Page 46 - 22688_Fulltext
P. 46

20







                                  2.2.1 ความหมายของแนวคิดเรื่องเริ่มต้นที่ท้องถิ่น (Subsidiarity)
                                      แม้ว่าที่ผ่านมาจะมีนักวิชาการทั้งชาวไทยและชาวต่างชาติจะมีการอธิบายถึง

                       ความหมายของแนวคิดเรื่องเริ่มต้นที่ท้องถิ่น (Subsidiarity) ที่มีความแตกต่างกันออกไป แต่โดย

                       หลักการแล้วแนวคิดเรื่องเริ่มต้นที่ท้องถิ่นถือเป็นแนวคิดที่เกี่ยวข้องกับการจัดโครงสร้างในเชิงองค์กร
                       และในเชิงอ านาจการตัดสินใจที่มุ่งให้ความส าคัญกับหน่วยย่อยที่สุดที่มีความใกล้ชิดกับประชาชน

                       ซึ่งคือ “ท้องถิ่น” เป็นพื้นฐานของการจัดโครงสร้างเชิงองค์กรและอ านาจการตัดสินใจ

                                      โดยแนวคิดเรื่องเริ่มต้นที่ท้องถิ่นหรือ “Subsidiarity” นั้นเป็นค าที่มาจากภาษา
                       ละตินคือค าว่า Subsidiarius ซึ่งมีต้นก าเนิดมาจากค าสอนในคริสต์ศาสนานิกายคาทอลิก (Catholic

                       Social  Teaching) ที่เล็งเห็นว่ารัฐควรมีหน้าที่ในการให้บริหารกิจการที่ประชาชนและองค์กรต่าง ๆ

                       ในรัฐไม่มีศักยภาพในการด าเนินการเท่านั้นบนพื้นฐานความเชื่อที่ว่ามนุษย์ทุกคนล้วนมีความเป็น
                       อิสระและมีศักดิ์ศรีเป็นของตนเอง ขณะเดียวกัน ยังเล็งเห็นว่าสถาบันใด ๆ ที่เกิดขึ้นนอกเหนือตัว

                       บุคคลไม่ว่าจะเป็นครอบครัว ชุมชน องค์กร รัฐ และองค์การระหว่างประเทศล้วนเป็นสถาบันที่จัดตั้ง

                       ขึ้นมาเพื่อตอบสนองต่อผลประโยชน์ต่อมนุษย์ทุกคนที่เป็นสัตว์สังคม ดังนั้น องค์กรขนาดเล็กที่อยู่
                       ใกล้ชิดกับมนุษย์ ได้แก่ ครอบครัว วัด/โบสถ์ ชุมชน โรงเรียน สมาคม องค์กรอาสาสมัคร ฯลฯ ซึ่งท า

                       หน้าที่ในการเชื่อมโยงมนุษย์แต่ละคนเข้ากับองค์กรต่าง ๆ จึงมีความส าคัญอย่างยิ่งต่อวิถีชีวิตของ

                       มนุษย์
                                      จากหลักการพื้นฐานของแนวคิดเรื่องเริ่มต้นที่ท้องถิ่นซึ่งให้ความส าคัญกับคุณค่า

                       ของมนุษย์และองค์กรขนาดเล็กที่ท าหน้าที่เชื่อมโยงมนุษย์แต่ละคนเข้ากับองค์กรต่าง ๆ ได้ท าให้

                       แนวคิดเรื่องเริ่มต้นที่ท้องถิ่นพัฒนาก้าวไปสู่การเป็น “Positive  Subsidiarity” หรือ “แนวคิดเรื่อง
                       เริ่มต้นที่ท้องถิ่นเชิงบวก” เพื่อเป็นมาตรฐานทางศีลธรรม (Ethical  Imperative) ให้กับชุมชน

                       สถาบัน หรือรัฐบาล ที่จะต้องสร้างสภาพแวดล้อมและเงื่อนไขทางสังคมที่จ าเป็นในการพัฒนา

                       ศักยภาพของมนุษย์ อาทิ การให้มนุษย์มีสิทธิ์ที่จะท างาน การให้มนุษย์มีบ้านเรือนที่ดี มีสุขภาพ
                       พลานามัยที่ดี ฯลฯ (Wikipedia, 2020 อ้างถึงใน ธเนศวร์ เจริญเมือง, 2553, น. 241-242)

                                      ดังนั้น แนวคิดเรื่องเริ่มต้นที่ท้องถิ่นจึงมีความพยายามที่ส าคัญในการชี้ให้เห็นใน

                       เรื่องการแบ่งสรรอ านาจหน้าที่ที่ถูกต้องในสังคม โดยชี้ให้เห็นถึงผลเสียของการจ ากัดอ านาจหน้าที่ไว้
                       ณ จุดใดจุดหนึ่งหรือระดับใดระดับหนึ่ง โดยไม่ยอมพิจารณาความแตกต่างระหว่างพื้นที่ ลักษณะ และ

                       ข้อจ ากัดของพื้นที่ในแต่ละระดับหรือแต่ละฝุายที่แบกรับอ านาจหน้าที่ดังกล่าวไว้เพียงผู้เดียว จนต้อง

                       ประสบกับสภาพปัญหาต่าง ๆ หลากหลายประการ ขณะที่ฝุายที่ไม่มีอ านาจหน้าที่ใด ๆ กลับต้องแบก
                       รับสภาพปัญหาอีกอย่างหนึ่ง จนอาจส่งผลให้เกิดขาดความสมดุลในการพัฒนาที่จะน าไปสู่ปัญหา

                       ต่าง ๆ ในสังคมอย่างต่อเนื่องตราบเท่าที่ความสมดุลในการแบ่งสรรอ านาจและหน้าที่ยังไม่เกิดขึ้น
                       (ธเนศวร์ เจริญเมือง, 2553, น. 242-243)
   41   42   43   44   45   46   47   48   49   50   51