Page 69 - kpi21588
P. 69

ร่างรายงาน บทบาทของพลเมืองในการป้องกันและแก้ไขปัญหาการเลือกตั้งที่ไม่สุจริตเที่ยงธรรม เพื่อพัฒนาและเสริมสร้างความเข้มแข็งของประชาธิปไตยไทย   4-29



                       รณรงค์การหาเสียงอย่างโปร่งใส และบทบาทสตรีที่สัมพันธ์เชิงประจักษ์ได้คือเป็นผู้หญิงที่แสดงบทบาทและ

                       ความเห็นทางการเมืองได้ และใช้สื่อสาธารณะช่องทางต่าง ๆ ที่มีโอกาส เช่น สถานีวิทยุในพื้นที่และท้องถิ่น มา
                       สัมภาษณ์ หรือเราเป็นผู้ด าเนินรายการในเวทีไหนก็ตาม หรือเป็นวิทยากรที่ไหนก็ตาม


                              อย่างไรก็ดี คนกลุ่มนี้บางครั้งก็พบกับความยากล าบากในการท ากิจกรรม โดยบางครั้งถูกข่มขู่ไม่ให้ท า
                       กิจกรรมเพราะขัดกับธรรมเนียมที่เคยปฏิบัติกันมา ยกตัวอย่างกลุ่มผู้เข้าร่วมการประชุมจากจังหวัดสกลนคร

                       กล่าวว่า


                              “มีการรณรงค์ก่อนการเลือกตั้งบ้าง แต่ท าไม่ต่อเนื่อง มีการรณรงค์ก่อนการเลือกตั้งแค่เพียงไม่กี่วัน มี
                       การออกมาร่วมรณรงค์ภายในชุมชนบ้าง แต่กลับถูกข่มขู่คุกคาม เกรงกลัวต่ออิทธิพล และไม่มีใครการันตีความ

                       ปลอดภัยได้ มีการท างานอย่างไม่ชัดเจน กฎหมายไม่เอื้ออ านวยต่อผู้ต่อต้านการซื้อสิทธิ์ขายเสียง”

                              นอกจากนี้ การรณรงค์ก็พบความยากล าบากในส่วนของการเป็นธรรมเนียมปฏิบัติไปเสียแล้ว โดย

                       ผู้เข้าร่วมการประชุมจากกลุ่มเดียวกันนี้กล่าวว่า


                              “ผู้คนเคยได้จนชิน ติดเป็นนิสัย เป็นธรรมเนียมของการเลือกตั้งไปแล้ว การเข้าไปพูดคุยกับกลุ่ม
                       ชาวบ้านเรื่องการป้องกันการทุจริตนั้นท าได้ยากเพราะไม่มีใครสนใจเข้าร่วม ยังไม่มีการเคลื่อนไหวอาจเพราะ

                       ผู้น าชุมชนนั้นเป็นหัวคะแนนเสียเอง หรือชาวบ้านไม่กล้าเข้าร่วมเพราะยังขาดผู้น า การพูดคุยประเด็นนี้ในกลุ่ม
                       เล็ก ๆ แต่ยังไม่ประสบความส าเร็จในวงกว้าง ไม่สามารถกระจายเสียงออกไปได้ เพราะเสียงของเราไม่ดังพอ”


                              4.3.6 แจ้งเหตุซื้อสิทธิขายเสียง พบว่า เป็นกลุ่มพลเมืองที่มีความกระตือรือร้นทางการเมืองสูง

                       ขณะเดียวกัน ผู้ให้ข้อมูลส่วนใหญ่กล่าวว่า เมื่อด าเนินการแจ้งเหตุกลับพบปัญหาคือการไม่ได้รับความคุ้มครอง
                       ความปลอดภัย กระบวนการพิจารณาล่าช้าจนท าให้เกิดการเบื่อหน่าย


                              ยกตัวอย่างกลุ่มผู้น าชุมชนกล่าวว่า “กลไกให้เราร้องเรียนอย่างหนึ่ง ๆ ห้า ๆ เราพร้อมจะเป็นพยานให้
                       ด้วยซ้ า เรื่องเล็ก ๆ ยังไม่มีประสิทธิภาพเรื่องการคุ้มครองพยาน พอเป็นเรื่องกฎหมาย เรื่องโครงสร้างยิ่งไม่มั่น

                       อย่าหวังให้ประชาชนเข้าไปมีส่วนร่วม ถ้าความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สินยังไม่มั่นใจ”


                              หรือผู้ให้สัมภาษณ์ท่านหนึ่งกล่าวว่า

                              “แม้แต่ละครั้งมีคนพยายามที่จะตรวจสอบการทุจริตแล้วขอข้อมูลถูกส่งไปในหน่วยงานของรัฐที่

                       เกี่ยวข้องมันกลายเป็นว่าถูกเปิดเผยหมดเลย ความปลอดภัยไม่มี อีกอย่างก็คือต่อให้ไม่สามารถตามหาได้ว่าใคร
                       เป็นผู้ให้ข้อมูล มักจะถูกตีความจาก กกต ว่าเป็นการกลั่นแกล้งตรวจแล้วไม่พบหลักฐาน เป็นข้อมูลเท็จท าให้ยัง

                       ไม่เคยมีการด าเนินคดีในเรื่องนี้เลย ท าให้เลิกสนใจเพราะไม่สามารถเอาผู้กระท าผิดมาลงโทษได้”


                              สรุปได้ว่า ภาคประชาชนค่อนข้างมีส่วนร่วมน้อยในการป้องกันการซื้อสิทธิขายเสียง เพราะไม่ได้รับ
                       การเปิดโอกาสให้เข้าร่วมและมีความเบื่อหน่าย หรือหากมีการเปิดโอกาสให้เข้าร่วมแสดงกิจกรรมทางการเมือง

                       ก็อาจถูกมองว่าแปลกประหลาด เพราะการซื้อสิทธิขายเสียงกลายเป็นธรรมเนียมปฏิบัติไปแล้วในบางพื้นที่ หรือ
   64   65   66   67   68   69   70   71   72   73   74