Page 49 - kpi21588
P. 49

ร่างรายงาน บทบาทของพลเมืองในการป้องกันและแก้ไขปัญหาการเลือกตั้งที่ไม่สุจริตเที่ยงธรรม เพื่อพัฒนาและเสริมสร้างความเข้มแข็งของประชาธิปไตยไทย   4-9



                                            จากข้อมูลการประชุมกลุ่มในพื้นที่เชียงใหม่ พบว่า สถานการณ์การเลือกตั้งในจังหวัด

                       เชียงใหม่มีความเชื่อมโยงอย่างแนบแน่นระหว่างนักการเมืองระดับชาติกับนักการเมืองและผู้น าระดับท้องถิ่น
                       ความสัมพันธ์เชิงอุปถัมภ์ที่เกิดคู่ขนานไปกับลักษณะทางวัฒนธรรมของชุมชน คือ การช่วยเหลือเกื้อกูล การมี

                       โครงสร้างของการเป็นผู้น าและผู้ตามที่ชัดเจนท าให้ความสัมพันธ์เชิงอ านาจในการเลือกตั้งเป็นโครงสร้างแนวดิ่ง

                       ระหว่างพรรคการเมือง นักการเมือง ผู้น าชุมชน และประชาชน นับตั้งแต่การเลือกตั้งในอดีตจนถึงปัจจุบัน การ
                       ซื้อสิทธิขายเสียงกลายเป็นกิจกรรมทางการเมืองของกลุ่มการเมืองในพื้นที่นับตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน

                       พัฒนาการของการซื้อสิทธิขายเสียงมีความเปลี่ยนแปลงไปในส่วนของรูปแบบและวิธีการ ที่ต้องปรับเปลี่ยนไป
                       ตามบริบท ผู้คน และกฎหมาย หากแต่สิ่งที่ไม่เปลี่ยนและเป็นแกนหลักของพัฒนาการคือ การใช้เงินและการใช้

                       ผู้น า ในอดีตที่ผ่านมาในการเลือกตั้งมีการใช้เงินมากมหาศาลในช่วงโค้งสุดท้ายของการเลือกตั้งหรือที่เรียกว่า
                       คืนหมาหอน มีการส่งสายตรวจตรา เฝ้าจับตากลุ่มผู้สนับสนุนทางการเมือง หัวคะแนน และนักการเมืองท าให้

                       การเลือกตั้งมีการต่อสู้ ปะทะรุนแรง มีการควบคุมหัวคะแนนฝ่ายตรงกันข้าม มีการเอาตัวหัวคะแนน ผู้น า

                       ชุมชนไปกักตัวไว้ซึ่งเป็นยุคที่มีการใช้อ านาจและอิทธิพลมาใช้ระหว่างการเลือกตั้ง บรรยากาศของการเลือกตั้งมี
                       อิทธิพลครอบคลุมที่ท าให้ชาวบ้านเกิดความกลัว การซื้อสิทธิขายเสียงจึงเป็นวิธีการที่ถือเป็นการใช้ความรุนแรง

                       อีกรูปแบบหนึ่งของประชาชนเพราะการรับเงินมีความหมายถึงการรับปากและค ามั่นสัญญา เพราะหากไม่

                       ปฏิบัติตามจะมีผลต่อทั้งชุมชนและผู้น าที่ท าหน้าที่ในการเป็นหัวคะแนนด้วย
                                            ในยุคของการกระจายอ านาจหลังปี 2535 เป็นต้นมา การกระจายอ านาจที่น ามาสู่

                       การเลือกตั้งในระดับท้องถิ่น การซื้อสิทธิขายเสียงยังคงเป็นปัจจัยส าคัญในการชนะการเลือกตั้ง แต่ความ
                       เชื่อมโยงระหว่างนักการเมืองระดับท้องถิ่นกับ ส.ส.และพรรคการเมืองในพื้นที่เข้ามามีบทบาทในการสนับสนุน

                       การเลือกตั้งระดับท้องถิ่นเพื่อสร้างเครือข่ายฐานคะแนนเสียง ดังนั้น การซื้อสิทธิขายเสียงจึงเปรียบเสมือนการ
                       ซื้อพื้นที่และการคงรักษาคะแนนเสียงเพื่อการเลือกตั้งระดับชาติต่อไป ความสัมพันธ์ระหว่างนักการเมือง

                       ระดับชาติกับนักการเมืองระดับท้องถิ่นจึงเป็นความสัมพันธ์เชิงอุปถัมภ์แบบพึ่งพาซึ่งกันและกัน

                                            นอกจากนี้การซื้อสิทธิขายเสียงในอดีตจะปรากฎในรูปแบบของการสัญญาว่าจะ
                       พัฒนา จะให้ทั้งสิ่งของ นโยบายที่สอดคล้องกับปัญหาและความต้องการของพื้นที่ และที่ส าคัญคือ งบประมาณ

                       ส าหรับการพัฒนาโครงสร้างสาธารณูปโภคพื้นฐาน ซึ่งปูรากฐานของการเป็น ส.ส. นักพัฒนา อ านาจในการน า
                       งบประมาณมาลงในพื้นที่จังหวัดหรือเขตเลือกตั้งของตน ภาพลักษณ์ของนักการเมืองจึงเป็นภาพลักษณ์ของผู้

                       น าพาความเจริญและคุณภาพชีวิตมาสู่ชุมชนท าให้ความสัมพันธ์และความผูกพันระหว่างประชาชนและ

                       นักการเมืองหรือ ส.ส.ในพื้นที่มีความแนบแน่นและสร้างฐานอ านาจต่อรองต่อตัวนักการเมืองที่มีในพรรค
                       การเมืองได้มากขึ้น

                                            จนมาในยุคหลังรัฐธรรมนูญ 2540 ที่ระบบการเลือกตั้งน ามาสู่บทบาทของพรรค
                       การเมืองและนโยบายพรรคมากขึ้น เมื่อความนิยมในตัวบุคคลกลายมาเป็นความนิยมในพรรคการเมือง ท าให้

                       นโยบายพรรคที่ใช้ในการหาเสียงกลายเป็นสิ่งที่มีความส าคัญเพิ่มมากขึ้น แต่การซื้อสิทธิขายเสียงยังคงปรากฎ

                       อยู่เพราะกระแสพรรคที่แข่งขันกันระหว่างพรรคเก่ากับพรรคใหม่ การครองพื้นที่ท าให้เงินกลายเป็นปัจจัย
                       ส าคัญของการช่วงชิงพื้นที่และรักษาพื้นที่ ในช่วงการเลือกตั้งยุคนี้ สิ่งที่ปรากฎชัดเจนคือการใช้นโยบายเป็น
   44   45   46   47   48   49   50   51   52   53   54