Page 72 - kpi21588
P. 72

ร่างรายงาน บทบาทของพลเมืองในการป้องกันและแก้ไขปัญหาการเลือกตั้งที่ไม่สุจริตเที่ยงธรรม เพื่อพัฒนาและเสริมสร้างความเข้มแข็งของประชาธิปไตยไทย   4-32



                       เพราะพรรคมีการลงทุนซื้อเสียงมากขึ้น เมื่อได้เป็นรัฐบาลจะหาทางคอร์รัปชันเพื่อหาทุนคืนและหาก าไรเพิ่ม

                       การคอร์รัปชันเป็นทั้งเงื่อนไขในการล้มล้างทางการเมืองและเป็นตัวแปรทางการพัฒนาเศรษฐกิจ ที่นักลงทุนไม่
                       กล้ามาลงทุน เพราะพบแต่การคอร์รัปชันที่ท าให้การลงทุนต้องมีต้นทุนมาก หรือหากไม่ซื้อเสียงโดยตรงก็เป็น

                       การซื้อเชิงนโยบาย โดยมีการใช้นโยบายประชานิยมมากขึ้น ท าให้คนไทยต้องพึ่งพารัฐและท าให้รากฐานของ

                       สังคมอ่อนแอ

                       4.5 แนวทางเพื่อส่งเสริมบทบาทของพลเมืองในการป้องกันและแก้ไขปัญหาการเลือกตั้งที่ไม่สุจริตเที่ยง

                       ธรรม
                              จากการประมวลสภาพทั้งในอดีตและปัจจุบัน ตลอดจนปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับปัญหาการเลือกตั้งที่ไม่

                       สุจริตและเที่ยงธรรม รวมทั้ง ข้อมูลจากการสัมภาษณ์เชิงลึกและการประชุมกลุ่มย่อยต่าง ๆ สามารถสรุปเป็น

                       แนวทางต่าง ๆ เพื่อส่งเสริมบทบาทของพลเมืองในการป้องกันและแก้ไขปัญหาการเลือกตั้งที่ไม่สุจริตเที่ยงธรรม
                       ได้ ดังนี้


                              4.5.1 แนวทางในการปรับปรุงระบบ กลไก และโครงสร้างการท างานของ กกต. และหน่วยงานรัฐ

                       ที่เกี่ยวข้อง
                                     (1) กกต. จะต้องพิจารณาทบทวน ในเรื่องการสร้างการมีส่วนร่วมกับภาคประชาชน ภาค

                       อกชน และ ภาคประชาสังคมให้มากขึ้นอย่างจริงใจและจริงจัง และ มีการจัดสรรงบประมาณให้ภาค

                       ประชาชนเข้ามามีส่วนร่วมได้อย่างเป็นอิสระ  โดยในเรื่องนี้ เป็นข้อเสนอและเป็นประเด็นที่ได้รับการ
                       เรียกร้องจากผู้ให้ข้อมูลเกือบทุกภาคส่วนมากที่สุด ซึ่งสะท้อนให้เห็นถึงความจ าเป็นเร่งด่วน และ ความส าคัญ

                       ต่อการปรับปรุงแก้ไขเพื่อน าไปสู่การเลือกตั้งที่สุจริตเที่ยงธรรม


                                            “กกต.มีฝ่ายการมีส่วนร่วม เพราะฉะนั้นก็ต้องท าฝ่ายนี้ให้เข้มแข็ง พี่ก็มองว่าแบ่ง

                                            งบประมาณมาแล้วก็ให้ท าแบบเอกเทศ ไม่ต้องอยู่ภายใต้ กกต. ไม่อย่างนั้นก็
                                            ตรวจสอบ กกต. ไม่ได้”

                                                                                ความเห็นจากการสัมภาษณ์ผู้ทรงคุณวุฒิ
                                                                                                กลุ่มภาคประชาสังคม



                                            “เรื่อง การสนับสนุนให้องค์กร การที่ภาคประชาชนจะท างานแอคทีพได้แน่นอนมัน
                                            ต้องมีการจัดตั้ง ส าคัญที่สุดส่วนหนึ่งแต่อาจจะไม่ส าคัญที่สุดคือทุน ถามว่ากกต.สมัย

                                            แรกก็มีจัดตั้งทุนให้องค์กรที่ท าหน้าที่เรื่องนี้ ... องค์กรกลางจะดีจะชั่วเขาก็ท าหน้าที่

                                            เขา เขาอาจจะไม่เห็นด้วยกับกกต. ก็ออกแถลงการณ์ไม่เห็นด้วยกับกกต. แต่
                                            กลายเป็นพอไม่เห็นด้วยกับกกต.ก็ไม่ให้เงินเลย”

                                                                                ความเห็นจากการสัมภาษณ์ผู้ทรงคุณวุฒิ
   67   68   69   70   71   72   73   74   75   76   77