Page 58 - kpi21588
P. 58
ร่างรายงาน บทบาทของพลเมืองในการป้องกันและแก้ไขปัญหาการเลือกตั้งที่ไม่สุจริตเที่ยงธรรม เพื่อพัฒนาและเสริมสร้างความเข้มแข็งของประชาธิปไตยไทย 4-18
แย่งเสียงของอีกพรรค รูปแบบของการใช้บุคลากรในการเป็นหัวคะแนน เน้นคนที่มีความรู้ เพื่อนนับถือ
รูปแบบของการเก็บบัตรประชาชนบางพื้นที่ก็เกิดขึ้นแล้วในการเลือกตั้งที่ผ่านมา เพราะนักการเมืองไม่ไว้ใจ
ประชาชน กลัวประชาชนหลอก นี่ก็ถือเป็นความรุนแรงในเรื่องของการ คุกคามสิทธิ์ อนาคตจะรุนแรงใน
รูปแบบใดอีกไม่มีใคร ล่วงรู้ได้เลย
(15) ระดับท้องถิ่นจะมีการซื้อเสียงที่รุนแรง เพราะถ้าไม่มีเงินย่อมไม่ได้รับเลือก และ
ถ้าเป็นไปได้อยากให้มีการเลือกตั้งปีล่ะครั้ง เงินจะได้สะพัด และเกิดการว่าจ้างงานเยอะขึ้น คนจะได้มีงานท า
ด้วย
(16) ยังมีความรุนแรงมาก แต่ในปัจจุบันประชาชนมีความรู้มากขึ้น รวมถึงโลก
ออนไลน์ที่กว้างขึ้น การเปลี่ยนจะเปลี่ยนไปเป็นการซื้อโดยจ้างงานมากกว่าการให้เงิน เพราะกฎหมายรัดกุม
มากขึ้น
จากข้อมูลการประชุมกลุ่มในพื้นที่สกลนคร ระบุถึงรูปแบบและพัฒนาการของการ
ซื้อเสียงในปัจจุบันไว้ ดังนี้
(1) การแจกเงินโดยหัวคะแนน มีการพัฒนาระบบที่รัดกุมและมีประสิทธิภาพมาก
ขึ้น โดยใช้อาสาสมัครสาธารณสุขประจ าหมู่บ้าน (อสม.) เป็นหัวคะแนน ควบคู่ไปกับการใช้ผู้ใหญ่บ้านเป็น
หัวคะแนน เนื่องจากผู้ใหญ่บ้านในหมู่บ้านนั้นมีเพียงคนเดียว ไม่สามารถควบคุมคะแนนทั้งหมดได้ และมี
ผู้สมัครหลายคนมุ่งที่จะเอาผู้ใหญ่บ้านเป็นหัวคะแนน หากผู้ใหญ่ตกลงรับสนับสนุนผู้สมัครมากกว่าหนึ่งคนขึ้น
ไป ผู้สมัครจะขาดความมั่นใจว่าจะท าคะแนนให้เต็มที่ได้ เป้าหมายของหัวคะแนนจึงเปลี่ยนมาที่ อสม. โดยข้อดี
ของ อสม. ต่อการซื้อเสียงคือ 1) อสม. 1 คน มีครัวเรือนที่รับผิดชอบดูแลเรื่องสาธารณสุข 10 ครัวเรือน 2) อส
ม. มีความใกล้ชิดและได้รับความไว้วางใจจากสมาชิกของครัวเรือน การหาหัวคะแนนจึงต้องให้ อสม. เป็น
หัวคะแนนรับผิดชอบเฉพาะสมาชิก 10 ครัวเรือนเท่านั้น ซึ่งจะมีผู้มีสิทธิลงคะแนนประมาณ 30 - 40 คน หาก
หมู่บ้านใดมี 100 ครัวเรือน จะใช้ อสม. เป็นหัวคะแนน 10 คน ท าให้คณะท างานของผู้สมัครฯ ควบคุมก ากับ
คะแนนได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น โดยมีระบบการจัดการบริหารคะแนน ด้วยกระบวนการดังนี้
(1.1) คณะท างานของผู้สมัคร ค้นหา ทาบทาม ให้ อสม. มาเป็นหัวคะแนน
อาจจะไม่ได้อสม. ทุกคนในหมู่บ้านแต่จะคัดเอาเฉพาะผู้ที่ท าหน้าที่หัวคะแนนได้อย่างเต็มที่ และคัดเอาอสม.
ตามจ านวนคะแนนเสียงที่ต้องการในหมู่บ้านนั้น ๆ เช่น หากมีผู้มีสิทธิลงคะแนนจ านวน 300 คน หรือประมาณ
100 ครัวเรือน หากต้องการคะแนน 60% ขึ้นไป จะใช้อสม. เป็นหัวคะแนนประมาณ 6 - 7 คน ต่อหน่วย
เลือกตั้ง
(1.2) อสม. ที่เป็นหัวคะแนนจะท าการจดรายชื่อผู้มีสิทธิลงคะแนนตาม
ครัวเรือนที่รับผิดชอบพร้อมหมายเลขบัตรประชาชนเพื่อน าเสนอคณะท างานของผู้สมัครฯ เพื่อน ามาตรวจสอบ
โดยใช้โปรแกรมคอมพิวเตอร์ว่ารายชื่อที่เสนอมานั้นเป็นบุคคลที่มีตัวตนอยู่ในชุมชนนั้นจริงหรือไม่ และเป็น
บุคคลที่ถูกเสนอชื่อมาซ้อนกับหัวคะแนนอื่น ๆ หรือไม่ หากซ้ ากันจะถูกตัดออกให้เหลืออยู่ในบัญชีรายชื่อเดียว