Page 43 - kpi21588
P. 43
ร่างรายงาน บทบาทของพลเมืองในการป้องกันและแก้ไขปัญหาการเลือกตั้งที่ไม่สุจริตเที่ยงธรรม เพื่อพัฒนาและเสริมสร้างความเข้มแข็งของประชาธิปไตยไทย 4-3
“ถ้าจะดูวิวัฒนาการที่ผ่านมาจะเห็นว่าบริบทในอดีตระบบอุปถัมภ์ เมื่อระบบอุปถัมภ์
ระบบการใช้อิทธิพลต้องซื้อกันตรงๆ ก็เพิ่มมากขึ้น เช่น แจกเงิน แจกรองเท้า แจก
สิ่งของอะไรก็แล้วแต่”
“อย่างสมัยก่อนเอาเงินไปแจกชาวบ้าน ก็ต้องมีองค์ประกอบอย่างอื่น เช่น ผ่านผู้น า
ที่ทุกคนเขาเชื่อถือ เขานับถือ ให้ความเคารพ หรือมีระบบการจัดตั้งที่มีระบบอุปถัมภ์
ที่ต่อเนื่องยาวนาน”
“ถ้ามองถึงเรื่องการซื้อเสียงในเรื่องของ In cash กับ In kind ยังไม่เปลี่ยนแปลง
ไปมาก เพราะว่ายังมีการแจกเงินอยู่อย่างตรงไปตรงมา แต่เวลาแจกเงินก็คงไม่ได้
แจกเอง ผู้สมัครจะให้หัวคะแนน ญาติพี่น้องหรือเพื่อนในหมู่บ้าน ในชุมชนนั้นเป็นผู้
แจกให้ด้วยวิธีการที่รู้ ๆ กัน ก็จะต้องไปส ารวจก่อนว่ามีกี่คน วันเลือกตั้งจะอยู่บ้าน
หรือเปล่า หรือว่าจะอยู่กรุงเทพฯ ท างานกรุงเทพฯ ไปเลือกตั้งล่วงหน้าก็จะไม่ได้
เพราะฉะนั้น โดยส่วนใหญ่แล้วผู้ใช้แรงงานที่จะต้องกลับไปเลือกตั้งบ้านตัวเอง ไม่
เลือกตั้งล่วงหน้าตามเมืองใหญ่ พี่ก็ถามว่ากลับไปท าไม เขาก็บอกว่ากลับไปก็ได้เงิน
2 – 3 ทอด คือมันไม่ใช่พรรคเดียวที่ให้ ไม่ใช่ผู้สมัครคนเดียวที่เราทราบกันที่ให้
คุ้มมาก ไปแล้วได้เยี่ยมภรรยา เยี่ยมลูก เยี่ยมพ่อแม่เหมือสงกรานต์ อันนี้ไปแล้วมีคน
จ่ายเงินให้แล้วยังเหลือให้ลูก ๆ อีก”
“หลังจากโรคร้อยเอ็ด สมัยพลเอกเกรียงศักดิ์ ยุคนั้นหัวคะแนนเอาเงินไปแจก
สมมุติว่า 1,000 บาท ก็เอาไปแจกคนละ 100 บาท แบบที่ 1 - หัวคะแนน 40 บาท
ชาวบ้านได้ 60 บาท หรือ แบบที่ 2 - ให้ชาวบ้าน 100 บาทแล้วหัวคะแนนไปหักจาก
ชาวบ้านทีหลัง แล้วแต่รูปแบบ คือหัวคะแนนได้ประโยชน์ด้วย แต่คะแนนต้อง 80%
กันผิดพลาด”
ความเห็นจากการสัมภาษณ์ผู้ทรงคุณวุฒิ
กลุ่มภาคประชาสังคม
“ที่มาใช้เงินกันแบบฮือฮาจริงจัง เป็นเรื่องเป็นราว คือ โรคร้อยเอ็ดที่ขนคน คนก็เริ่ม
มาท างานในกรุงเทพฯ แล้วก็ขนคนขึ้นรถไปแล้วก็แจกเงิน ให้ค่ารถค่าอะไรแล้ว
กลับไป เพื่อจะกลับไปเลือกตั้ง เขาเรียกโรคร้อยเอ็ดก็เริ่มระบาด”
ความเห็นจากการสัมภาษณ์ผู้ทรงคุณวุฒิ
กลุ่มนักวิชาการ