Page 41 - 22688_Fulltext
P. 41

15







                                      สอง การกระจายอ านาจคือการมอบหมายอ านาจหน้าที่ให้ด าเนินการแทน
                       (Delegation) หมายถึง การที่รัฐมอบอ านาจการตัดสินใจและบริหารจัดการด้านใดด้านหนึ่งหรือ

                       หลายด้าน ให้กับองค์กรที่รัฐมีการจัดตั้งขึ้นที่มิได้เป็นองค์กรในส่วนราชการ อาทิ องค์การมหาชน

                       องค์กรอิสระต่าง ๆ บรรษัทของรัฐหรือท้องถิ่น การแปรรูปกิจการของรัฐให้เป็นของเอกชน การจ้าง
                       เหมาบริการ และการท างานร่วมกันระหว่างรัฐและองค์กรอาสาสมัคร ซึ่งการกระจายอ านาจใน

                       รูปแบบนี้เป็นการกระจายอ านาจเพื่อเสริมสร้างความคล่องตัวในการบริหารจัดการ เนื่องจากองค์กร

                       เหล่านี้ไม่ต้องถูกผูกยึดติดอยู่กับระเบียบปฏิบัติราชการ อันจะช่วยให้การท างานหรือการให้บริการแก่
                       ประชาชนมีความคล่องตัวและรวดเร็วมากยิ่งขึ้น

                                      สาม การกระจายอ านาจคือการถ่ายโอนอ านาจ (Devolution) หมายถึง

                       การกระจายอ านาจในทางการเมืองให้แก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นที่มีผู้บริหารมาจากการเลือกตั้ง
                       ของประชาชน การถ่ายโอนอ านาจนั้นจะส่งผลให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นมีความเป็นอิสระในการ

                       บริหารจัดการท้องถิ่น โดยที่ราชการบริหารส่วนกลางหรือส่วนภูมิภาคไม่สามารถเข้ามาควบคุมหรือ

                       ครอบง าได้โดยตรง ซึ่งความมีอิสระขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นเช่นนี้ ส่งผลให้ตัวแทนของ
                       ประชาชนที่ท าหน้าที่ในการบริหารจัดการท้องถิ่น ๆ สามารถตัดสินใจด าเนินการใด ๆ ได้อย่างเป็น

                       อิสระตามความเหมาะสมในการตอบสนองต่อความต้องการและความคาดหวังของประชาชนใน

                       ท้องถิ่น โดยการกระจานอ านาจในรูปแบบนี้นั้นถือเป็นรูปแบบที่มีบทบาทมากที่สุดส าหรับการ
                       ปกครองท้องถิ่นของประเทศไทยในปัจจุบัน และ

                                      สุดท้าย การกระจายอ านาจคือการกระจายอ านาจทางการคลัง (Fiscal

                       Decentralization) หมายถึง การถ่ายโอนงบประมาณและอ านาจในการบริหารจัดการงบประมาณ
                       จากราชการบริหารส่วนกลางลงมาสู่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น โดยมีเปูาหมายเพื่อให้องค์กร

                       ปกครองส่วนท้องถิ่นเกิดความเป็นอิสระในการบริหารจัดการทางด้านการคลังของตนเอง ซึ่งการ

                       กระจายอ านาจในรูปแบบนี้มีส่วนส าคัญในการสนับสนุนให้การถ่ายโอนอ านาจไปสู่การปกครองตนเอง
                       (Local Self-Government) ภายในท้องถิ่นได้จริงในทางปฏิบัติ

                                      จากความหมายและรูปแบบของการกระจายอ านาจที่แตกต่างกันตามที่คณะผู้วิจัย

                       ได้กล่าวไปแล้ว ณ ข้างต้น ยังได้ส่งผลให้การกระจายอ านาจที่เกิดขึ้นเกิดผลลัพธ์ในการตอบสนองต่อ
                       ความต้องการและความคาดหวังของประชาชนภายในท้องถิ่นที่แตกต่างกันออกไปด้วย ตั้งแต่

                       การกระจายอ านาจคือการแบ่งอ านาจ (Deconcentration) ซึ่งเป็นการกระจายอ านาจภายในกลไก

                       ระบบราชการด้วยกันเอง จนส่งผลให้ประชาชนภายในท้องถิ่นไม่ได้เข้าไปมีส่วนร่วมกับการกระจาย
                       อ านาจในลักษณะนี้มากนัก ถัดมาการกระจายอ านาจคือการมอบอ านาจให้แก่องค์การมหาชนหรือ

                       การแปรรูปสู่เอกชน (Delegation) เพื่อเสริมสร้างให้เกิดการบริหารจัดการที่มีความคล่องตัวและไม่
                       ต้องถูกจ ากัดโดยระเบียบปฏิบัติราชการ สู่การกระจายอ านาจคือการถ่ายโอนอ านาจ (Devolution)
   36   37   38   39   40   41   42   43   44   45   46