Page 43 - 22688_Fulltext
P. 43

17







                       จากการที่กลุ่มนักการเมืองหรือพรรคการเมืองใหม่ ๆ อาจมีแนวคิดหรืออุดมการณ์ทางการเมืองที่
                       แตกต่างไปจากกลุ่มหรือพรรคการเมืองเดิมที่อยู่ในอ านาจ โดยกลุ่มหรือพรรคการเมืองใหม่อาจ

                       แปรอุดมการณ์ทางการเมืองเหล่านั้นให้กลายเป็นนโยบายด้านการกระจายอ านาจให้กับท้องถิ่น และ

                       เมื่อพรรคการเมืองนั้นชนะการเลือกตั้งและได้จัดตั้งรับบาลแทนที่พรรคการเมืองเดิม ก็จะน าไปสู่การ
                       เริ่มต้นกระบวนการกระจายอ านาจ และ

                                      สุดท้าย วาระซ่อนเร้นอื่น ๆ (Other  Hidden  Agendas) นอกเหนือจากปัจจัยที่

                       ได้กล่าวมาข้างต้น การกระจายอ านาจที่เกิดขึ้นในบางประเทศก็มิได้มีเหตุผลตามที่ได้กล่าวมาข้างต้น
                       กล่าวคือ ในบางประเทศรัฐบาลกลางอาจต้องการที่จะลดภาระทางด้านงบประมาณของตนเอง

                       จึงมีการผลักดันให้มีการกระจายอ านาจสู่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น โดยเฉพาะอย่างยิ่ง การถ่ายโอน

                       ภารกิจที่ต้องอาศัยงบประมาณมาก ๆ เช่น ภารกิจด้านสังคมที่จะต้องใช้งบประมาณจ านวนมากใน
                       การบริหารจัดการให้แก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น เป็นต้น (Bardhan  &  Mookherjee,  2006,

                       p. 14-15 อ้างถึงใน ศุภสวัสดิ์ ชัชวาลย์, 2555, น. 12-14)


                                  2.1.5 การประเมินผลลัพธ์ของการกระจายอ านาจ

                                      ภายหลังจากการที่ประเทศต่าง ๆ ได้มีการด าเนินการกระจายอ านาจให้กับหน่วย

                       การปกครองท้องถิ่นไปแล้วนั้น สิ่งส าคัญประการหนึ่งที่ผู้ศึกษาแนวคิดเรื่องการกระจายอ านาจจะต้อง
                       พิจารณาอย่างละเอียด คือ การกระจายอ านาจที่เกิดขึ้นดังกล่าวมีความเหมาะสมและสอดคล้องกับ

                       บริบทของการบริหารจัดการท้องถิ่นเพื่อตอบสนองต่อความต้องการและความคาดหวังของประชาชน

                       ภายในท้องถิ่นหรือไม่ เฉกเช่นเดียวกับ เกาะสมุยที่การกระจายอ านาจที่เกิดขึ้นยังไม่สามารถ
                       ตอบสนองต่อการบริหารจัดการและแก้ไขปัญหาต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นภายในท้องถิ่นเพื่อตอบสนองต่อ

                       เจตนารมณ์ ความต้องการ และความคาดหวังที่หลากหลายของประชาชนภายในท้องถิ่นนั้น ๆ จน

                       น ามาสู่การวิจัยในครั้งนี้ของคณะผู้วิจัยที่มุ่งส ารวจภารกิจและงบประมาณของส่วนราชการในพื้นที่
                       เกาะสมุยเพื่อเตรียมข้อมูลสนับสนุนส าหรับการพัฒนาพื้นที่เกาะสมุยเป็นองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น

                       รูปแบบพิเศษ อย่างไรก็ตาม หากต้องการพิจารณาว่าการกระจายอ านาจที่เกิดขึ้นเป็นไปอย่างมี

                       ประสิทธิภาพและเกิดประสิทธิผลอย่างเป็นรูปธรรมในการตอบสนองต่อเจตตนารมณ์ ความต้องการ
                       และความคาดหวังของประชาชนภายในท้องถิ่นนั้น ๆ หรือไม่ นักวิชาการอย่าง  Pranab  Bardhan

                       และ Dilip Mookherjee ได้เสนอกรอบในการวิเคราะห์และประเมินผลลัพธ์ของการกระจายอ านาจที่

                       เกิดขึ้น โดยสามารถพิจารณาได้จากมิติต่าง ๆ ดังนี้
                                      หนึ่ง มิติด้านผลกระทบและความเปลี่ยนแปลงภายในท้องถิ่นและชุมชน :

                       Pranab Bardhan และ Dilip Mookherjee ได้เสนอถึงการประเมินผลลัพธ์ของการกระจายอ านาจที่
                       เกิดขึ้นในมิติดังกล่าวต้องศึกษาถึงผลกระทบหรือความเปลี่ยนแปลงต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นภายในชุมชนผ่าน
   38   39   40   41   42   43   44   45   46   47   48