Page 44 - kpi21588
P. 44
ร่างรายงาน บทบาทของพลเมืองในการป้องกันและแก้ไขปัญหาการเลือกตั้งที่ไม่สุจริตเที่ยงธรรม เพื่อพัฒนาและเสริมสร้างความเข้มแข็งของประชาธิปไตยไทย 4-4
“ผมไม่เคยเจอกับตัวเอง ใกล้ที่สุดก็คือ พ่อแม่ผมเคยมีผู้สมัครมาเสนอเงินให้
500 บาท แต่เป็นเรื่องที่เกิดขึ้นเมื่อประมาณ 20 ปีที่แล้ว ซึ่งพ่อแม่ผมก็ไม่ได้รับ”
ความเห็นจากการสัมภาษณ์ผู้ทรงคุณวุฒิ
กลุ่มนักวิชาการ
รูปแบบต่อมาที่มีการกล่าวถึง คือ “การมัดจ าไว้บางส่วน” โดยใช้วิธีการแจกสิ่งของ
บางส่วนก่อนวันเลือกตั้ง และหากได้รับชัยชนะ ก็จะน าส่วนที่เหลือมาให้ หรือ มีการน าสิ่งจูงใจมาล่อหลอกที่
หน้าหน่วยเลือกตั้ง
“ที่ยังเหมือนเดิมอยู่ก็เงินสด ทั้งให้เป็นรายบุคคล ทั้งให้เป็นรายกลุ่ม สิ่งของ
สมัยโบราณยังมีที่แจกรองเท้าไปก่อนหน้าข้างหนึ่ง แล้วอีกข้างตามไปทีหลัง หรือ
อาจจะเป็นปลาทูเข่ง สมัยก่อนมีการจูงวัวไปผูกไว้ที่หน่วยเลือกตั้ง ถ้าคะแนนเข้าเป้า
ก็เอาไปเลยวัว”
ความเห็นจากการสัมภาษณ์ผู้ทรงคุณวุฒิ
กลุ่มนักการเมือง
“การซื้อเสียงครั้งแรก รู้สึกจะเกิดที่ภาคอีสาน มันเป็นการให้รองเท้าแตะข้างเดียว
เคยได้ยินไหม แล้วก็พอเลือกแล้วถ้าเขาได้ก็ไปเอาอีกข้างหนึ่ง เข้าใจว่าในภาคอีสาน
จังหวัดอะไรจ าไม่ได้ ฝรั่งก็งงใหญ่เลย ว่ามีหาเสียงแบบนี้ด้วยหรอ หลังจากนั้นก็เป็น
ปลาทูเข่ง แล้วก็เป็นน้ าปลา ในยุคแรกๆ”
ความเห็นจากการสัมภาษณ์ผู้ทรงคุณวุฒิ
กลุ่มนักวิชาการ
ในการใช้เงินเพื่อซื้อเสียงในอดีต นอกจากจะใช้วิธีการซื้อเสียงจากประชาชนแล้ว ยัง
พบว่า มีการ “ใช้เงินซื้อคู่แข่งฝ่ายตรงข้าม” ทั้งตัวของผู้สมัคร และผู้มีอิทธิพลในพื้นที่ เพื่อไม่ให้มาต่อสู้
ทางการเมือง
“ที่เหมือนกันอีกก็คือซื้อคู่แข่งเลย ผู้สมัครที่เป็นคู่แข่ง โดยไม่ให้สู้ ไม่ถึงกับถอนตัว
แล้วก็ซื้อผู้มีอิทธิพล หวังพึ่งพิงอิทธิพล อิทธิพลก็ชนะ ถ้าพูดถึงก็เป็นนักเลง หรือว่า
เจ้าพ่อ หรือว่าพระ ครู พวกนี้ถือว่ามีอิทธิพลทั้งนั้น อิทธิพลทางความคิด ก านัน
ผู้ใหญ่บ้าน องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น เดี๋ยวนี้ก็ยังมีอยู่”