Page 38 - 22688_Fulltext
P. 38

12







                       การกระจายอ านาจภายใต้บริบทของการบริหารการปกครองในพื้นที่ที่เรียกว่าท้องถิ่น

                       (Local Governance) ดังกล่าวมันควรจะเป็นเรื่องของการจัดสรรหรือแบ่งปันอ านาจ (Distribution)

                       มิใช่การแบ่งแยกอ านาจ (Division) กล่าวคือ แม้ค าว่าการแบ่งแยกอ านาจจะมีการน าไปใช้ในการ

                       อธิบายแนวคิดในเรื่องการกระจายตัวของอ านาจทางการบริหารปกครองไปสู่ท้องถิ่นก็ตาม แต่โดย

                       ลักษณะทางประวัติศาสตร์แล้วค าดังกล่าวแล้วมักจะมีการตีความจนน าไปสู่ความสับสนหรือปะปนกับ

                       การใช้ในแนวคิดเรื่อง รัฐธรรมนูญกับการแบ่งแยกอ านาจ (Constitutional  Division  of  Power

                       Between Nation and State) ขณะที่ค าว่าการจัดสรรอ านาจหรือการแบ่งปันอ านาจ ดูจะมีความ

                       สอดรับและอยู่ในกระบวนทัศน์ของแนวคิดต่าง ๆ ในเรื่องของการกระจายอ านาจจากส่วนกลางไปสู่

                       ท้องถิ่นมากกว่า เฉกเช่นแนวคิดเรื่อง (De) Centralization,  (De) Concentration,  Devolution

                       และ Delegation (นครินทร์ เมฆไตรรัตน์, 2553)



                                  2.1.2 วิวัฒนาการของแนวคิดเรื่องการกระจายอ านาจ

                                      การสิ้นสุดลงของสงครามโลกครั้งที่ 2 ถือเป็นจุดเริ่มต้นส าคัญส าหรับการศึกษา

                       วิชาทางด้านรัฐศาสตร์ (Political  Science) โดยเฉพาะอย่างยิ่ง แนวคิดเรื่องการกระจายอ านาจ

                       (Decentralization) ที่เริ่มได้รับความสนใจและมีการศึกษาที่กว้างขวางมากขึ้นในฐานะหลักการที่
                       ส าคัญที่เกื้อหนุนต่อการปกครองในระบอบประชาธิปไตย (Democracy) และการส่งเสริมให้

                       รัฐสามารถจัดท าบริการสาธารณะให้มีความเหมาะสมและสอดคล้องต่อความต้องการของประชาชน

                       ในแต่ละท้องถิ่น หากพิจารณาลงไปในรายละเอียดแล้วนั้นยังพบว่าวิวัฒนาการทางแนวคิดเรื่องการ
                       กระจายอ านาจที่ด าเนินมาตลอดช่วงระยะเวลากว่าครึ่งศตวรรษที่ผ่านมานั้นยังคงมีความหลากหลาย

                       และมีความหมายของการกระจายอ านาจที่แตกต่างกันออกไป จนอาจกล่าวได้ว่าแนวคิดเรื่องการ

                       กระจายอ านาจนั้นมีรูปแบบที่เปลี่ยนแปลงไปอยู่ตลอดเวลา โดย G. Shabbir Cheema และ Dennis
                       A. Rondinelli ได้พยายามแบ่งวิวัฒนาการของแนวคิดเรื่องการกระจายอ านาจออกเป็น 3  ช่วงเวลา

                       ส าคัญ (Cheema  &  Rondinelli,  2007,  p. 1-4 อ้างถึงใน ศุภสวัสดิ์ ชัชวาลย์,  2555,  น. 8-9)

                       กล่าวคือ
                                      วิวัฒนาการของการกระจายอ านาจในช่วงแรก เป็นวิวัฒนาการที่เริ่มต้นขึ้น

                       ภายหลังสงครามโลกครั้งที่ 2  นับตั้งแต่ทศวรรษ 1970  จนถึงทศวรรษ 1980 โดยวิวัฒนาการของ

                       แนวคิดเรื่องการกระจายอ านาจในยุคนี้มีจุดเน้นส าคัญอยู่ที่ “การแบ่งอ านาจ (Deconcentration)”
                       หรือ “การกระจายอ านาจภายในระบบราชการ” ที่ราชการส่วนกลางมักจะเริ่มพิจารณาเพื่อแบ่งหรือ

                       มอบอ านาจบางส่วนของตนให้แก่ตัวแทนของราชการส่วนกลางที่ปฏิบัติงานอยู่ในพื้นที่ ทั้งนี้เพื่อให้
   33   34   35   36   37   38   39   40   41   42   43