Page 48 - 22688_Fulltext
P. 48
22
จะเป็นไปได้ อันเป็นหลักการหนึ่งในมาตรการของการต่อต้านการรวมศูนย์อ านาจไว้ที่ส่วนกลางไม่ว่า
จะหมายถึงประเทศใดก็ตาม
ด้วยความพยายามของสภายุโรป (Council of Europe) ในการบัญญัติแนวคิด
เรื่องเริ่มต้นที่ท้องถิ่นเพื่อเป็นหลักประกันมิให้อ านาจกระจุกตัวอยู่แต่ในระดับบนตามที่ได้กล่าวไว้
ณ ข้างต้น ส่งผลให้แนวคิดเรื่องเริ่มต้นที่ท้องถิ่นได้กลายเป็นหลักการพื้นฐานที่ส าคัญที่ปรากฏอยู่ใน
สัญญามาสทริตท์ (Treaty of Maastricht) เพื่อให้เป็นหลักการพื้นฐานในการออกกฎหมายต่าง ๆ
ของสหภาพยุโรปและการด าเนินการขับเคลื่อนการบริหารราชการแผ่นดินของประเทศภาคีสมาชิก
(European Parliament, 2020) นอกจากนี้ แนวคิดดังกล่าวได้กลายเป็นส่วนหนึ่งในสัญญาฉบับใหม่
ที่จะร่างรัฐธรรมนูญของสหภาพยุโรปขึ้นมา ซึ่งได้มีการบัญญัติไว้ว่า
“ตามหลักการว่าด้วยเริ่มต้นที่ท้องถิ่น สหภาพจะลงมือท าการใดก็ต่อเมื่อเห็นว่า
ประเทศสมาชิกไม่อาจด าเนินการได้ไม่ว่าจะเป็นระดับชาติ หรือภาค หรือท้องถิ่น
และเมื่อพิจารณาจากขนาดของงานและผลกระทบที่จะเกิดขึ้น มีแต่สหภาพเท่านั้น
ที่จะสามารถท าได้ดีกว่า” (ธเนศวร์ เจริญเมือง, 2553, น. 246-247 อ้างถึงใน
ศุภสวัสดิ์ ชัชวาลย์, 2559, น. 54-55)
ด้วยความหมาย วิวัฒนาการและหลักการของแนวคิดเรื่องเริ่มต้นที่ท้องถิ่น
(Subsidiarity) ที่ผู้วิจัยได้กล่าวมาแล้ว จะเห็นได้ว่าแนวคิดเรื่องเริ่มต้นที่ท้องถิ่น ถือเป็นแนวคิดที่
เล็งเห็นว่ารัฐหรือหน่วยงานส่วนกลางควรปล่อยให้หน่วยงานที่เล็กที่สุดหรือหน่วยงานในระดับท้องถิ่น
เป็นผู้ด าเนินการในกิจการต่าง ๆ เพื่อด ารงไว้ซึ่งสิทธิของท้องถิ่นในการปกครองตนเอง (local self-
government) และในการบริหารจัดการท้องถิ่น โดยที่หน่วยงานส่วนกลางควรท าหน้าที่ในการ
สนับสนุนหน่วยงานในระดับท้องถิ่นมากกว่าการที่หน่วยงานส่วนกลางจะเข้าไปด าเนินการเองทุกเรือง
โดยหน่วยงานส่วนกลางนั้นควรจะด าเนินการเฉพาะงานที่ใหญ่ๆ ที่เกินศักยภาพของหน่วยงานระดับ
ท้องถิ่นหรือท้องถิ่นไม่สามารถท าได้อย่างมีประสิทธิภาพ
2.3.3 หลักการประเมินขีดความสามารถขององค์กรในระดับท้องถิ่นในการแบกรับ
ภารกิจ
ส าหรับในส่วนนี้จะเป็นการน าเสนอถึงหลักการประเมินขีดความสามารถของ
องค์กรในระดับท้องถิ่นในการแบกรับภารกิจเพื่อใช้ในการประเมินว่าองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นหรือ
หน่วยงานในระดับท้องถิ่นมีศักยภาพและขีดความสามารถในการแบกรับภารกิจด้านการพัฒนาและ
ส่งมอบบริการสาธารณะให้กับประชาชนภายในท้องถิ่นมากน้อยเพียงใด โดยการประเมินขีด
ความสามารถขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นหรือหน่วยงานในระดับท้องถิ่นในการแบกรับภารกิจ
ด้านการพัฒนาและส่งมอบบริการสาธารณะต่าง ๆ สามารถประเมินได้ 2 มิติส าคัญ ดังนี้