพิเศษขึ้นมาเพื่อท าหน้าที่ใน


                       การขับเคลื่อนภารกิจด้านการพัฒนาและส่งมอบบริการสาธารณะต่าง ๆ ภายในเขตกรุงเทพมหานคร

                       โดยมีโครงสร้างการบริหารงานกรุงเทพมหานครที่มีผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครมาจากการเลือกตั้ง

                       โดยตรงของประชาชนภายในพื้นที่กรุงเทพมหานครและมีสภากรุงเทพมหานครและสภาเขตทั้ง

                       50 เขต ที่มาจากการเลือกตั้งโดยตรงของประชาชนภายในท้องถิ่นนั้น ๆ เข้ามาท าหน้าที่ในทางการ

                       บริหารจัดการท้องถิ่นและทางนิติบัญญัติของกรุงเทพมหานคร โดยมีเปูาหมายเพื่อให้กรุงเทพมหานคร

                       สามารถขับเคลื่อนการบริหารจัดการท้องถิ่นได้อย่างมีประสิทธิภาพและเกิดประสิทธิผลที่สอดคล้อง

                       กับลักษณะเฉพาะของท้องถิ่นกรุงเทพมหานคร เช่นเดียวกันกับในประเทศฝรั่งเศส (นครปารีส)

                       ประเทศญี่ปุุน (กรุงโตเกียว) และประเทศเกาหลีใต้ (กรุงโซล)
   49   50   51   52   53   54   55   56   57   58   59