Page 37 - 22688_Fulltext
P. 37
11
ปกครองของไทยภายใต้บริบทรัฐชาติสมัยใหม่นั้นยังคงเป็นไปอย่างสับสน (โภคิน พลกุล, 2528,
น. 4, 7; อิสสระ นิติทัณฑ์ประภาศ, 2533 อ้างถึงใน นครินทร์ เมฆไตรรัตน์, 2553)
ดังที่ จรัส สุวรรณมาลา นักวิชาการด้านรัฐศาสตร์ได้ตั้งข้อสังเกตไว้ว่า
Decentralization ถือเป็นแนวคิดของตะวันตกที่นักวิชาการชาวไทยได้หยิบยืมมาใช้อธิบาย
สภาวะทางการเมืองและการบริหารการปกครองในประเทศไทย จนได้มีการแปลออกมาเป็นภาษาไทย
ว่า “การกระจายอ านาจ” โดยผู้คนส่วนใหญ่มักตีความค าว่า “อ านาจ” ในค าว่าการกระจายอ านาจ
นั้นหมายถึง “อ านาจอธิปไตย” ซึ่งมักจะกล่าวและให้นิยามไว้ว่าเป็นอ านาจที่ไม่สามารถแบ่งแยกได้
หรือถ้าตีความตามแบบนักสังคมวิทยาที่มองอ านาจว่าเป็นสภาวะที่บุคคลหรือองค์กรใดองค์กรหนึ่งมี
อิทธิพล (Influence) เหนือความคิดหรือพฤติกรรมของบุคคลหรือองค์กรอื่น ๆ โดยไม่สามารถ
แบ่งปันหรือกระจายอ านาจไปให้ใครได้
เช่นนี้ ได้ก่อให้เกิดความสับสนในความหมายของการกระจายอ านาจ
แต่เมื่อย้อนกลับไปพิจารณาถึงความหมายดั้งเดิมของค าว่าการกระจายอ านาจดังกล่าวนั้นกลับมิได้
มุ่งเน้นเรื่องอ านาจ (Power) หากแต่เป็นเรื่องของ “สภาวะศูนย์กลาง (Central) ” และ
“สภาวะกระจายอ านาจ (Decentral)” เป็นส าคัญ โดยมีเพียงในเรื่องของอ านาจที่หมายถึง
“อ านาจการตัดสินใจ” ในการบริการจัดการและด าเนินกิจกรรมต่าง ๆ เข้ามาเกี่ยวข้องเท่านั้น
ด้วยเหตุนี้ ค าว่า Decentralization หรือการกระจายอ านาจในมุมมองของ
จรัส สุวรรณมาลา จึงหมายถึง การกระจายอ านาจในการตัดสินใจมิใช่การแบ่งอ านาจอธิปไตยของ
รัฐชาติ กล่าวคือ การกระจายอ านาจสู่ภูมิภาคและท้องถิ่นในความหมายของการกระจายอ านาจนั้น
มิใช่การสร้างอธิปไตย หากแต่เป็นการให้ (การยอมรับ) สิทธิในการปกครองตนเองของชุมชน ท้องถิ่น
และภูมิภาคภายใต้อธิปไตยของรัฐชาติหนึ่ง ๆ ร่วมกันเท่านั้น (จรัส สุวรรณมาลา, 2538, น. 9-10
อ้างถึงใน สุทธิเกียรติ อังกาบูรณะ, 256..., น. 12) การพิจารณาความหมายของการกระจายอ านาจใน
มิติดังกล่าวได้ท าให้เห็นว่าการกระจายอ านาจได้กลายเป็นเรื่องของ “สภาวะ” บางอย่างที่ใช้อธิบาย
ถึงลักษณะของการกระจายตัวหรือการจัดสรรหรือการแบ่งปันอ านาจรัฐในทางที่หมายถึงอ านาจใน
การตัดสินใจในการด าเนินกิจการสาธารณะต่าง ๆ ภายในท้องถิ่น
ดังนั้น การกระจายอ านาจจึงมีลักษณะตามที่ Samuel Humes IV (Humes,
1991, 3 อ้างถึงใน นครินทร์ เมฆไตรรัตน์, 2553) เสนอไว้ว่า การกระจายอ านาจควรจะเป็น
เรื่องของ “การจัดสรรแบ่งปันอ านาจ (Distribution of Power)” กล่าวคือ เมื่อเราพูดถึง