Page 73 - kpi21588
P. 73
ร่างรายงาน บทบาทของพลเมืองในการป้องกันและแก้ไขปัญหาการเลือกตั้งที่ไม่สุจริตเที่ยงธรรม เพื่อพัฒนาและเสริมสร้างความเข้มแข็งของประชาธิปไตยไทย 4-33
กลุ่มสื่อมวลชน
“ขณะเดียวกัน กกต. ก็ต้องแสวงหาความร่วมมือกับองค์กรเอกชนต่างๆ เพื่อให้
องค์กรเหล่านั้นเข้ามาเป็นหูเป็นตาช่วยในการสอดส่องดูแลการเลือกตั้ง แต่ กกต. ชุด
ปัจจุบันไม่ท าเลย แล้วก็มองข้ามเรื่องนี้แล้วก็ตัดเรื่องนี้ออกไปด้วยซ้ า เราไม่เห็น
อาสาสมัครองค์กรเอกชนที่เข้าไปสังเกตการณ์การเลือกตั้งไม่มีการส่งเสริมสนับสนุน
ใดๆ ทั้งสิ้น มันก็ท าให้มือในส่วนนี้มันหายไป”
ความเห็นจากการสัมภาษณ์ผู้ทรงคุณวุฒิ
กลุ่มนักวิชาการ
(2) กกต. ต้องร่วมมือกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในการจัดท าฐานข้อมูลต่าง ๆ ที่เกี่ยวกับ
การเลือกตั้ง พรรคการเมือง และนักการเมือง เพื่อให้สามารถเข้าถึงข้อมูลและมีแหล่งข้อมูลที่เป็นมาตรฐาน
เพื่อใช้เป็นฐานข้อมูลในการมีส่วนร่วม ในเรื่องของฐานข้อมูล มีผู้ให้ความเห็นจากหลายกลุ่มที่มองว่า เรื่องนี้
เป็นพื้นฐานที่มีความส าคัญของการส่งเสริมบทบาทพลเมืองได้ดีและง่ายที่สุด แต่ทั้งนี้ อาจมีความเกี่ยวข้องกับ
ข้อกฎหมาย ซึ่งอาจจ าเป็นต้องด าเนินการไปควบคู่กับการเสนอแก้ไขกฎหมายให้สอดคล้องกันกับแนวทาง
“ควรพยายามสร้างมาตรฐานให้ประชาชนรู้ว่า ข้อมูลมาตรฐานนั้นดูได้ที่ไหน และจะ
ท าอย่างไรให้ประชาชนไว้ใจข้อมูลของกกต. กลไกอย่างนี้จะดีกว่าการออกกฎหมาย
เพราะประชาชนในเวลานี้ ไม่ว่าจะหนุ่มสาว หรือมีอายุ หรือชราภาพ เขารู้วิธีหา
ข้อมูลอย่างเต็มที่”
“บทบาทของภาคพลเมืองที่มีเกี่ยวกับการเลือกตั้ง ฐานที่ส าคัญที่สุด คือ เรื่องข้อมูล
ข่าวสาร ภาคพลเมืองจะมีบทบาทได้อย่างไรถ้าไม่มีข้อมูลข่าวสารจะเริ่มเข้ามามี
บทบาทได้อย่างไร ดังนั้น ฐานที่ส าคัญที่สุดที่เป็นฐานใหญ่คือเรื่องระบบข้อมูล
ข่าวสารของหน่วยงานเกี่ยวข้องกับการเลือกตั้งทั้งหมดไม่ใช่เฉพาะแต่ กกต. ...คือคุณ
เปิดให้เขาเข้าถึงข้อมูลข่าวสารก่อน ส่วนประชาชนจะรวมตัวไม่รวมตัวมันก็เป็นอีก
ประเด็นหนึ่งมันไม่ได้เสียงบประมาณอะไรเพิ่มเติม คุณท าฐานข้อมูลดี คุณก็สามารถ
ท าให้การจัดการของคุณดีไปด้วย ดังนั้น ฐานหลักคือไม่ต้องพูดกันมาก ต้องท า
ฐานข้อมูลข่าวสาร เปิดเผย โปร่งใส”
ความเห็นจากการสัมภาษณ์ผู้ทรงคุณวุฒิ
กลุ่มภาคประชาสังคม