Page 56 - kpi21588
P. 56
ร่างรายงาน บทบาทของพลเมืองในการป้องกันและแก้ไขปัญหาการเลือกตั้งที่ไม่สุจริตเที่ยงธรรม เพื่อพัฒนาและเสริมสร้างความเข้มแข็งของประชาธิปไตยไทย 4-16
“การขยายเวลาลงคะแนนเสียงเลือกตั้งมีผลต่อการลงคะแนนหรือไม่ คนอาจจะ
มองข้าม แต่พอขยายเวลาเลือกตั้ง การนับคะแนนที่ยังใช้ระบบดั้งเดิมยังกระท าอยู่
ท าให้สามารถนับคะแนนในความมืดได้ ถึงแม้จะมีแสงสว่างก็ตาม มันก็จะเลือนราง
ฉะนั้นตัวเลขของพรรคที่สนับสนุนผู้มีอ านาจจากการลงคะแนนในบัตรเลือกตั้ง
อาจจะเปลี่ยนไป ฉะนั้นการขานคะแนนก็อาจจะผิดเพี้ยนไปก็ได้”
“เรื่องการพนัน เช่น ต่อรองเขา ต่อเยอะ ๆ เพื่อให้เขาเป็นรอง พอเขารอง เขาก็หวัง
ได้เยอะ เขาก็ช่วยหาเสียงทางอ้อมให้ ซึ่งก็จะเข้าล็อกเขาพอดี”
ความเห็นจากการสัมภาษณ์ผู้ทรงคุณวุฒิ
กลุ่มนักการเมือง
4.1.2.2 ข้อมูลจากการประชุมกลุ่มย่อยและข้อมูลจากพื้นที่
ข้อมูลจากการประชุมกลุ่มย่อยของกลุ่มต่าง ๆ ให้ข้อมูลที่สอดคล้องกับข้อมูลจากการ
สัมภาษณ์เชิงลึก กล่าวคือ มีทั้งในเรื่องของการใช้ระบบหัวคะแนน การใช้เงินซื้อฝ่ายตรงข้าม และ การใช้
อิทธิพลในการข่มขู่คุกคาม
“สมมุติว่ามีผู้ลงสมัคร 2 คน คนที่เขาอยากได้ต าแหน่ง เขาจะท าการข่มขู่คู่แข่งอีก
คนหนึ่ง ประมาณว่าคุณจะต้องยอมแพ้นะ รวมถึงอาจมีการขู่ถึงขั้นจะท าร้ายลูกเมีย
ของคู่แข่ง”
ความเห็นจากการประชุมกลุ่มย่อย
กลุ่มเยาวชนและสื่อมวลชน
จากข้อมูลการประชุมกลุ่มในพื้นที่นครศรีธรรมราช ระบุว่า มีรูปแบบแตกต่างออกไป
สรุปประเด็นต่างๆ ดังนี้
(1) อดีตจ่ายโดยทางตรงจ่ายกันด้วยเงินสด ปัจจุบันจ่ายทางอ้อม โดยมีการโอนเข้า
บัญชี การให้เป็นสิ่งของตอบแทน ในการจัดงานเลี้ยงงานประชุม มีทั้งการแจกสิ่งของในรูปแบบต่างๆ เช่น
ของขวัญให้กับกลุ่มต่างๆ ให้กับผู้น า เอากาแฟมาวางไว้ที่ศาลา วินมอเตอร์ไซด์รถรับจ้าง
(2) ผ่านอิทธิพลของผู้น าท้องถิ่นท้องที่ ก านัน ผู้ใหญ่บ้าน แกนน าในชุมชน
(3) รูปแบบจิตวิทยามวลชน โดยการจ่ายค่ารถเพื่อไปฟังค าปราศรัยท าให้เกิดกระแส
นิยม