Page 50 - 22688_Fulltext
P. 50
24
ลักษณะพิเศษหรือลักษณะเฉพาะนั้นรัฐจะต้องปล่อยให้หน่วยงานท้องถิ่นหรืออยู่ในระดับต่ าสุดที่มี
ความสามารถเป็นผู้ด าเนินการเพื่อรักษาสิทธิของท้องถิ่นในการปกครองตนเองให้มากที่สุด
โดยที่หน่วยงานส่วนกลางหรือรัฐบาลกลางควรท าหน้าที่สนับสนุนมิใช่ลงมือท าเองไปเสียทุกเรื่อง
หากแต่หน่วยงานส่วนกลางจะด าเนินการเฉพาะงานใหญ่ ๆ ที่หน่วยระดับท้องถิ่นไม่มีศักยภาพในการ
ด าเนินการ ดังนั้น หน่วยงานส่วนกลางจึงต้องเคารพหลักการของแนวคิดเรื่องเริ่มต้นที่ท้องถิ่นและ
ให้ความเป็นอิสระแก่ท้องถิ่นอย่างเคร่งครัด
2.3 แนวคิดเรื่ององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นรูปแบบพิเศษ (Special Local Government)
สุดท้ายในส่วนของกรอบแนวคิดเรื่ององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นรูปแบบพิเศษ
(Special Local Government) ถือเป็นอีกหนึ่งกรอบแนวคิดที่มีการกล่าวถึงกันเป็นจ านวนมากใน
แวดวงนักวิชาการด้านรัฐศาสตร์ (Political Science) ของประเทศไทย นับตั้งแต่การปฏิรูปสถาบัน
ทางการเมืองผ่านการประกาศใช้รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2540 เป็นต้นมา
อันเนื่องมาจาก ความพยายามของภาคส่วนต่าง ๆ ในการผลักดันท้องถิ่นที่มีลักษณะเฉพาะหรือ
มีลักษณะพิเศษเช่นเดียวกับกรุงเทพมหานครและเมืองพัทยาให้มีการปกครองในรูปแบบพิเศษที่
เหมาะสมกับบริบทของท้องถิ่นนั้น ๆ ด้วยเหตุนี้ กรอบแนวคิดเรื่ององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น
รูปแบบพิเศษจึงมีความส าคัญต่อเปูาหมายของการวิจัยนี้ที่มุ่งเสนอแนะเสนอแนะอ านาจหน้าที่และ
สัดส่วนงบประมาณที่เหมาะสมต่อการจัดท าบริการสาธารณะเมื่อพื้นที่เกาะสมุยได้รับการยกฐานะเป็น
องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นรูปแบบพิเศษเต็มพื้นที่ อย่างไรก็ตาม เพื่อความเข้าใจที่เป็นไปในทิศทาง
เดียวกันถึงแนวคิดเรื่ององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นรูปแบบพิเศษทางคณะผู้วิจัยจะขอน าเสนอ ดังนี้
2.3.1 ความแตกต่างระหว่างองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นรูปแบบทั่วไปกับองค์กร
ปกครองส่วนท้องถิ่นรูปแบบพิเศษ
ส าหรับการออกแบบโครงสร้าง อ านาจหน้าที่ และภารกิจขององค์กรปกครองส่วน
ท้องถิ่นภายในประเทศต่าง ๆ มักมีรูปแบบที่แตกต่างหลากหลายกันออกไปตามรูปแบบการปกครอง
ของประเทศนั้น ๆ หรือเป็นไปตามแต่ลักษณะพิเศษหรือลักษณะเฉพาะของท้องถิ่นภายในประเทศ
นั้น ๆ ทั้งนี้ เมื่อพิจารณาลงไปในรายละเอียดทั่วไปจะพบว่ารูปแบบขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นใน