Page 64 - kpi21588
P. 64
ร่างรายงาน บทบาทของพลเมืองในการป้องกันและแก้ไขปัญหาการเลือกตั้งที่ไม่สุจริตเที่ยงธรรม เพื่อพัฒนาและเสริมสร้างความเข้มแข็งของประชาธิปไตยไทย 4-24
ห่างไกลที่ท าให้บทบาทหลักของการรณรงค์หาเสียงให้ผู้สมัครเลือกตั้งตกไปเป็นของหัวคะแนนหรือผู้น าชุมชน
ในพื้นที่ การซื้อหัวคะแนนมีค่าใช้จ่ายสูงหลักหมื่นและหลักแสนขึ้นอยู่กับความสามารถและอิทธิพลของ
หัวคะแนนคนนั้น
อย่างไรก็ตาม เงินจากการซื้อสิทธิขายเสียงยังคงมีอิทธิพลต่อหัวคะแนนเท่านั้น
หลายพื้นที่มีการซื้อหัวคะแนน เพื่อท าหน้าที่เป็นตัวกลางเป็นระหว่างนักการเมืองและชุมชนในการพูดคุย
แลกเปลี่ยนข่าวสารต่าง ๆ ตลอดจนชี้น าให้เลือกผู้สมัครคนใดคนหนึ่ง
5) การซื้อสิทธิขายเสียงล่วงหน้ามีหลายรูปแบบ ได้แก่ การให้ความช่วยเหลือด้าน
สุขภาพแก่ประชาชนในชุมชน การตรวจสุขภาพให้แก่ผู้สูงอายุ รูปแบบที่ปรากฎก่อนวันเลือกตั้งคือ การจัด
คาราวานตรวจสุขภาพให้ประชาชน การร่วมจัดงานประเพณี บริจาคสิ่งของ สร้างพื้นที่สาธารณะประโยชน์แก่
ชุมชน
เงื่อนไขส าคัญที่เกี่ยวข้องกับการซื้อสิทธิขายเสียง ได้แก่ สภาวะเศรษฐกิจและการ
ประกอบอาชีพ คนที่มีโอกาสถูกซื้อเสียงส่วนมากคือ กลุ่มเกษตรกรหรือผู้ขาดโอกาสทางสังคม การเข้าถึง
ผลประโยชน์ทางเศรษฐกิจหรือสวัสดิการ ผู้ประสบปัญหาความยากจน ซึ่งท าให้การซื้อสิทธิขายเสียงในบริบท
ของชนบทจะมีมากกว่าในเขตพื้นที่เมือง สิ่งที่ท าให้การซื้อสิทธิขายเสียงประสบความส าเร็จ ในแง่ของนามธรรม
คือ อ านาจทางจิตใจของแต่ละบุคคล หากความต้องการสูงกว่าหลักความถูกต้อง น าไปสู่การยอมรับการซื้อสิทธิ
ขายเสียง ในทางรูปธรรมคือ ความยากจนและความจ าเป็นในการใช้เงินมากกว่าการคิดถึงผลกระทบอื่นๆ ใน
อีกด้านความเคยชินของการได้รับความช่วยเหลือจากรัฐมาตลอดสร้างความรู้สึกของการพึ่งพิงทางนโยบาย
อย่างต่อเนื่อง ไม่ได้สร้างคนให้ต่อสู้พึ่งพิงตนเอง คนจึงเฝ้ารอการได้รับและการให้จากรัฐ สิ่งเหล่านี้นับเป็นการ
หล่อหลอมลักษณะพื้นฐานที่ท าให้ต้องได้เงินหรือผลประโยชน์ในช่วงเลือกตั้งเช่นกัน เมื่อคนไม่เข้มแข็ง การซื้อ
สิทธิขายเสียงก็ยังเกิดขึ้นต่อไป การซื้อสิทธิขายเสียงกลายเป็นวัฒนธรรมเพราะมีกระบวนการสืบสานผ่าน
นักการเมือง ตระกูลการเมือง พวกพ้องทางการเมืองเพราะคือกลุ่มการเมืองกลุ่มเดิม ๆ ดังนั้น การเปลี่ยนแปลง
พื้นที่ทางการเมืองของกลุ่มอ านาจการเมืองเดิมอาจน าไปสู่ค่านิยมใหม่ๆ ที่อาจช่วยแก้ปัญหาการซื้อสิทธิขาย
เสียง
4.2 ปัจจัยที่ส่งผลต่อการมีบทบาทของพลเมืองในการป้องกันและแก้ไขปัญหาซื้อสิทธิขายเสียง
จากการวิเคราะห์ข้อมูลของผู้ทรงคุณวุฒิด้านต่าง ๆ และข้อมูลจากการประชุมกลุ่มย่อยและ
ข้อมูลจากพื้นที่ พบว่า ปัจจัยที่ส่งผลต่อการมีบทบาทของพลเมืองในการป้องกันและแก้ไขปัญหาซื้อสิทธิขาย
เสียงที่มีความเห็นสอดคล้องกันมากที่สุด คือ “บทบาทการท าหน้าที่ของ กกต.” ซึ่งหมายถึง ผลการท างานใน
อดีตของ กกต. ที่ไม่มีประสิทธิภาพ มีการท างานล่าช้า มีการปฏิบัติสองมาตรฐาน และ ไม่เกิดกรณีของการ
ถูกด าเนินการจากการซื้อเสียง จึงส่งผลให้ท าให้ประชาชนขาดความเชื่อมั่นและไม่เข้ามามีส่วนร่วมในการ
ป้องกันและแก้ไขปัญหาซื้อสิทธิ์ขายเสียงร่วมกับ กกต.