Page 45 - kpi21588
P. 45
ร่างรายงาน บทบาทของพลเมืองในการป้องกันและแก้ไขปัญหาการเลือกตั้งที่ไม่สุจริตเที่ยงธรรม เพื่อพัฒนาและเสริมสร้างความเข้มแข็งของประชาธิปไตยไทย 4-5
ความเห็นจากการสัมภาษณ์ผู้ทรงคุณวุฒิ
กลุ่มนักการเมือง
อีกส่วนหนึ่งที่เป็นลักษณะของการกระท าที่ส่งผลให้เกิดการเลือกตั้งที่ไม่สุจริตเที่ยง
ธรรม คือ “การใช้อิทธิพล” ในการข่มขู่ คุกคาม หรือ ด าเนินการเอื้อประโยชน์ให้บางอย่าง เช่น การฝากเข้า
เรียน/ฝากเข้าท างาน
“ที่ผ่านมาการข่มขู่ก็ยังมีอยู่ บางที่ได้รับการร้องเรียนมา ในจังหวัด ในหมู่บ้าน ใน
ชุมชน ในชนบทที่เขายังรู้สึกว่า คือ มันอาจจะไม่ถึงข่มขู่เอาปืนไปจี้อะไรแบบในภาพ
แบบนั้นนะ มันเกรงใจไม่อยากยุ่ง”
“ถ้าพูดถึงอดีตไกลๆ ก็มีการจัดการผู้สมัคร ถ้าคะแนนดีมาก็จะอยู่ไม่รอดแบบนี้เป็น
ปัญหาของการเลือกตั้งท้องถิ่นก็เยอะ ถ้าพูดถึงการเลือกตั้งท้องถิ่นอิทธิพลก็จะเยอะ
กว่า หมายถึงว่าความใกล้ชิด การแข่งขันมันจะสูงกว่า มันก็จะมีการใช้ความรุนแรง
แต่ระดับชาติความรุนแรงมันก็ไม่ถึงขั้นนั้นที่ถึงจะเอาชีวิตผู้สมัครหรือท าร้ายกันแบบ
นั้น ก็มีแค่ข่มขู่มีอยู่ ในลักษณะที่มีการข่มขู่คุกคามแบบนี้ให้เกิดความเกรงใจให้เกิด
ความเกรงกลัวอันนี้ยังพอมีอยู่”
“มันหนักขึ้นเรื่อยๆ ถ้าไม่ขึ้นตรงต่อนักการเมืองท้องถิ่นในพื้นที่คุณก็ล าบาก หลาย
คนเดือดร้อน ถูกกลั่นแกล้ง ... เป็นระบบมาเฟียอุปถัมภ์ แล้วเป็นติดต่อกันสิบสมัย
เลยฝังรากลึก ก านัน ผู้ใหญ่บ้าน นักการเมืองท้องถิ่น ข้าราชการต ารวจ ทหาร ขึ้น
ตรงต่อเขาหมด”
“แต่ก่อนหน้าครั้งล่าสุด มันชัดเจนกว่า เช่น การฝากลูกเข้าโรงเรียนให้ได้ ฝากเด็ก
ไปท างานได้ มันก็มีให้เราได้ยิน”
ความเห็นจากการสัมภาษณ์ผู้ทรงคุณวุฒิ
กลุ่มภาคประชาสังคม
4.1.1.2 ข้อมูลจากการประชุมกลุ่มย่อยและข้อมูลจากพื้นที่
ข้อมูลจากการประชุมกลุ่มย่อยของกลุ่มต่าง ๆ ให้ข้อมูลที่สอดคล้องกับข้อมูลจากการ
สัมภาษณ์เชิงลึก กล่าวคือ มีทั้งในเรื่องของการใช้ระบบหัวคะแนน การใช้เงินซื้อฝ่ายตรงข้าม และ การใช้
อิทธิพลในพื้นที่