Page 42 - 22688_Fulltext
P. 42
16
ที่เสริมสร้างให้ประชาชนได้มีโอกาสเลือกตัวแทนของตนเข้าไปท าหน้าที่ตัดสินใจในการบริหารจัดการ
ท้องถิ่น ไปจนถึงการกระจายอ านาจคือการกระจายอ านาจที่หมายถึงการกระจายอ านาจทางการคลัง
(Fiscal Decentralization) ที่จะท าให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นมีความเป็นอิสระในการบริหาร
จัดการทางด้านการคลังของตนเองได้มากขึ้นและก่อให้เกิดการปกครองตนเอง (Local Self-
Government) ภายในท้องถิ่นได้จริงในทางปฏิบัติ (ศุภสวัสดิ์ ชัชวาลย์, 2555, น. 9-12)
2.1.4 เงื่อนไขและสาเหตุของการกระจายอ านาจ
องค์ประกอบที่ส าคัญอีกประการหนึ่งที่ผู้ศึกษาแนวคิดเรื่องการกระจายอ านาจ
จะต้องพิจารณาและท าความเข้าใจก่อนการศึกษาและออกแบบการปกครองท้องถิ่นนั้น คือ
ผู้ศึกษาจะต้องรับรู้และเข้าใจถึงเงื่อนไขและสาเหตุของการกระจายอ านาจ โดยจากการศึกษา
เปรียบเทียบประสบการณ์ในการกระจายอ านาจในหลายประเทศของ Pranab Bardhan และ
Dilip Mookherjee พบว่า นอกเหนือไปจากบริบทแวดล้อมร่วมกันของการเมืองโลกที่เปลี่ยนแปลงไป
จนส่งผลท าให้หลายประเทศต้องมุ่งกระจายอ านาจสู่ท้องถิ่นแล้วนั้น หากพิจารณาลงไปใน
รายละเอียดที่เป็นสาเหตุแท้จริงหรือเงื่อนไขเฉพาะของการกระจายอ านาจภายในประเทศนั้น ๆ ที่
ผลักดันให้รัฐบาลของแต่ละประเทศต้องกระจายอ านาจให้แก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นอาจมีเหตุผล
และปัจจัยต่าง ๆ อย่างน้อย 4 ปัจจัย ดังนี้
หนึ่ง แรงกดดันทางการเมือง (Political Pressure)” ถือเป็นปัจจัยที่ส าคัญ
ที่ผลักดันให้เกิดการกระจายอ านาจขึ้นในหลายประเทศ โดยจากการศึกษาของ Pranab Bardhan
และ Dilip Mookherjee ชี้ให้เห็นว่ามีความเป็นไปได้ว่าในหลายประเทศนั้น กระบวนการกระจาย
อ านาจได้เริ่มต้นขึ้นเพราะพรรคการเมืองหรือนักการเมืองในระดับชาติ ซึ่งเคยมีอ านาจผูกขาดมาอย่าง
ยาวนานได้รับแรงกดดันจากภาคส่วนต่าง ๆ ในสังคมผลักดันให้มีการกระจายอ านาจ เช่น อาจถูก
พรรคการเมืองในระดับท้องถิ่นเรียกร้องหรืออาจเป็นแรงเรียกร้องมาจากภาคประชาชนเองโดยตรง
สอง แรงกดดันหรือวิกฤตจากภายนอก (External Shocks or Crises) นับเป็น
ปัจจัยที่ส าคัญอีกประการที่ผลักดันให้เกิดการกระจายอ านาจในหลายประเทศ โดย Pranab Bardhan
และ Dilip Mookherjee ชี้ให้เห็นว่าแรงกดดันหรือวิกฤตจากภายนอกที่เข้ามากดดันจนส่งผลให้รัฐ
จ าต้องมีการด าเนินการกระจายอ านาจให้กับท้องถิ่น โดยแรงกดดันจากภายนอกหมายรวมถึงการที่
องค์การระหว่างประเทศที่อาจเข้าไปสนับสนุนทางด้านการเงินแก่ประเทศต่าง ๆ และได้มีการ
ก าหนดให้มีการกระจายอ านาจภายในประเทศนั้น ๆ เป็นเงื่อนไขหรือค าแนะน าขององค์กรให้ความ
ช่วยเหลือเหล่านั้น
สาม อุดมการณ์ (Ideology) ส าหรับปัจจัยนี้ Pranab Bardhan และ
Dilip Mookherjee ชี้ให้เห็นว่าปรากฏการณ์ของการกระจายอ านาจในบางประเทศ อาจเป็นผลมา