Page 49 - 22688_Fulltext
P. 49
23
หนึ่ง การเคารพท้องถิ่นและการให้ความส าคัญแก่การพัฒนาทรัพยากร : นับเป็น
มิติที่มีความส าคัญเป็นอย่างยิ่งในการพิจารณาก่อนการก าหนดให้หน่วยงานที่เล็กที่สุดหรือหน่วยงาน
ในระดับท้องถิ่นเป็นผู้ด าเนินการในภารกิจด้านการพัฒนาและส่งมอบบริการสาธารณะต่าง ๆ
เนื่องจากหากหน่วยงานในระดับท้องถิ่นต้องเป็นผู้แบกรับในการด าเนินภารกิจดังกล่าวแล้วนั้น
ทุกฝุายจ าต้องเคารพต่อหลักการดังกล่าว ถึงแม้ว่าจะเป็นเรื่องปกติที่จะมีฝุายที่เห็นว่าท้องถิ่นมี
สภาวะด้อยความสามารถและ/หรือด้อยประสิทธิภาพเกิดขึ้นในการด าเนินภารกิจดังกล่าว
หากแต่ ทุกฝุายยังคงต้องให้ความส าคัญกับหลักการของการเริ่มต้นที่ท้องถิ่นอย่างไม่เปลี่ยนแปลง
ด้วยเหตุนี้ทุกฝุายจึงต้องเคารพการตัดสินใจของท้องถิ่นเป็นส าคัญ และ
สุดท้าย การมีทัศนะเชื่อมั่นในความสามารถของตนเองของรัฐบาลกลาง นับถือ
เป็นอีกมิติหนึ่งที่มีความส าคัญอย่างยิ่งในการพิจารณาก่อนการก าหนดให้หน่วยงานที่เล็กที่สุดหรือ
หน่วยงานในระดับท้องถิ่นเป็นผู้ด าเนินการในภารกิจต่าง ๆ เนื่องจากหากรัฐบาลกลางมีทัศนะเชื่อมั่น
ในความสามารถของตนเองมากและมีทัศนะที่ไม่เชื่อมั่นในขีดความสามารถของท้องถิ่นหรือ
อาจมีผลประโยชน์ของรัฐบาลกลางเกี่ยวพันมากเกินไป จนไม่อาจแน่ใจได้ว่าจะสามารถแยกทัศนะ
ของความเชื่อมั่นในตนเองกับความไม่เชื่อมั่นในท้องถิ่นได้ และความคิดที่จะแสวงหาประโยชน์
ระหว่างส่วนตัวและส่วนรวมได้อย่างไร (ธเนศวร์ เจริญเมือง, 2553, น. 246-247) จะส่งผลกระทบ
โดยตรงต่อการก าหนดให้หน่วยงานที่เล็กที่สุดหรือหน่วยงานในระดับท้องถิ่นเป็นผู้ด าเนินการใน
ภารกิจต่าง ๆ ตามหลักการพื้นฐานของแนวคิดเรื่องเริ่มต้นที่ท้องถิ่น
ฉะนั้น การก าหนดให้หน่วยงานที่เล็กที่สุดหรือหน่วยงานในระดับท้องถิ่นเป็น
ผู้ด าเนินการในภารกิจด้านการพัฒนาและส่งมอบบริการสาธารณะต่าง ๆ ควรมีการประเมินขีด
ความสามารถขององค์กรในระดับท้องถิ่นในการแบกรับภารกิจทั้ง 2 มิติ คือ หนึ่ง การเคารพท้องถิ่น
และการให้ความส าคัญแก่การพัฒนาทรัพยากร เพราะ เมื่อทุกฝุายให้ความส าคัญกับหลักการของการ
เริ่มต้นที่ท้องถิ่นอย่างไม่เปลี่ยนแปลงแล้ว ทุกฝุายจึงต้องเคารพการตัดสินใจของท้องถิ่นนั้น และสอง
การมีทัศนะเชื่อมั่นในความสามารถของตนเองของรัฐบาลกลาง เนื่องจากหากรัฐบาลกลางมีทัศนะ
เชื่อมั่นในความสามารถของตนเองมากและมีทัศนะที่ไม่เชื่อมั่นในขีดความสามารถของท้องถิ่น ย่อม
ส่งผลกระทบโดยตรงต่อการก าหนดให้หน่วยงานที่เล็กที่สุดหรือหน่วยงานในระดับท้องถิ่นเป็น
ผู้ด าเนินการในภารกิจต่าง ๆ (ศุภสวัสดิ์ ชัชวาลย์, 2559, น. 55-56)
ด้วยเหตุนี้ แนวคิดเรื่องเริ่มต้นที่ท้องถิ่น (Subsidiarity) จึงนับว่าเป็นหลักการพื้นฐานที่
ส าคัญในการออกแบบข้อเสนอแนะเกี่ยวกับอ านาจหน้าที่และสัดส่วนงบประมาณที่เหมาะสมต่อการ
จัดท าบริการสาธารณะเมื่อพื้นที่เกาะสมุยได้รับการยกฐานะเป็นองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นรูปแบบ
พิเศษเต็มพื้นที่ อันเนื่องมาจาก การปกครองท้องถิ่นที่เกิดขึ้นในพื้นที่ต่าง ๆ โดยเฉพาะในพื้นที่ที่มี