Page 59 - kpi21588
P. 59
ร่างรายงาน บทบาทของพลเมืองในการป้องกันและแก้ไขปัญหาการเลือกตั้งที่ไม่สุจริตเที่ยงธรรม เพื่อพัฒนาและเสริมสร้างความเข้มแข็งของประชาธิปไตยไทย 4-19
(1.3) หัวคะแนนจะได้ค่าตอบแทนเบื้องต้นในการด าเนินการ ในช่วงเวลา
การรณรงค์หาเสียงก่อนการเลือกตั้งหัวคะแนนจะท าการวิเคราะห์ประเมินความนิยมของผู้มีสิทธิลงคะแนนว่ามี
แนวโน้มจะลงคะแนนในหมายเลขใดจากนั้นหัวคะแนนจะแนะน าและน าเสนอในการเลือกหมายเลขที่ตนรับ
เป็นหัวคะแนน โดยการซื้อเสียงครั้งล่าสุดพื้นที่ชนบทอยู่ที่ 500 บาทต่อคน พื้นที่ชุมชนเมืองอยู่ที่ 1,000 บาท
โดยหัวคะแนนเป็นคนน าไปแจกเอง ในช่วงเวลา 1-2 วัยก่อนการเลือกตั้ง โดยมีคณะท างานของผู้สมัครเดิน
ประกบไปด้วย กรณีที่มีผู้สมัครหลายคนมาทาบทามให้ อสม. เป็นหัวคะแนน อสม. จะตัดสินใจเลือกสนับสนุน
เพียงคนเดียว โดยพิจารณาจาก 1) เป็นคนคุ้นเคย 2) เป็นพรรคที่ชอบ 3) ยอมรับเงื่อนไขค่าตอบแทนที่
เหมาะสม
(2) การซื้อเสียงโดยจ่ายเงินผ่านการโอนเข้าบัญชีออนไลน์ มีบางพื้นที่ที่ อสม. ซึ่ง
ได้เงินสดมาจ านวนหนึ่งจากคณะท างานของผู้สมัคร จะโอนเงินเข้าบัญชีผ่านทาง e-Banking ให้กับสมาชิก
ครัวเรือน
(3) การใช้นโยบายของรัฐเป็นเครื่องมือในการหาเสียง หากในการเลือกตั้งครั้งนั้น
ผู้สมัครของพรรคที่เป็นรัฐบาลจะเรียกประชุมก านัน ผู้ใหญ่บ้าน ว่าจะมีการโอนเงินให้แก่ผู้ถือบัตรคนจน ขอให้
ไปแจ้งลูกบ้าน และขอให้สนับสนุนเลือกพรรคที่เป็นรัฐบาลในช่วงเลือกตั้งครั้งนั้น ๆ
(4) มีข้อสงสัยว่าจะมีการใช้บัตรเลือกตั้งปลอม เนื่องจากหลังการนับคะแนน มี
พรรคหนึ่งที่มีคะแนนอยู่ในอันดับที่ 1 - 2 ของหน่วยเลือกตั้ง ทั้งที่ก่อนหน้านี้ไม่เคยมีเสียงว่าจะเลือกผู้สมัคร
พรรคนี้ จึงเป็นที่สงสัยว่าผู้สมัครที่ไม่เป็นที่นิยม ได้คะแนนมาในระดับต้น ๆ ได้อย่างไร มีผู้ให้ค าตอบว่าเกิดจาก
2 กรณี คือ กรณีที่หนึ่ง มีการใช้บัตรเลือกตั้งปลอม โดยใช้บัตรเลือกตั้งปลอมเพียงใบเดียว ที่คณะท างานของ
ผู้สมัครได้กากบาทลงในช่องหมายเลขที่เลือกไว้แล้ว มอบแก่ผู้มีสิทธิ์เลือกตั้งในที่ลับตาคนไม่ห่างจากหน่วย
เลือกตั้ง เมื่อผู้มีสิทธิ์เลือกตั้งเข้าไปในคูหา จะหย่อนบัตรเลือกตั้งปลอมที่กากบาทไว้แล้วลงในหีบเลือกตั้ง เมื่อ
ออกมาจากหน่วยเลือกตั้ง จะน าบัตรเลือกตั้งตัวจริงที่ได้จากหน่วยเลือกตั้งมาคืนคณะท างานพร้อมรับเงิน
จากนั้นคณะท างานจะท าการกากบาทหมายเลขที่ต้องการลงในบัตรเลือกตั้งจริงที่ได้รับมาจากคนแรก มอบให้ผู้
มีสิทธิ์ลงคะแนนคนต่อไปน าไปหย่อยลงในหีบเลือกตั้ง แล้วน าบัตรใหม่ที่ยังไม่ได้กากบาทมาคืนในคณะท างาน
ท าเช่นนี้เรื่อยไปจนกว่าจะหมดเวลาลงคะแนน กรณีที่สอง ในการเลือกตั้งครั้งล่าสุด มีผู้พบเห็นว่า มีผู้แต่งกาย
คล้ายทหารมาลงคะแนนที่หน่วยเลือกตั้งหลายครั้ง ในลักษณะเวียนเทียนลงคะแนน
(5) วิธีการอื่น ๆ ดังเช่นที่เคยใช้ มาจากการเลือกตั้งในช่วงปี 2540 - 2557 คือ การ
ขนคนไปลงคะแนนด้วยระบบการจัดตั้ง การไปปรากฏตัวและบริจาคเงินในงานพิธีการต่าง ๆ
จากข้อมูลการประชุมกลุ่มในพื้นที่เชียงใหม่ ระบุถึงรูปแบบและพัฒนาการ
ของการซื้อเสียงในปัจจุบันว่า นิยามความหมายของการซื้อสียง มีความเปลี่ยนแปลงไปจากอดีตถึงปัจจุบัน หาก
ฟังจากผู้ให้ข้อมูลซึ่งมีช่วงอายุตั้งแต่เยาวชนจนถึงผู้สูงอายุพบว่าการให้นิยามของกลุ่มผู้ให้ข้อมูลที่เป็นกลุ่มผู้น า
ซึ่งเคยมีประสบการณ์กับการได้รับเงินซื้อเสียงมองว่าเงินซื้อเสียงเปรียบเสมือนค่าตอบแทน “...ค่าตอบแทน ค่า