Page 47 - 22688_Fulltext
P. 47

21







                                      ด้วยเหตุนี้ แนวคิดเรื่องเริ่มต้นที่ท้องถิ่นจึงมีความหมายถึงหลักการที่ว่า
                       การตัดสินใจต่าง ๆ ควรจะอยู่ในระดับต่ าสุดเท่าที่เป็นไปได้หรือระดับที่ใกล้เคียงกับกับประชาชนที่จะ

                       ได้รับผลกระทบต่าง ๆ ในท้องถิ่นมากกว่าเป็นไปในทิศทางเดียวกันทั้งประเทศ (Cambridge

                       University  Press, 2020) โดยมีจุดประสงค์เพื่อรับประกันความเป็นอิสระของผู้มีอ านาจในระดับต่ า
                       กว่าหรือในระดับท้องถิ่นกับผู้มีอ านาจในระดับสูงหรือรัฐบาลแห่งชาติเพื่อปูองกันการแทรกแซงและ

                       สามารถจัดการกับสภาพปัญหา ความต้องการ และความคาดหวังต่าง ๆ ในท้องถิ่นได้อย่างมี

                       ประสิทธิภาพ (European Parliament, 2020)


                                  2.2.2 วิวัฒนาการของแนวคิดเรื่องเริ่มต้นที่ท้องถิ่น (Subsidiarity)

                                      ส าหรับวิวัฒนาการของแนวคิดเรื่องเริ่มต้นที่ท้องถิ่น (Subsidiarity) จากการ
                       ทบทวนพบว่าแนวคิดเรื่องเริ่มต้นที่ท้องถิ่นในสมัยใหม่ได้ถูกน าไปใช้ครั้งแรกเพื่อเป็นส่วนหนึ่งของ

                       หลักการที่ส าคัญของการแก้ไขรัฐธรรมนูญของสหรัฐอเมริกาใน ค.ศ. 1791        (พ.ศ. 2334)

                       โดยมีเปูาหมายเพื่อจัดดุลความสัมพันธ์ระหว่างแต่ละมลรัฐกับรัฐบาลกลาง กล่าวคือ การจัด
                       ดุลความสัมพันธ์ดังกล่าวมีเปูาหมายเพื่อปูองกันมิให้แต่ละมลรัฐต้องสูญเสียความเป็นอิสระของตนใน

                       การบริหารจัดการท้องถิ่น ควบคู่ไปกับ ปูองกันมิให้รัฐบาลกลางมีอ านาจมากเกินไปจนอาจเกิดการ

                       ฉ้อฉลอ านาจ เฉกเช่นเดียวกับ ที่เกิดขึ้นในประวัติศาสตร์ของระบอบกษัตริย์ในยุโรปจนส่งผลให้
                       ประชาชนชาวยุโรปจ านวนมากหมดทางเลือกและต้องหลบหนีระบอบอ านาจนิยมเหล่านั้นมาแสวงหา

                       โอกาสใหม่ในดินแดนโลกใหม่ (Ollman & Birnbaum, 1990, p. 1-9. อ้างถึงใน ธเนศวร์ เจริญเมือง,

                       2553, น. 245-246) ดั่งที่มีการบัญญัติไว้ว่า
                                      “อ านาจใดรัฐธรรมนูญมิได้มอบให้รัฐบาลกลาง มิได้หวงห้ามการมอบอ านาจนั้น

                                      ให้แก่มลรัฐต่าง ๆ อ านาจนั้นจะได้รับการรักษาไว้ให้มลรัฐทั้งหลายหรือมอบให้แก่

                                      ประชาชน” (Burns, Peltason, & Cronin, 1987, p. 21-24 อ้างถึงใน ธเนศวร์
                                      เจริญเมือง, 2553, น. 244-245)

                                      ขณะเดียวกัน แนวคิดดังกล่าวยังถูกน าไปใช้เป็นหลักการส าคัญของสนธิสัญญา

                       จัดตั้งประชาคมยุโรป (Treaty  establishing  the  European  Community  : TEC) ว่าด้วยการ
                       ปกครองท้องถิ่น (European  Charter  of  Local  Self-Government) ที่สภายุโรป (Council  of

                       Europe) ได้มีการระบุหลักการนี้ลงไปในกฎบัตรยุโรปเพื่อสร้างหลักประกันในการปูองกันมิให้อ านาจ

                       กระจุกตัวอยู่ในองค์กรใดเพียงองค์กรหนึ่ง หากแต่มีความพยายามส าคัญที่จะกระจายอ านาจการ
                       ตัดสินใจให้มีหลายระดับเพื่อส่งเสริมบทบาทขององค์กรระดับล่างได้เข้ามามีโอกาสแก้ไขประเด็น

                       ปัญหาต่าง ๆ ให้สนองต่อความต้องการและความคาดหวังของประชาชนในท้องถิ่นให้มากที่สุดเท่าที่
   42   43   44   45   46   47   48   49   50   51   52