Page 51 - kpi21588
P. 51
ร่างรายงาน บทบาทของพลเมืองในการป้องกันและแก้ไขปัญหาการเลือกตั้งที่ไม่สุจริตเที่ยงธรรม เพื่อพัฒนาและเสริมสร้างความเข้มแข็งของประชาธิปไตยไทย 4-11
“ก็ไม่รู้ว่าซื้อกันยังไง เพราะไม่มีใครมาที่บ้าน แต่เวลาเราไปคุยกับชาวบ้าน ชาวบ้าน
ก็เล่าให้ฟังว่า มันมีนะอาจารย์ มาให้มาเดินถึงบ้านหนูเลยเอามาให้เราเท่านั้นเท่านี้”
“เป็นบรรยากาศแบบมีอิทธิพลมีใครมาพูดหรือมีผู้หลักผู้ใหญ่ผู้น าในชุมชนมาพูด
อย่างนู้นอย่างนี้ ก็จะท าให้เกิดความรู้สึกอย่ายุ่งดีกว่า อันนี้คือลักษณะการข่มขู่ การ
ใช้อิทธิพลอย่างนี้มีอยู่”
ความเห็นจากการสัมภาษณ์ผู้ทรงคุณวุฒิ
กลุ่มภาคประชาสังคม
“ตอนนี้การใช้เงินที่เกิดขึ้น มันเป็นเงินที่จ่ายลงไปให้แก่คนที่เป็นแกนน าหรือแกน
หลักที่เรียกว่าหัวคะแนนเพื่อไปโน้มน้าวจูงใจคนมากกว่าที่จะเป็นเงินที่จะจ่ายไปถึง
ประชาชนโดยตรงนะ อันนี้ที่เห็น เช่น อาจจะเป็นเงินก้อนใหญ่ลงไป อาจจะให้
หัวคะแนนแต่ละคน อาจจะเป็นหลักหลายพันจนถึงเป็นหมื่น เพื่อให้เขาเหมือนจะ
เป็นฝ่ายที่ไปชักชวนประชาชน”
ความเห็นจากการสัมภาษณ์ผู้ทรงคุณวุฒิ
กลุ่มนักวิชาการ
“จากที่ได้ยินทั้งที่คนทั่วไปพูดลักษณะการซื้อเสียงจะไม่ต่างจากในอดีต ก็คือการให้
เป็นเงิน เป็นการให้ผ่านหัวคะแนน โดยมีการล็อคไว้เลยว่า แต่ละพื้นที่แต่ละบ้าน แต่
ละต าบลต้องให้เท่าไหร่ ซึ่งลักษณะที่ได้ยินก็จะคล้ายกันมาก”
ความเห็นจากการสัมภาษณ์ผู้ทรงคุณวุฒิ
กลุ่มสื่อมวลชน
พัฒนาการที่เปลี่ยนไปของรูปแบบวิธีการที่ใช้ที่ผู้ให้ข้อมูลส่วนใหญ่กล่าวถึงตรงกัน
คือ “การซื้อเสียงผ่านทางนโยบายประชานิยม/กลไกทางนโยบายรัฐ” โดยนโยบายดังกล่าว จะไปเกี่ยวข้อง
กับบุคคลที่ท างานในระดับพื้นที่ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง กลุ่มอาสาสมัครสาธารณสุขหมู่บ้าน (อสม.) ที่ได้รับการ
กล่าวขานว่า มีบทบาทอย่างมากในการเลือกตั้งครั้งที่ผ่านมา นอกจากนี้ ยังมี “การโอนเงินเข้าสู่ระบบผ่าน
ทางโครงการสวัสดิการต่าง ๆ ของรัฐ” ซึ่งกระบวนการดังกล่าวมีความแยบยลต่อการพิจารณาความผิดได้
ตามกฎหมายเลือกตั้ง