Page 65 - kpi21588
P. 65
ร่างรายงาน บทบาทของพลเมืองในการป้องกันและแก้ไขปัญหาการเลือกตั้งที่ไม่สุจริตเที่ยงธรรม เพื่อพัฒนาและเสริมสร้างความเข้มแข็งของประชาธิปไตยไทย 4-25
“ในขณะที่บางพรรคถูกตัดสิทธิ์เลือกตั้ง เพราะพรรคที่มีผู้สมัครสังกัดนี้ ไปสร้าง
พรรคเล็กลงสมัครรับเลือกตั้ง มีพรรคคู่แข่งก็ไปจ้างพรรคเล็กลงสมัครรับเลือกตั้ง แต่
กกต.ท างานเรื่องนี้ล่าช้าจนกระทั่งหมดอายุความ การตัดสินเรื่องการจ้างพรรคเล็ก
แตกต่างกัน ก็กลายเป็นว่าเกิด 2 มาตรฐาน เป็นแผลที่อยู่ในใจ ที่เห็นว่ามีการเอา
เปรียบทางการเมือง”
ความเห็นจากการสัมภาษณ์ผู้ทรงคุณวุฒิ
กลุ่มนักการเมือง
“ยังไม่ปราบปรามให้เห็น มันยังไม่เห็นคนติดคุกเลย คนที่ซื้อเสียง ทั้ง ๆ ที่ก็เห็น
อย่างที่ยกตัวอย่าง เขาก็เสนอไปที่รัฐบาลนะว่าชื่อนี้ซื้อเสียง ไม่เห็นจัดการเลย ก็คือ
ยังไม่จัดการ ยังลูบหน้าปะจมูกกันอยู่ มันไม่เด็ดขาด มันไม่ได้ท าให้เห็นเป็นตัวอย่าง
เลย”
“กกต. ที่ท ามาอย่างต่อเนื่องเกือบ 20 ปี ครั้งล่าสุดได้ท าลายมาตรฐานที่ กกต. สร้าง
กันมา มันก็เลยขาดความเชื่อมั่นคนไม่ยอมรับก็เป็นปัญหาเกิดขึ้น”
ความเห็นจากการสัมภาษณ์ผู้ทรงคุณวุฒิ
กลุ่มภาคประชาสังคม
“กลไกของ กกต. ส าคัญ แต่เป็นกลไกที่อาจยังไม่ได้เรื่อง คือจริงๆ แล้วผู้สมัครก็กลัว
กกต. ท าอะไรยังกลัวเลย จะติดโปสเตอร์อะไรก็แล้วแต่เนี่ยกลัวหมด กลัวท าผิด
กฎหมาย เพราะฉะนั้น ถ้า กกต. มีกลไกที่ท าให้ผู้สมัครหรือพรรคการเมืองรู้ว่าเป็น
กลไกที่ได้ผล การซื้อเสียงจะหมดไป”
ความเห็นจากการสัมภาษณ์ผู้ทรงคุณวุฒิ
กลุ่มนักวิชาการ
ปัจจัยต่อมาที่มีการกล่าวถึง คือ “ผู้มีอิทธิพลในพื้นที่” ซึ่งมีผลทั้งในแง่ของความเข้มแข็งและความมี
อิทธิพลของระบบหัวคะแนน และ ความเกรงกลัวต่อการได้รับอันตราย หากเปิดเผยว่าปฏิเสธการรับเงิน
“บางทีเขาก็รับ เพราะถ้าไม่รับจะเป็นการประกาศโจ่งแจ้งเกินไป ก็คือรับ แต่ว่าไม่กา
ให้ เงิน ใครบ้างไม่อยากได้ เขาก็คิดอย่างนั้น”
ความเห็นจากการสัมภาษณ์ผู้ทรงคุณวุฒิ
กลุ่มนักการเมือง