Page 52 - kpi21588
P. 52
ร่างรายงาน บทบาทของพลเมืองในการป้องกันและแก้ไขปัญหาการเลือกตั้งที่ไม่สุจริตเที่ยงธรรม เพื่อพัฒนาและเสริมสร้างความเข้มแข็งของประชาธิปไตยไทย 4-12
“การซื้อเสียงโดยรัฐ เช่น การช่วยเงิน อสม. ที่จ่ายล่วงหน้า วันอาทิตย์เลือกตั้ง วัน
ศุกร์จ่ายเงินล่วงหน้าให้ อสม. สามเดือน มีที่ไหน อันนี้คืออะไร บัตรประชารัฐ เติม
เงินกันช่วงนั้นพอดี ไม่ใช่ศุกร์ปลายเดือนด้วย”
“ปัจจุบันมี อสม.ขึ้นมาเป็นหน่วยทั่วประเทศ แล้วคนก็ฟังด้วย เหมือนเราให้ความ
เคารพนับถือหมอ แต่เขามีอิทธิพลเยอะ พรรคไหนที่คุม อสม. อยู่ค่อนข้างจะ
ได้เปรียบในสมัยหน้า สมัยนี้ยิ่งได้เปรียบ ยิ่งจะขึ้นค่าตอบแทน อสม. ด้วย”
ความเห็นจากการสัมภาษณ์ผู้ทรงคุณวุฒิ
กลุ่มนักการเมือง
“เรื่องการซื้อเสียงตรงๆ มันก็เนียนขึ้น เพื่อหลีกเลี่ยงตามกฎหมาย เช่น เป็นใน
รูปแบบโครงการ กฎหมายก็มีการห้าม เช่น การใช้นโยบายที่ซื้อ เริ่มที่จะยากขึ้นแล้ว
เริ่มที่แจกกันตรงๆ ไม่ได้ เช่น ให้เงิน อสม.ขึ้นเงินเดือนให้ อสม.ในช่วงใกล้เลือกตั้ง
หรือนโยบายแจกเงินให้คนจนหรือนโยบายกองทุนหมู่บ้านในอดีตก็ท ามันก็เริ่มมีการ
เลี่ยงการซื้อเสียงแบบเลี่ยงๆ”
ความเห็นจากการสัมภาษณ์ผู้ทรงคุณวุฒิ
กลุ่มภาคประชาสังคม
“อีกอันหนึ่งที่ผมเห็นแล้วก็รู้สึกว่า มันท าให้ประสบความส าเร็จในการได้คะแนนเสียง
ก็คือ เงินของรัฐ ผ่านโครงการสวัสดิการของรัฐ ซึ่งเป็นการที่เอาเงินเข้าบัญชีของ
ประชาชน แล้วก็ประชาชนจ านวนหนึ่งชื่นชอบจริงๆ เขาก็จะรู้สึกว่าไม่เคยมีรัฐบาล
ไหนหรือว่านักการเมืองไหนที่ท าประโยชน์แบบนี้ ดังนั้น การที่เขามีเงินสักประมาณ
600-700 บาท อยู่ในบัญชีทุกเดือน มันคือสิ่งซึ่งเขาอยากได้ต่อไป ดังนั้น เขาก็จะ
เลือกพรรคการเมืองพรรคนี้ อันนี้เป็นส่วนหนึ่งซึ่งผมถือว่ามี Impact มาก ๆ”
ความเห็นจากการสัมภาษณ์ผู้ทรงคุณวุฒิ
กลุ่มนักวิชาการ
นอกจากนี้ ยังมีในเรื่องของการสร้างระบบอุปถัมภ์ ที่ยังคงมีความจ าเป็น แต่มี
พัฒนาการในลักษณะที่จะต้องท าในรูปแบบที่เรียกว่า “การอุปถัมภ์ต่อเนื่อง” กล่าวคือ มีการสร้างและสะสม
บารมีในพื้นที่ มีการสร้างเครือข่าย จัดกิจกรรมต่าง ๆ โดยเฉพาะงานมงคล และ งานทางศาสนา เพื่อสร้าง