Page 66 - kpi21588
P. 66
ร่างรายงาน บทบาทของพลเมืองในการป้องกันและแก้ไขปัญหาการเลือกตั้งที่ไม่สุจริตเที่ยงธรรม เพื่อพัฒนาและเสริมสร้างความเข้มแข็งของประชาธิปไตยไทย 4-26
“ในบางพื้นที่ตัวเงินเป็นเพียงแค่ปัจจัยหนึ่งเท่านั้น ส่วนใหญ่พวกนักการเมืองเขาจะ
เรียกว่าเป็นน้ ามันหล่อลื่นเฉย ๆ แต่ปัจจัยที่ท าให้ชนะจะเป็นในเรื่องของระบบ
หัวคะแนนว่ามีความเข้มแข็งไหมเรื่องตัวผู้สมัครว่าคนรู้จักไหม ผู้สมัครลงพื้นที่
สม่ าเสมอแค่ไหนอย่างไร”
ความเห็นจากการสัมภาษณ์ผู้ทรงคุณวุฒิ
กลุ่มสื่อมวลชน
นอกจากปัจจัยที่กล่าวมาแล้ว ยังมีปัจจัยเชิงบวกที่ส่งผลต่อการมีบทบาทของพลเมืองในการ
ป้องกันและแก้ไขปัญหาซื้อสิทธิขายเสียงอีก นั่นคือ “การตื่นตัวของภาคประชาชนต่อภัยของการซื้อสิทธิ์ขาย
เสียง” ปัจจัยนี้ ได้รับอิทธิพลจากการรับรู้และติดตามข้อมูลข่าวสารผ่านสื่อสังคมออนไลน์ต่าง ๆ
“ปัจจัยก็มาจากการตื่นตัวของชุมชนผู้มีสิทธิ์เลือกตั้ง จะเห็นว่าอันนี้ก็เป็นลักษณะ
โดยทั่วไปในเมืองจะซื้อไม่ค่อยได้ผล เยาวชนจะซื้อไม่ค่อยได้ผล ไม่สามารถใช้อิทธิพล
ได้ และก็แน่นอนมีเงื่อนไของค์ประกอบอื่นๆ ด้วย ที่ไม่ได้ผลเพราะความตระหนัก
ของคนที่สนใจการเมือง เขาสนใจบ้านเมือง สนใจสังคมจึงไม่ได้ผล ชุมชนหลายแห่ง
จึงไม่ได้ผล เพราะคนตื่นตัว คนเริ่มรู้แล้วว่าถ้าไม่เลือกไม่ลงคะแนนอย่างมีคุณภาพ
มันจะเกิดผลกระทบอะไรกับชีวิต กับชุมชนของตนเอง”
ความเห็นจากการสัมภาษณ์ผู้ทรงคุณวุฒิ
กลุ่มภาคประชาสังคม
“ถ้าพูดถึงว่าพลังสื่อ พลังโซเชียล ไม่ใช่การล้างสมอง เป็นการเรียนรู้ ลูกสาวลูกชาย
ถามเมื่อไหร่จะได้เลือกตั้ง ไม่เอาพรรคคนเก่า จะเอาคนใหม่”
ความเห็นจากการประชุมกลุ่มย่อย
กลุ่มผู้น าชุมชนและภาคประชาสังคม
เขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล
“ในมุมของผมมองว่า ในอดีตถ้าจะให้เงิน อิทธิพลของสื่อยังไม่ได้เจริญมากเท่าใน
ปัจจุบัน พอเราท าอะไรเหมือนเราแอบได้ คนจะไม่รู้ แต่ในปัจจุบันสื่อเจริญมากขึ้น ซึ่ง
เวลาจะท าอะไรต้องมีความระมัดระวัง ในอดีตผมมองว่ามันรุนแรงมาก ถ้าจะมีการข่มขู่
กัน แต่ในปัจจุบันมันมีเรื่องของ Social เข้ามาอยู่ในมือซึ่งอาจจะมีการเผยแพร่ไปให้
ชาวบ้านคนอื่นเห็นการกระท าได้”
ความเห็นจากการประชุมกลุ่มย่อย
กลุ่มเยาวชนและสื่อมวลชน