Page 39 - 22688_Fulltext
P. 39

13







                       การบริหารราชการแผ่นดินและการให้บริการแก่ประชาชนมีความรวดเร็วและคล่องตัวมากขึ้น โดย
                       วิวัฒนาการทางความคิดเกี่ยวกับการกระจายอ านาจในช่วงนี้ ยังเป็นรูปแบบที่มิได้เน้นไปที่การถ่าย

                       โอนอ านาจแก่ตัวแทนประชาชนที่มาจากการเลือกตั้งมากนัก ซึ่งวิวัฒนาการในช่วงนี้ถือเป็นก้าวแรก

                       ของแนวคิดเรื่องการกระจายอ านาจ
                                      ต่อมาวิวัฒนาการของการกระจายอ านาจในช่วงที่สอง เป็นวิวัฒนาการที่เริ่มต้น

                       ขึ้นในช่วงกลางทศวรรษ 1980 เป็นต้นมา จนถึงช่วงกลางทศวรรษ 1990 วิวัฒนาการของแนวคิดเรื่อง

                       การกระจายอ านาจในยุคที่สองนี้ได้เริ่มให้ความส าคัญกับปัจจัยทางด้านการเมือง ตลอดจนการพัฒนา
                       ไปสู่ความเป็นประชาธิปไตย (Democratization) และระบบตลาดเสรี (Market  Liberalization)

                       มากยิ่งขึ้น โดยอิทธิพลทางความคิดดังกล่าวได้ส่งผลให้เริ่มเกิดการเปลี่ยนแปลงบทบาทขององค์กร

                       ปกครองส่วนท้องถิ่นในหลายประเทศไปในทิศทางที่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นเริ่มมีอ านาจและ
                       ภารกิจไปในทิศทางที่กว้างขวางกว่าในอดีตที่เป็นมา นอกจากนี้แล้ว แนวคิดเรื่องการกระจายอ านาจ

                       ในช่วงนี้จะมีจุดเน้นไปที่หลักการ “ถ่ายโอนอ านาจ (Devolution)” ในการจัดท าบริการสาธารณะ

                       และการใช้ทรัพยากรให้แก่ตัวแทนของท้องถิ่นมากยิ่งขึ้น นอกจากนี้ วิวัฒนาการที่ส าคัญของแนวคิด
                       เรื่องการกระจายอ านาจในยุคที่สอง ส่งผลให้ในหลายประเทศบทบาทของรัฐและองค์กรปกครองส่วน

                       ท้องถิ่นได้เริ่มเปลี่ยนแปลงไปโดยอาจมีบทบาทลดลง แล้วเปิดโอกาสให้ภาคเอกชน (Private Sector)

                       ได้เข้ามามีบทบาทที่ส าคัญต่อการจัดท าบริการสาธารณะมากยิ่งขึ้น สภาวการณ์ดังกล่าวนั้นเป็นผลสืบ
                       เนื่องมาจากอิทธิพลของระบบตลาดแบบเสรี และ

                                      วิวัฒนาการของการกระจายอ านาจในช่วงปัจจุบัน เป็นวิวัฒนาการที่เริ่มต้นขึ้น

                       ในช่วงกลางของทศวรรษ 1990 เป็นต้นมา ในยุคนี้การกระจายอ านาจได้มุ่งให้ความส าคัญกับบทบาท
                       ของการมีส่วนร่วมของประชาชนผ่านทางองค์กรภาคประชาสังคมในกระบวนการบริหารและ

                       การตัดสินใจขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นเพิ่มมากขึ้น โดยมีเปูาหมายว่าองค์กรปกครองส่วน

                       ท้องถิ่นที่ดีและยึดหลักการกระจายอ านาจนั้น มิได้หมายความถึงแต่เพียงองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น
                       ที่มีอ านาจหน้าที่และภารกิจที่กว้างขวางเท่านั้น แต่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นเหล่านั้นจะต้องยึด

                       ประชาชนเป็นศูนย์กลาง (Citizen-Centered) โดยจะต้องเป็นองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นที่สามารถ

                       ตอบสนองต่อความต้องการของประชาชน รวมทั้งมีความรับผิดชอบ และสามารถให้ประชาชนเข้าไป
                       ตรวจสอบได้ โดยวิวัฒนาการของแนวคิดเรื่องการกระจายอ านาจในช่วงยุคนี้ ส่งผลให้แนวคิดเรื่องการ

                       กระจายอ านาจได้กลายเป็นแนวคิดที่ได้รับการให้ความส าคัญมากขึ้นอย่างแพร่หลายทั้งในประเทศที่

                       พัฒนาแล้วและประเทศที่ก าลังพัฒนา (Work, 2003, p.7; Bardhan & Mookherjee, 2006, p. 1;
                       Kumar, 2006, p. 13 อ้างถึงใน ศุภสวัสดิ์ ชัชวาลย์, 2555, น. 8-9)
   34   35   36   37   38   39   40   41   42   43   44