Page 53 - 22688_Fulltext
P. 53
27
พิเศษเหล่านั้นมีความต้องการและความคาดหวังขั้นพื้นฐานที่แตกต่างออกไปจากพื้นที่อื่น ๆ
(สมคิด เลิศไพฑูรย์ และคณะ, 2547, น. 2-39)
ด้วยเหตุนี้ ท้องถิ่นที่มีลักษณะพิเศษหรือมีลักษณะเฉพาะดังกล่าวจึงมีความ
ต้องการองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นรูปแบบพิเศษที่มีศักยภาพและขีดความสามารถเฉพาะ รวมถึงมี
ขอบเขตพื้นที่ความรับผิดชอบครอบคลุมทั้งจังหวัดเข้ามาท าหน้าที่ขับเคลื่อนการบริหารจัดการท้องถิ่น
และแก้ไขปัญหาต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นเพื่อตอบสนองต่อเจตนารมณ์ ความต้องการ และความคาดหวังของ
ประชาชนในท้องถิ่นพิเศษนั้น ๆ และ
(2) องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นรูปแบบพิเศษที่มีเขตพื้นที่เล็กกว่าจังหวัด :
นับเป็นองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นรูปแบบพิเศษภายในเขตจังหวัดนั้น ๆ อีกรูปแบบหนึ่งที่มีการ
ออกแบบและจัดตั้งขึ้นในพื้นที่ที่มีลักษณะเฉพาะหรือลักษณะพิเศษที่มีความแตกต่างจากพื้นที่
โดยทั่วไปภายในจังหวัดนั้น ๆ โดยพื้นที่ดังกล่าวอาจมีลักษณะเป็นแหล่งท่องเที่ยวส าคัญ
เมืองชายแดน พื้นที่เกาะ ฯลฯ โดยอาจมีประชาชนอาศัยอยู่มากกว่าพื้นที่อื่น ๆ ภายในจังหวัด วิถีชีวิต
ของประชาชนภายในพื้นที่นั้น ๆ แตกต่างจากพื้นที่อื่น ๆ อย่างชัดเจน หรือมีความส าคัญในเชิง
เศรษฐกิจต่อประเทศนั้น ๆ ด้วยลักษณะพิเศษดังกล่าวได้น ามาสู่ปัญหาต่าง ๆ ภายในท้องถิ่นใน
หลากหลายประการที่แตกต่างไปจากพื้นที่อื่น ๆ ภายในจังหวัดนั้น ๆ อาทิ ปัญหาขยะล้นเมือง ปัญหา
น้ าเสีย ปัญหาการจราจร ปัญหามลพิษ ปัญหาแรงงานผิดกฎหมาย ฯลฯ
ฉะนั้น ท้องถิ่นที่มีลักษณะพิเศษหรือมีลักษณะเฉพาะดังกล่าวจึงมีความต้องการ
องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นรูปแบบพิเศษที่มีขอบเขตพื้นที่ความรับผิดชอบครอบคลุมพื้นที่พิเศษ
ดังกล่าวเข้ามาท าหน้าที่ในการขับเคลื่อนการบริหารจัดการท้องถิ่นและแก้ไขปัญหาต่าง ๆ ที่เกิดขึ้น
ภายในท้องถิ่นเพื่อสนองต่อเจตนารมณ์ ความต้องการ และความคาดหวังที่หลากหลายของประชาชน
ภายในท้องถิ่นนั้น ๆ
2.3.3 ลักษณะของท้องถิ่นที่มีการจัดตั้งองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นรูปแบบพิเศษ
ส าหรับในส่วนที่สามเป็นการพิจารณาลงไปในรายละเอียดถึงลักษณะพิเศษหรือ
ลักษณะเฉพาะของท้องถิ่นที่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นรูปแบบทั่วไปไม่สามารถขับเคลื่อนภารกิจการ
พัฒนาและส่งมอบบริการสาธารณะต่าง ๆ ได้อย่างมีประสิทธิภาพและมีประสิทธิผลอย่างเป็นรูปธรรม