Page 42 - kpi21588
P. 42
ร่างรายงาน บทบาทของพลเมืองในการป้องกันและแก้ไขปัญหาการเลือกตั้งที่ไม่สุจริตเที่ยงธรรม เพื่อพัฒนาและเสริมสร้างความเข้มแข็งของประชาธิปไตยไทย 4-2
“เขาจะให้เงินผ่านหัวคะแนน เช่น หมู่บ้านนี้ต้องการ 200 เสียง ก็ให้หัวคะแนนไป
หมู่บ้านต้องการเท่าไหร่ ก็ให้ไป ใช้ระบบนี้ คนซื้อเสียงประเมินว่า เปอร์เซ็นต์ที่
ได้น้อย ได้ผล 20% เพราะว่า หัวคะแนนอมไปบ้าง”
“เราจะเห็นได้ว่าการซื้อเสียงใจอดีตมีลักษณะเป็นเส้นตรง ยกตัวอย่างซื้อเสียงใน
ราคา 120 บาทที่ถูกจับได้ในอดีต นั่นก็หมายถึงว่า หัวคะแนนจะต้องจ่ายโดยตรง
ประชาชนก็รู้จักหัวคะแนน และมีความผูกพันในเชิงอุปถัมภ์ เช่น หัวคะแนนเป็น
ก านัน ผู้ใหญ่บ้าน ก็รับเงินจากผู้สมัคร หรือพรรคการเมืองไปแจกโดยตรง และทุก
คนก็จะรับไว้ด้วยความรู้สึกมันมีความผูกพันตัวบุคคลเป็นหลัก”
“ยกตัวอย่างว่าคนที่อยากจะซื้อเสียงในแต่ละหมู่บ้านก็จะไปแสวงหาผู้มีอิทธิพลในแต่
ละท้องที่ และคนเหล่านั้นเอาเงินไปก้อนหนึ่ง ก าหนดว่าจะแจกคนละเท่าไหร่ ซึ่งผู้
แจกเงินหรือคนที่มีอิทธิพลก าหนดเหล่านั้นเป็นอิสระท าอย่างไรก็ได้ เช่นรับเงินไป
100 บาท จ านวนหนึ่ง อาจจะแจกแค่ 20 บาท ตัวเองเป็นผู้แจกก็เก็บไว้ 80 บาท
ฉะนั้น มันก็มีการอมเงินในการแจกเงินซึ่งเป็นที่รู้กันทั่งประเทศว่าผู้มีอิทธิพลในแต่ละ
พื้นที่นั้นจะต้องท าให้ผู้สมัคร สส. ได้รับคะแนนนิยมจากปริมาณเงินเป็นหลัก”
“ในอดีตมีการซื้อและขายอย่างจริงจัง ยกตัวอย่างมีการจดชื่อมา 100 คน ต้องการ
จะได้คะแนนหมู่บ้านนี้เพียง 20 คะแนน แต่ต้องซื้อ 100 คะแนนเพื่อให้ได้ 1 ใน 5
เท่าของในพื้นที่เลือกตั้ง ถ้าจะต้องการ 50/50 จดชื่อมา200 คนเพื่อให้ได้100
คะแนน เสียง ในหมู่บ้านนี้ ไม่ได้หวังเป็นที่ 1 ในหน่วยเลือกตั้ง แต่หวังให้มีคะแนนใน
ส่วนเลือกตั้งทุกหน่วย แล้วมาเฉลี่ยให้ชนะ นี่คือภาพในอดีตที่20 – 30 ปีที่แล้ว”
“ระบบหัวคะแนน จริง ๆ แล้วหลายคนเข้าใจว่า ให้หัวคะแนนซื้อไปจ่ายเงินให้
หัวคะแนนแล้ว เช่นมี 500 หัว ต้องได้ 500 เสียงไม่ใช่ เขาหวังผลแค่กึ่งหนึ่งเขาก็ถือ
ว่าประสบความส าเร็จแล้ว...แต่ก านันผู้ใหญ่บ้านเขาก็รับหมดนะ ใครให้มาก็รับหมด
ถ้าไม่รับมันจะเป็นการประกาศศัตรู หรือเป็นอริโดยอ้อม”
ความเห็นจากการสัมภาษณ์ผู้ทรงคุณวุฒิ
กลุ่มนักการเมือง