Page 57 - 22688_Fulltext
P. 57
31
ผู้บริหารเมืองพัทยาให้มีที่มาจากการว่าจ้างบุคคลภายนอกผู้มีความรู้ความช านาญเข้ามาเป็นผู้บริหาร
เป็นต้น
(2) อ านาจหน้าที่ที่แตกต่างจากองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นรูปแบบทั่วไป :
กล่าวคือ เจตนารมณ์ส าคัญของการจัดตั้งองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นรูปแบบพิเศษขึ้นนั้นเพื่อรองรับ
กับลักษณะพิเศษหรือลักษณะเฉพาะของท้องถิ่นนั้น ๆ ด้วยเหตุนี้ กฎหมายขององค์กรปกครองส่วน
ท้องถิ่นรูปแบบพิเศษจึงได้ก าหนดอ านาจหน้าที่ให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นรูปแบบพิเศษมีอ านาจ
หน้าที่ที่มีความพิเศษต่างจากอ านาจหน้าที่ขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นรูปแบบทั่วไป โดยมี
เปูาหมายเพื่อให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นรูปแบบพิเศษสามารถจัดการกับปัญหาต่าง ๆ ที่เกิดขึ้น
เป็นพิเศษในท้องถิ่นนั้น ๆ ได้
(3) รายได้ที่แตกต่างจากองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นรูปแบบทั่วไป : กล่าวคือ
โดยทั่วไปองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นรูปแบบต่าง ๆ จะต้องมีรายได้เป็นของตนเองเพื่อน ารายได้
ดังกล่าวมาใช้เป็นค่าใช้จ่ายในการบริหารจัดการท้องถิ่น ดังนั้น โดยพื้นฐานแล้วองค์กรปกครองส่วน
ท้องถิ่นรูปแบบพิเศษนั้นมักมีการก าหนดให้มีรายได้มากกว่าองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นรูปแบบทั่วไป
ตัวอย่างเช่น นครโตเกียวของประเทศญี่ปุุนจะมีรูปแบบขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นที่เรียกว่า
“เขตพิเศษ” (KU) โดยเขตพิเศษนี้มีอ านาจในการเก็บภาษีมากกว่าเทศบาลอื่น ๆ เป็นต้น และ
(4) ความสัมพันธ์ระหว่างองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นกับรัฐบาลกลาง : นับเป็น
อีกหนึ่งลักษณะพิเศษที่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นรูปแบบพิเศษจะถูกกฎหมายเฉพาะขององค์กร
ปกครองส่วนท้องถิ่นก าหนดความสัมพันธ์ระหว่างองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นรูปแบบพิเศษกับรัฐบาล
กลางในฐานะผู้มีอ านาจก ากับดูแลองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในลักษณะที่แตกต่างไปจากองค์กร
ปกครองส่วนท้องถิ่นรูปแบบทั่วไป เช่น ในกรุงโซล ประเทศเกาหลีใต้ ซึ่งได้รับการจัดตั้งเป็นองค์กร
ปกครองส่วนท้องถิ่นรูปแบบพิเศษที่อยู่ภายใต้การก ากับดูแลตรงต่อนายกรัฐมนตรีโดยตรงที่องค์กร
ปกครองส่วนท้องถิ่นรูปแบบทั่วไปนั้นจะอยู่ภายใต้การก ากับดูแลของรัฐมนตรีว่าการกระทรวง
บริหารงานของรัฐและกิจการภายใน (MOGAHA) เป็นต้น (สมคิด เลิศไพฑูรย์ และคณะ, 2547,
น. 2-43 – 2-45)