Page 68 - kpi21588
P. 68
ร่างรายงาน บทบาทของพลเมืองในการป้องกันและแก้ไขปัญหาการเลือกตั้งที่ไม่สุจริตเที่ยงธรรม เพื่อพัฒนาและเสริมสร้างความเข้มแข็งของประชาธิปไตยไทย 4-28
ยกตัวอย่าง กลุ่มผู้น าชุมชนกล่าวว่า “เรารับเงินแต่ไม่เลือกคนที่ซื้อเสียง ต้องมีการติดตามแผน ตามตัว
นี้ให้ได้ ท าไม่ได้ครั้งหน้าไม่ต้องมา ถ้ายังโง่มาซื้อเสียงอีก จะมีระบบจัดการของมันเอง เราจะกลายเป็นไม้ซีกเล็ก
ๆ สู้ไม้ซุงไว้หรือ การที่เราเคารพ สิทธิอ านาจของประชาชนจริง ๆ ต่างหาก ติดตามสิ่งที่เรามอบหมายให้
ตัวแทนเรา เรายอมรับเงิน แต่ไม่เลือกเขา”
เช่นเดียวกันกับกลุ่มผู้เข้าร่วมจากจังหวัดสกลนครและผู้ให้สัมภาษณ์ส่วนใหญ่ ที่มองว่าการเลือกใคร
ขึ้นอยู่กับความชอบของชาวบ้าน เขาอาจมีพรรคที่ชอบในใจอยู่ก่อนแล้ว แต่พรรคอื่นมาแจกก็รับไว้ ยกตัวอย่าง
ผู้ให้สัมภาษณ์ท่านหนึ่งกล่าวว่า
“ศรัทธาในคนที่เราจะเลือก ก็มาซื้อเสียงก็ซื้อไงแต่เราก็ยังศรัทธาคนนี้อยู่ เราไปห้ามเขาไม่ได้ว่าคุณไม่
ต้องมาซื้อเสียงหรอกฉันไม่เลือกเธอ…มันอาจจะไม่ใช่เรื่องเงินอย่างเดียว เรื่องพี่น้อง เรื่องพรรคพวก มันพิสูจน์
ร้อยเปอร์เซ็นต์ไม่ได้ว่าเขาได้คะแนนขึ้นมาก็อาจจะไม่ใช่ที่หนึ่ง คะแนนเขาขึ้นมาเป็นหมื่นคะแนนพันคะแนนก็
ไม่ได้หมายความว่าเกี่ยวกับการซื้อคะแนนเสียงอย่างเดียว อาจจะเกี่ยวกับเรื่องนโยบายพรรค เกี่ยวกับเรื่องพี่
น้อง พรรคพวก กระแสก็อาจจะเป็นไปได้ ของประชาชนฉลาดขึ้นเยอะว่าเขาจะเลือกพรรคไหน คุณซื้อเสียง
ยังไงเราก็ไม่เลือก…”
4.3.4 ติดตามข่าวสาร พบว่า ภาคพลเมืองมีการติดตามข่าวสารจากช่องทางต่าง ๆ ทั้งโทรทัศน์
หนังสือพิมพ์ โซเชียลมีเดีย เพื่อเป็นการติดตามผลงานของผู้สมัครแล้วน ามาประกอบการตัดสินใจด้วย โดยกลุ่ม
เยาวชนและสื่อมวลชนกล่าวว่า
“ในอดีตถ้าจะให้เงิน อิทธิพลของสื่อยังไม่ได้เจริญมากเท่าในปัจจุบันก็พอจะแอบได้ คนจะไม่รู้ แต่ใน
ปัจจุบันสื่อเจริญมากขึ้นซึ่งเวลาจะท าอะไรต้องมีความระมัดระวัง ในอดีตตนมองว่ามันรุนแรงมากถ้าจะมีการ
ข่มขู่กันแต่ในปัจจุบันมันมีเรื่องของโซเชียลเข้ามาอยู่ในมือซึ่งอาจจะมีการเผยแพร่ไปให้ชาวบ้านคนอื่นเห็นการ
กระท าได้”
นอกจากนี้ ผู้สัมภาษณ์บางท่านให้ข้อมูลว่ามีภาคประชาชนบางกลุ่มที่ให้ความสนใจในการร่วม
ตรวจสอบผ่านการใช้ข้อมูลข่าวสารแต่ก็พบอุปสรรคในเรื่องการเข้าถึงข้อมูล โดยกล่าวว่า
“การเลือกตั้งปี 2562 ที่ผ่านมามีคนรุ่นใหม่ มีโปรแกรมเมอร์ นักวิจัยต่าง ๆ นานา พยายามเข้าไปมี
ส่วนร่วมมากเลยเพื่อเข้าไปตรวจสอบมันมีความโปร่งใส มีการทุจริตเกิดขึ้นไหม ปัญหาคือ กกต. ไม่มีการเปิด
ข้อมูลดิบให้พวกเขาเหล่านั้นได้เข้าไปดูเข้าไปใช้ กลายเป็นว่าคนที่จะเข้าไปดูได้ต้องเป็นผู้สมัครเขตนั้นเท่านั้นซึ่ง
มันยากมาก… ตนมองว่า นอกจากการที่จะเลือกว่าให้ไปนับที่หน่วยเลือกตั้งรับที่อ าเภอ หรือ นับที่จังหวัด คุณ
ต้องน าข้อมูลขึ้นไปอยู่บนออนไลน์ทั้งหมด แล้วให้คนมาช่วยตรวจสอบอาจเป็นอีกวิธีที่ช่วยในการป้องกันการ
ทุจริตได้”
4.3.5 รณรงค์และเข้าร่วมกิจกรรมทางการเมือง พบว่าภาคพลเมืองกลุ่มนี้ส่วนใหญ่เป็นผู้น าชุมชน หรือ
เป็นกลุ่มคนที่อยากเห็นบ้านเมืองปราศจากการซื้อสิทธิ์ขายเสียง ยกตัวอย่างบทบาทของผู้หญิงในเรื่องการ