Page 47 - kpi21588
P. 47

ร่างรายงาน บทบาทของพลเมืองในการป้องกันและแก้ไขปัญหาการเลือกตั้งที่ไม่สุจริตเที่ยงธรรม เพื่อพัฒนาและเสริมสร้างความเข้มแข็งของประชาธิปไตยไทย   4-7



                       ให้ครอบครัวล่ะเท่าไหร่ก็ระบุจ านวนกันไปเลย กล่าวคือ จะเป็นการซื้อด้วยเงิน ด้วยของมีค่า แต่ปัจจุบันมีหลาย

                       รูปแบบเปลี่ยนแปลงจากอดีต มีการใช้เงินให้กับกลุ่มครอบครัว กลุ่มแม่บ้าน แม่ค้า คนใช้แรงงาน นักเรียนหรือ
                       นักศึกษาที่มีสิทธิลงคะแนนเสียง มีรูปแบบการหาเสียงที่ตื่นเต้นและร้าวใจมากขึ้น และต่อมาการจ่ายเงิน

                       เปลี่ยนไปเป็นการให้ความช่วยเหลือ เช่น โครงการต่างๆ กิจกรรมที่ท าให้ชุมชน ผ่านทางออนไลน์ ปัจจุบันมี

                       ความรุนแรงมากขึ้นเมื่อมีการพนันเข้ามาเกี่ยวข้อง และเป้าหมายที่ส าคัญในยุคนี้คือ เด็กรุ่นใหม่ เด็กวัยรุ่น เป็น
                       ต้น ในระดับท้องถิ่นชาวบ้านเมื่อรับปากแล้วจะไม่ค่อยผิดค าพูดเพราะกลัวว่านักการเมืองจะรู้ กลัวจะเป็น

                       อันตรายต่อตัวเองและครอบครัว มีความรุนแรงมากขึ้น เพราะบางครั้งมีการข่มขู่ โอ้อวด และคุกคามสิทธิความ
                       เป็นอยู่ของประชาชน รวมไปถึงการบังคับขู่เข็ญ.

                                            จากข้อมูลการประชุมกลุ่มในพื้นที่สกลนคร สามารถจ าแนกพัฒนาการออกเป็น
                       สามช่วง ดังนี้

                                            (1) การซื้อสิทธิ์ขายเสียงในช่วง พ.ศ. 2518 ถึงต้นทศวรรษ 2520

                                                   (1.1) การแจกสิ่งของ (ไม่มีการแจกเงิน) ท าการแจกโดยผู้ลงสมัครรับ
                       เลือกตั้งเองโดยตรง เข้าไปใน  หมู่บ้านใดก็ท าการแจกให้กับประชาชนที่พบเห็น สิ่งของที่น ามาแจก ได้แก่

                       หมาก - พลู ยาสูบ เนื่องจากสมัยนั้นผู้คนยังนิยมเคี้ยวหมากเคี้ยวพลูกัน นอกจากนี้มีการแจกสิ่งของเครื่องใช้

                       ประจ าวัน เช่น ผงซักฟอก สบู่ เกลือ ปลาทู และที่แปลกออกไป คือ แจกรองเท้าแตะเพียงข้างเดียว โดยจะ
                       น ามาแจกอีกข้างหนึ่งเมื่อได้รับการเลือกตั้ง

                                                   (1.2) การผูกมิตรด้วยการซื้อใจ ผู้สมัครฯ จะลงพื้นที่เข้าพบผู้ใหญ่บ้านและ
                       ผู้สูงอายุ พร้อมดอกไม้ ธูปเทียน (ทางภาคอีสานเรียกว่า “แต่งขันธ์ห้า”) เพื่อแสดงการคาราวะ ผูกเสี่ยว และ

                       ฝากตัวเป็นลูกเป็นหลานพร้อมกับมีของเล็ก ๆ น้อย ๆ มาฝาก เพื่อเป็นการผูกมิตรและท าให้เชื่อใจโดยขอให้
                       ช่วยบอกลูกหลานและญาติพี่น้องให้ลงคะแนนให้ ในช่วงนี้ผู้สมัครฯ คนใดเข้าถึงชุมชนก่อนถือว่าจะได้คะแนน

                       ก่อน การหาเสียงจึงต้องพยายามเข้าไปในหมู่บ้านให้มากที่สุดเท่าที่จะท าได้

                                            (2)  การซื้อสิทธิ์ขายเสียงในช่วงกลางทศวรรษ 2520 ถึงต้นทศวรรษ 2540
                                                   (2.1) การบริจาคเงินและสิ่งของช่วยเหลือ โดยผู้สมัครฯ ไปแสดงตัวในงาน

                       บุญประเพณี และงานพิธีกรรมต่าง ๆ  ในชุมชน รวมทั้งงานศพ งานแต่ง งานบวช โดยคณะท างานหาเสียงของ
                       ผู้สมัครฯ หาข่าวว่ามีงานที่ใด เพื่อจะน าสิ่งของไปช่วยเหลือ เช่น น้ าแข็ง เครื่องดื่ม หากเป็นงานศพ จะมีพวง

                       หรีดวางหน้าศพ ส่วนผู้สมัครจะเดินทางไปร่วมงานเพื่อแสดงตัวให้ประชาชนได้เห็นเท่านั้น และทีมงานจะ

                       ประกาศออกเครื่องเสียงว่าผู้สมัครฯ ได้ร่วมบริจาคสนับสนุนเป็นจ านวนเงินเท่าใด
                                                   (2.2) การจ้างวานหัวคะแนนให้ช่วยหาเสียง ในช่วงกลางทศวรรษ 2520

                       เริ่มมีการจ้างวานหัวคะแนนเป็นคนในชุมชน ทั้งผู้ใหญ่บ้าน ผู้มีชื่อเสียงในชุมชน แต่หัวคะนนในช่วงนี้ท าหน้าที่
                       เพียงการช่วยบอกกล่าวให้การสนับสนุนผู้สมัคร (ยังไม่มีระบบการจดรายชื่อและแจกเงินตามรายชื่อ)

                                                   (2.3) การแจกเงิน ช่วงกลางทศวรรษ 2520 เริ่มมีการแจกเงิน โดยใช้ 3 วิธี

                       ดังนี้
   42   43   44   45   46   47   48   49   50   51   52