Page 44 - 22688_Fulltext
P. 44
18
การพิจารณาว่าประชาชนภายในท้องถิ่นแต่ละกลุ่ม โดยเฉพาะอย่างยิ่ง กลุ่มต่าง ๆ ในท้องถิ่นที่มี
ฐานะยากจนหรือเป็นกลุ่มที่ด้อยโอกาสสามารถแสดงออกซึ่งความต้องการ ความคาดหวัง หรือ
มีช่องทางในการแสดงออกได้อย่างอิสระหรือไม่ นอกจากนั้น ยังต้องพิจารณาด้วยว่าการกระจาย
อ านาจดังกล่าวได้น ามาซึ่งการจัดสรรทรัพยากรระหว่างกลุ่มต่าง ๆ ภายในท้องถิ่นกับชุมชนอย่างเป็น
ธรรมหรือไม่
สอง มิติด้านเนื้อหาและความเข้าใจ : ถือเป็นประเด็นที่ Pranab Bardhan และ
Dilip Mookherjee ได้ให้ความส าคัญอย่างยิ่งต่อการประเมินผลลัพธ์ของการกระจายอ านาจ
อันเนื่องมาจากโดยพื้นฐานแล้วการกระจายอ านาจควรน ามาซึ่งประชาธิปไตยในระดับท้องถิ่น ดังนั้น
การกระจายอ านาจจะต้องส่งผลให้ประชาชนภายในท้องถิ่นได้เข้ามามีส่วนร่วมและบทบาทในทาง
การเมืองอย่างกว้างขวาง ยิ่งไปกว่านั้น การกระจายอ านาจที่เกิดขึ้นยังต้องท าให้ประชาชนภายใน
ท้องถิ่นเกิดความรู้สึกตระหนักในบทบาทของตนในการปกครองท้องถิ่น และท าให้พวกเขามีความ
ปรารถนาที่จะเข้ามามีส่วนร่วมในการปกครองท้องถิ่นโดยสมัครใจ ซึ่งบทบาทการมีส่วนร่วมของ
ประชาชนภายในท้องถิ่นครอบคลุมไปถึงองค์กรภาคประชาสังคมอื่น ๆ ในระดับท้องถิ่นด้วย และ
สุดท้าย มิติด้านการออกแบบการกระจายอ านาจ : นับเป็นอีกหนึ่งมิติส าคัญของ
การประเมินผลลัพธ์ของการกระจายอ านาจ โดย Pranab Bardhan และ Dilip Mookherjee พบว่า
การประเมินผลลัพธ์ของการกระจายอ านาจยังต้องให้ความส าคัญกับการออกแบบแนวทางหรือ
กระบวนการกระจายอ านาจอีกด้วย โดยการประเมินดังกล่าวต้องพิจารณาองค์ประกอบต่าง ๆ
ได้แก่ รัฐธรรมนูญของประเทศนั้น ๆ ว่ามีบทบัญญัติที่เกี่ยวข้องและเอื้อให้เกิดการกระจายอ านาจมาก
น้อยเพียงใด รวมทั้งกระบวนการเลือกตั้งที่ต้องพิจารณาว่าประเทศนั้น ๆ ก าหนดให้มีกระบวนการ
เลือกตั้งในระดับท้องถิ่นทั้งการเลือกตั้งสภาท้องถิ่นและการเลือกตั้งผู้บริหารท้องถิ่นหรือไม่อย่างไร
ตลอดจนยังต้องพิจารณาถึงการถ่ายโอนภารกิจและอ านาจทางการคลังที่ครอบคลุมไปถึงการถ่ายโอน
งบประมาณและอ านาจในการจัดการงบประมาณให้กับองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นมากน้อยเพียงใด
ไปจนถึงพิจารณาว่าบุคลากรในท้องถิ่นมีอ านาจในการตัดสินใจที่จะด าเนินการในเรื่องต่าง ๆ
จริงหรือไม่ รวมไปถึงมีระบบการเผยแพร่ข้อมูลข่าวสารและการติดตามผลการกระจายอ านาจที่
ประชาชนภายในท้องถิ่นและภาคส่วนต่าง ๆ สามารถรับรู้และรับทราบการด าเนินกิจกรรมต่าง ๆ
ขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น (Bardhan & Mookherjee, 2006, p. 10-14 อ้างถึงใน ศุภสวัสดิ์
ชัชวาลย์, 2555, น. 17-18)
ด้วยเหตุนี้ แนวคิดเรื่องการกระจายอ านาจ (Decentralization of Power) ที่มุ่ง
ถ่ายโอนอ านาจให้แก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นซึ่งมีผู้บริหารมาจากการเลือกตั้งของประชาชนภายใน
ท้องถิ่นได้มีความเป็นอิสระสามารถตัดสินใจด าเนินการใด ๆ ได้ตามความเหมาะสมในการตอบสนอง
ต่อความต้องการและความคาดหวังของประชาชนในท้องถิ่น โดยที่ราชการบริหารส่วนกลางหรือส่วน