Page 50 - kpi21588
P. 50

ร่างรายงาน บทบาทของพลเมืองในการป้องกันและแก้ไขปัญหาการเลือกตั้งที่ไม่สุจริตเที่ยงธรรม เพื่อพัฒนาและเสริมสร้างความเข้มแข็งของประชาธิปไตยไทย   4-10



                       ช่องทางของการสร้างความนิยม ข้อถกเถียงจ านวนมากและข้อมูลจากการสัมภาษณ์มีการมองที่แตกต่างกัน

                       พบว่านโยบายประชานิยมหรือนโยบายในการหาเสียงไม่ใช่เรื่องผิด เพราะผลประโยชน์ที่ได้จากนโยบายเป็น
                       ผลประโยชน์ที่คนจ านวนมากได้รับ เป็นผลประโยชน์ทางสังคม แต่ในอีกทางหนึ่ง เมื่อนโยบายกลายเป็น

                       นโยบายที่เกี่ยวข้องกับการให้เงินหรือให้ประโยชน์บางอย่างอย่างชัดเจนต่อกลุ่มบางกลุ่ม สร้างสภาวะความ

                       พึ่งพิงต่อรัฐบาลหรือพรรคการเมืองมากขึ้น จึงเปรียบเสมือนเป็นการซื้อสิทธิขายเสียงเช่นกันเพียงแค่ไม่ได้
                       กระท าในช่วงเวลาของการเลือกตั้ง หรือแม้แต่ในปัจจุบันเมื่อสภาวะทางการเมืองไม่ปกติ การประกาศนโยบาย

                       ของรัฐบาลในช่วงเวลาระหว่างมีการใช้พระราชกฤษฎีกาการเลือกตั้งก็ถือว่าเป็นรูปแบบหนึ่งของการซื้อสิทธิ
                       ขายเสียงเช่นกัน แต่กระท าผ่านระบบงบประมาณรัฐที่ชอบธรรมด้วยบทบาทของรัฐบาล


                              4.1.2 พัฒนาการและรูปแบบการซื้อสิทธิ์ขายเสียงในปัจจุบัน (การเลือกตั้งทั่วไป 24 มีนาคม พ.ศ.

                       2562)

                                     4.1.2.1 ข้อมูลจากการสัมภาษณ์เชิงลึก
                                            ข้อมูลจากผู้ให้ข้อมูลจากทุกกลุ่ม พบว่า รูปแบบ “การใช้ระบบหัวคะแนน” ยังคง

                       เป็นรูปแบบของการเลือกตั้งที่ไม่สุจริตเที่ยงธรรมที่ปรากฏให้เห็นชัดเจนมากที่สุด แต่มีพัฒนาการที่ปรับเปลี่ยน

                       ไปตามบริบทสังคมและกฎหมาย โดยมีวิธีการที่แยบยลมากขึ้น และมีการน าระบบเทคโนโลยีทางการสื่อสารเข้า
                       มาใช้เป็นเครื่องมือร่วมด้วย วิธีการที่ใช้ ได้แก่ (1) การจ่ายเงินแยกระหว่างส่วนที่จะให้หัวคะแนนกับส่วนที่จะใช้

                       ซื้อเสียง และมีการใช้เงินมากขึ้น (2) ใช้เทคโนโลยีเข้ามาเป็นเครื่องมือ เช่น การบันทึกข้อมูล ใช้ตรวจสอบการ
                       จ่ายเงินของหัวคะแนน และ (3) ใช้หัวคะแนนที่มีอิทธิพลในพื้นที่ เช่น ก านัน ผู้ใหญ่บ้าน (ไม่จ่ายเงินโดยตรงไป

                       ที่ประชาชน) และ ใช้การเดินซื้อเสียงตอนกลางคืนเพื่อให้ยากแก่การสังเกต


                                            “ปัจจุบันในพื้นที่ ภาคใต้ มีบางพรรคไปใช้ระบบจดชื่อเลย 20 คน ต่อ หัวคะแนนคน

                                            หนึ่ง มาเข้าเครื่องไว้เลย แล้วเวลาจ่าย จ่ายคนละ 500 บวกหัวคะแนน 100 เท่ากับ
                                            หกร้อย ยี่สิบคนก็ 12,000 บาท เป็นชุดเลย ท าโปรแกรมมาเลย แล้วก็ได้ผลมากกว่า

                                            50 เปอร์เซ็นต์ คือ 20 คน นี่ได้เกิน 10 คน บางที่บอกได้ 70 เปอร์เซ็นต์..มีการใช้
                                            เทคโนโลยีเข้ามาจดบันทึก มีชื่อนามสกุล เบอร์โทรศัพท์ เขาสามารถตรวจสอบได้

                                            เลยตามเบอร์โทรศัพท์ว่า จ่ายหรือยัง หรือ อมไว้หรือไม่”


                                            “คนซื้อเสียงหาคนที่เป็นก านันผู้ใหญ่บ้าน ยุคนี้ก านันผู้ใหญ่บ้านทรงอิทธิพลจริง ๆ

                                            ผู้ใหญ่บ้านเกษียณที่ 60 ปี และที่ผ่านมา 5-6 ปี ที่ไม่มีการเลือกตั้ง งบประมาณของ
                                            รัฐบาลนี้ ผ่านไปยังผู้ใหญ่บ้านด้วย ท าให้ก านันผู้ใหญ่บ้านเข้มแข็งจริง ๆ นักการเมือง

                                            เลยใช้ก านันผู้ใหญ่บ้าน เป็นหัวคะแนน”

                                                                                ความเห็นจากการสัมภาษณ์ผู้ทรงคุณวุฒิ
                                                                                                    กลุ่มนักการเมือง
   45   46   47   48   49   50   51   52   53   54   55