Page 60 - kpi21588
P. 60
ร่างรายงาน บทบาทของพลเมืองในการป้องกันและแก้ไขปัญหาการเลือกตั้งที่ไม่สุจริตเที่ยงธรรม เพื่อพัฒนาและเสริมสร้างความเข้มแข็งของประชาธิปไตยไทย 4-20
นั่งฟังนโยบายขายฝัน...” ส าหรับคนที่เข้าร่วมการปราศรัย และเป็นเรื่องของ “บุญคุณ” ได้รับเงินต้องตอบแทน
โดยการลงคะแนนเสียงให้ผู้สมัครหรือพรรคการเมืองนั้น เงินจากการซื้อสียงจึงเหมือนค่าจ้างในการให้ท างาน
หรือรับจ้างกิจกรรมหนึ่งๆ แต่ในความหมายของกลุ่มเยาวชนมองว่าการซื้อสิทธิขายเสียงคือความหมายเดียวกัน
กับการคอรัปชั่น แต่ส่วนใหญ่ของผู้ให้ข้อมูลต่างมองว่าผู้ที่มาซื้อเสียงหรือนักการเมืองที่ซื้อเสียงเป็นฝ่ายที่ท าผิด
มากกว่าผู้รับเงิน ซึ่งประเด็นนี้น่าสนใจที่ท าให้ความชอบธรรมในการรับเงินจากการซื้อสิทธิขายเสียงในความคิด
ของประชาชนเป็นเรื่องที่ไม่มีความผิดมากนัก
แม้ในปัจจุบันการซื้อสิทธิขายเสียง ยังคงเป็นการใช้เงินเป็นหลักแต่จะมี
รูปแบบและวิธีการในการซื้อสิทธิขายเสียงเปลี่ยนไปจากในอดีต รูปแบบของการซื้อสิทธิขายเสียงที่ใช้มากที่สุด
ในการเลือกตั้งที่ผ่านมายังคงเป็นการซื้อสิทธิขายเสียงผ่านระบบหัวคะแนน ซึ่งหัวคะแนนส่วนใหญ่คือ ผู้น า
ท้องถิ่น ตัวแทนแม่บ้าน อดีตผู้น า หรือบุคคลที่มีเครือข่ายในพื้นที่ อีกกลุ่มหนึ่งที่มีการแสดงบทบาทการเป็น
หัวคะแนนคือ อาสาสมัครสาธารณสุข (อสม.) รูปแบบของการซื้อสิทธิขายเสียงเลือกตั้ง ที่ได้จากพื้นที่ยังคงเป็น
รูปแบบหลักๆ คือ
1) ระบบการจ่ายเงินผ่านระบบหัวคะแนน หัวคะแนนนับเป็นกลไกส าหรับ
การชนะการเลือกตั้ง หัวคะแนนมักเป็นกลุ่มผู้น าชุมชนทั้งที่เป็นทางการและไม่เป็นทางการ บทบาทของผู้น า
ชุมชนส าหรับการเมืองไทยมีความส าคัญมาตั้งแต่อดีต โดยเฉพาะนับตั้งแต่มีการปฏิรูประบบราชการมีการจัด
โครงสร้างทางการปกครองที่ส่งผลให้บทบาทของผู้น าชุมชนมีความส าคัญทั้งในมิติทางการเมืองการปกครอง
และมิติทางวัฒนธรรม โดยมีวิธีการคือ การให้ผู้น าหรือแกนน า ในพื้นที่ชุมชนหมู่บ้านซึ่งท าหน้าที่เป็นหัวคะแนน
ให้พรรคการเมืองและนักการเมืองเป็นผู้จัดท าตัวเลขและรายชื่อของคนในหมู่บ้านโดยมีการก าหนดเป้าหมาย
ของคะแนนไว้ รวบรวมและไปมอบให้แก่ผู้สมัครรับเลือกตั้งโดยตรงหรือให้ผ่านหัวคะแนนอีกกลุ่มที่อยู่ในทีม
การเมืองของผู้สมัครรับเลือกตั้งเพื่อจัดสรรเงินตามจ านวนรายชื่อที่รวบรวมมา บางครั้งหัวคะแนนที่เข้ามาใน
ชุมชนจะมีมากกว่า 1 พรรค แต่การตัดสินใจในการให้หัวคะแนนเข้ามาในพื้นที่หรือให้มีการซื้อสิทธิขายเสียง
เกิดขึ้นในชุมชนได้หรือไม่ขึ้นอยู่กับปัจจัยส าคัญคือ ผู้น าชุมชน
- รวบรวมนั่งรถไปคูหา วิธีการของหัวคะแนนยังมีการรวบรวม
ประชาชนในชุมชนพาขึ้นรถไปคูหาเลือกตั้งการพาไปคูหาเลือกตั้งท าให้หัวคะแนนสามารถชี้น าและควบคุม
คะแนนได้ นอกจากพานั่งรถไปคูหาเลือกตั้งแล้ว ยังมีการรวบรวมประชาชนไปฟังปราศรัย ซึ่งการไปฟังปราศรัย
จะมีการจ่ายค่าตอบแทนให้กับประชาชนที่มาร่วม หากมองประเด็นนี้จะเห็นว่าการซื้อสิทธิขายเสียงไม่
จ าเป็นต้องเกิดขึ้นในวันก่อนวันเลือกตั้งอีกต่อไป แต่สามารถท าล่วงหน้าวันเลือกตั้งได้ในรูปแบบที่แตกต่าง
ออกไป
- “ซื้อยกครัว” หรือการจ่ายเหมาครอบครัวเป็นการซื้อสิทธิขาย
เสียงทั้งการซื้อในระดับปัจเจกบุคคลหรือซื้อทั้งครอบครัว หัวคะแนนจะค านวนจ านวนของผู้มีสิทธิเลือกตั้งใน
ครอบครัวและให้เงินตามจ านวนหัว ซึ่งง่ายต่อการควบคุมคะแนน ข้อมูลจากการสัมภาษณ์พบว่ามีค่าซื้อยกครัว