Page 67 - kpi21588
P. 67

ร่างรายงาน บทบาทของพลเมืองในการป้องกันและแก้ไขปัญหาการเลือกตั้งที่ไม่สุจริตเที่ยงธรรม เพื่อพัฒนาและเสริมสร้างความเข้มแข็งของประชาธิปไตยไทย   4-27



                                            “คนชนบทจะยึดมั่นค าสัญญา มีความจริงใจ คนเมืองจะไม่ยึดสิ่งเหล่านี้ ด้วยการรับรู้

                                            ข่าวสารที่แตกต่างกันด้วย  คิดว่าเท่าๆกัน ถ้าขาดความรู้ความเข้าใจ ถูกสื่อชักจูงก็
                                            เป็นไปตามสื่อ แต่ปัจจุบันมีสังคมโซเชียลมากขึ้น ก็ท าให้คนสนใจและเข้าถึงนโยบาย

                                            ได้ง่าย รวมถึงสามารถคิดวิเคราะห์ได้เอง”

                                                                           สรุปประเด็นความเห็นจากการประชุมกลุ่มย่อย
                                                                                          พื้นที่จังหวัดนครศรีธรรมราช


                       4.3 การมีส่วนร่วมของประชาชนในพื้นที่

                              การมีส่วนร่วมของประชาชนทั่วไปที่ไม่ได้มีการรวมตัวเป็นกลุ่มองค์กร พบว่า มีบทบาทที่เทียบเคียงได้

                       กันกับล าดับขั้นของการมีส่วนร่วม คือ มีตั้งแต่ไม่ให้ความใส่ใจใด ๆ กับการเลือกตั้งว่าจะมีการซื้อเสียงหรือไม่
                       อย่างไร ไปจนกระทั่งมีบทบาทในการตรวจสอบและแจ้งเบาะแสกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง รายละเอียด

                       ดังต่อไปนี้


                              4.3.1 ไม่รับรู้ พบว่า ภาคประชาชนกลุ่มนี้มีความเบื่อหน่ายการเมือง ยังไม่มีการร่วมมืออย่างจริงจัง ยัง
                       ไม่เห็นการท างานของภาพรวม ดังผู้เข้าประชุมจากจังหวัดนครศรีธรรมราชกล่าวว่า “รัฐไม่มีเวทีให้ประชาชนได้

                       แสดงความคิดเห็น  ไม่เปิดโอกาสให้น าเสนอ ส่วนใหญ่ให้มานั่งฟังนโยบายชี้แจง ในสิ่งที่รัฐจัดสรร ออกแบบ
                       มาแล้วทั้งหมด อย่างไรก็ตามมีทั้งรัฐไม่เปิดโอกาส แต่บางครั้งแม้เปิดโอกาสประชาชนเองไม่สนใจ คิดว่าเลือกไป

                       ก็แค่นั้น ละเลยหน้าที่ ไม่เข้าใจหน้าที่ คิดว่าเป็นหน้าที่ของประเทศ ของนักการเมือง ไม่ใช่หน้าที่ตน การเมือง

                       เป็นเรื่องน่าเบื่อ”

                              4.3.2 ไม่ขายเสียง พบว่า ภาคพลเมืองกลุ่มนี้ปฏิเสธการขายเสียงโดยสิ้นเชิง เนื่องจากได้รับการปลูกฝัง

                       มาตั้งแต่ครอบครัว และยังมีกระบวนการกล่อมเกลาทางสังคม เช่น โรงเรียน หรือสถาบันการศึกษาที่กระตุ้น
                       และปลูกจิตส านึกว่าการซื้อสิทธิขายเสียงส่งผลเสียต่อสังคมโดยรวมอย่างไรบ้าง บทบาทนี้เป็นการแนะน า

                       กันเองในครอบครัวถึงผลกระทบจากการซื้อสิทธิ์ขายเสียง การแนะน ากันเป็นการส่วนตัวถึงผลกระทบจากการ

                       ซื้อสิทธิ์ขายเสียง โดยบอกคนในครอบครัวและเครือญาติ นอกจากนี้ คนรุ่นใหม่ คนรุ่นใหม่จะไม่ชอบระบบนี้
                       เป็นทุนเดิม ส่วนใหญ่จึงเลือกที่จะไม่รับเงิน และเลือกจากความชอบเท่านั้น


                              ดังตัวอย่างผู้เข้าร่วมประชุมจากเวทีเชียงใหม่ว่า “ไม่มีการซื้อเสียงกลุ่มนักศึกษาเพราะมีความเสี่ยง
                       นักศึกษาเป็น first time voter ที่แสดงความเห็นทางการเมืองตั้งแต่ก่อนเลือกตั้ง 24 มีนาคม 2562 ชัดเจนว่า

                       ต้องการเปลี่ยนแปลงทางการเมือง และเยาวชนมีความสามารถในการถ่ายรูปหรือภาพเคลื่อนไหวการทุจริต

                       โพสต์ลง social media ถ้าซื้อเสียงคนกลุ่มนี้อาจสูญเปล่า”

                              4.3.3 รับเงินแต่ไม่เลือก พบว่า ภาคพลเมืองกลุ่มนี้มองการซื้อเสียงเป็นกลไกทางตลาด ที่ผู้สมัครท่าน

                       ใดให้เงินซื้อเสียงมากกว่าก็จะได้คะแนนเสียงจากตนไป แต่ไม่ได้เป็นการประกันว่าผู้สมัครที่จ่ายเงินมากจะได้รับ
                       คะแนนเสียงจากประชาชนเสมอไป เพราะขึ้นอยู่กับนโยบาย หรือความชอบส่วนตัวประกอบกันไปด้วย
   62   63   64   65   66   67   68   69   70   71   72