Page 35 - 22688_Fulltext
P. 35

9







                                                             บทที่ 2

                               กรอบแนวคิดของการศึกษาองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นรูปแบบพิเศษ




                                  ส าหรับกรอบแนวคิดที่มีบทบาทหลักต่อการส ารวจภารกิจและงบประมาณของส่วน

                       ราชการในพื้นที่เกาะสมุย : การศึกษาเพื่อเตรียมข้อมูลสนับสนุนส าหรับการพัฒนาพื้นที่เกาะสมุยเป็น

                       องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นรูปแบบพิเศษ นั้นคงหลีกหนีมิพ้น “แนวคิดเรื่ององค์กรปกครองส่วน

                       ท้องถิ่นรูปแบบพิเศษ (Special  Local Government)” หรือแนวคิดที่มองว่าการบริหารจัดการ

                       ท้องถิ่นในพื้นที่เฉพาะหรือพื้นที่พิเศษนั้นควรมีการออกแบบและจัดตั้งองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น

                       รูปแบบเฉพาะหรือรูปแบบพิเศษขึ้นมาท าหน้าที่รับผิดชอบการขับเคลื่อนการบริหารจัดการท้องถิ่นให้

                       เกิดความเหมาะสมต่อบริบทของพื้นที่นั้น ๆ เพื่อให้การขับเคลื่อนการบริหารจัดการท้องถิ่นที่เกิดขึ้น

                       ด าเนินไปอย่างมีประสิทธิภาพ โดยแนวคิดเรื่ององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นรูปแบบพิเศษนั้นมีรากฐาน

                       ทางความคิดที่ส าคัญมาจาก “แนวคิดเรื่องการกระจายอ านาจ (Decentralization of Power)” ที่มุ่ง

                       ถ่ายโอนอ านาจให้แก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นที่มีผู้บริหารมาจากการเลือกตั้งของประชาชนภายใน

                       ท้องถิ่นได้มีความเป็นอิสระในการตัดสินใจบริหารจัดการท้องถิ่นได้ตามสมควรและเกิดความเหมาะสม

                       กับ “แนวคิดเรื่องเริ่มต้นที่ท้องถิ่น (Subsidiarity)” ที่รัฐควรปล่อยให้หน่วยงานที่เล็กที่สุดหรือ

                       หน่วยงานในระดับท้องถิ่นเป็นผู้ด าเนินการในกิจการต่าง ๆ เพื่อด ารงไว้ซึ่งสิทธิของท้องถิ่นในการ

                       ปกครองตนเอง (Local Self-Government)

                                  โดยทั้งสามแนวคิดข้างต้นนับเป็นแนวคิดที่ผู้ศึกษาและจัดท าข้อเสนอแนะต่าง ๆ ที่


                       เกี่ยวข้องกับการจัดตั้งองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นรูปแบบพิเศษเต็มพื้นที่เพื่อเป็นต้นแบบของการ
                       บริหารจัดการท้องถิ่นจะต้องค านึงถึงเป็นหลักการพื้นฐานในการออกแบบและจัดท าข้อเสนอแนะ


                       ดังกล่าว เพื่อให้ข้อเสนอแนะดังกล่าวเป็นข้อเสนอแนะที่สามารถตอบสนองต่อการบริหารจัดการ

                       ท้องถิ่นที่มีลักษณะพิเศษหรือลักษณะเฉพาะได้อย่างแท้จริง อย่างไรก็ตาม ในปัจจุบันแม้ว่าแนวคิดทั้ง

                       สามแนวคิดจะมีการศึกษากันเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องในสังคมไทย โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ในแวดวงวิชาการ

                       ด้านรัฐศาสตร์ (Political  Science) และการบริหารรัฐกิจ (Public  Administration) ที่แนวคิดทั้ง

                       สามนับเป็นแนวคิดที่มีบทบาทหลักต่อการขับเคลื่อนการปกครองท้องถิ่นของประเทศไทยมาอย่าง

                       ยาวนาน หากแต่การอธิบายแนวคิดและการให้ความหมายอาจมีรูปแบบที่แตกต่างและหลายหลายกัน
   30   31   32   33   34   35   36   37   38   39   40