Page 56 - 22688_Fulltext
P. 56

30







                       เขตท้องถิ่นที่เป็นพื้นที่เกาะหรือชนบท จึงเป็นเรื่องที่สมควรอย่างยิ่งเพื่อให้การขับเคลื่อนภารกิจด้าน

                       การพัฒนาและส่งมอบบริการสาธารณะต่าง ๆ ภายในท้องถิ่นดังกล่าวเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพและ

                       เกิดประสิทธิผลอย่างเป็นรูปธรรมในการตอบสนองต่อเจตนารมณ์ ความต้องการ และความคาดหวังที่

                       หลากหลายของประชาชนภายในท้องถิ่นดังกล่าว (สมคิด เลิศไพฑูรย์ และคณะ,  2547,  น. 2-40 –

                       2-43; ธีร์ เจียศิริพงษ์กุล และคณะ, 2561, น. 41-42)



                                  2.3.4 โครงสร้างขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นรูปแบบพิเศษ

                                      ส าหรับโครงสร้างขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นรูปแบบพิเศษนับเป็นหนึ่งใน

                       องค์ประกอบส าคัญที่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นรูปแบบพิเศษจะมีความแตกต่างไปจาก

                       องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นรูปแบบทั่วไป อันเป็นผลสืบเนื่องมาจากการจัดตั้งองค์กรปกครองส่วน

                       ท้องถิ่นรูปแบบพิเศษนั้นจะกระท าโดยการตราขึ้นเป็นกฎหมายเฉพาะเพื่อให้องค์กรปกครองส่วน

                       ท้องถิ่นรูปแบบพิเศษดังกล่าวมีลักษณะพิเศษในด้านใดด้านหนึ่งที่แตกต่างจากองค์กรปกครองส่วน

                       ท้องถิ่นรูปแบบทั่วไป อาทิ ด้านโครงสร้าง ด้านอ านาจหน้าที่ ด้านรายได้ และด้านความสัมพันธ์

                       ระหว่างรัฐส่วนกลางกับองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น โดยทางคณะผู้วิจัยจะขอน าเสนอ ดังนี้




                                      (1) โครงสร้างภายในที่แตกต่างจากองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นรูปแบบทั่วไป :
                       กล่าวคือ โดยทั่วไปแล้วโครงสร้างภายในขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นจะก าหนดให้ผู้บริหารองค์กร


                       ปกครองส่วนท้องถิ่นและสมาชิกสภาองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นต้องมาจากการเลือกตั้งโดยตรงของ

                       ประชาชนภายในท้องถิ่นนั้น ๆ หากแต่ โครงสร้างภายในขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นรูปแบบ

                       พิเศษนั้นอาจมีการออกแบบขึ้นมาเฉพาะเพื่อให้ผู้บริหารองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นและ/หรือสมาชิก

                       สภาองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นมีคุณสมบัติหรือลักษณะเฉพาะที่เหมาะสมต่อการท าหน้าที่ในการ

                       บริหารจัดการท้องถิ่นนั้น ๆ อาทิ ผู้บริหารของกรุงเทพมหานครตามพระราชบัญญัติระเบียบบริหาร

                       ราชการกรุงเทพมหานคร พุทธศักราช 2518 (เดิม) ได้ก าหนดวิธีการได้มาซึ่งผู้ว่าราชการ

                       กรุงเทพมหานครไว้โดยให้มาจากการเลือกตั้งโดยตรงของประชาชนซึ่งต่างกับองค์กรปกครองส่วน

                       ท้องถิ่นอื่น ๆ ของประเทศไทย ณ ขณะนั้นที่มาจากการแต่งตั้ง หรือในกรณีผู้บริหารของเมืองพัทยา

                       ตามพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการเมืองพัทยา พุทธศักราช 2542 (เดิม) ที่ก าหนดที่มาของ
   51   52   53   54   55   56   57   58   59   60   61